ซีพีเอฟ ร่วม JCC หนุน เลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน ปีที่ 36 รวม 959 โรงเรียน

ซีพีเอฟ ร่วม JCC หนุน เลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน ปีที่  36  รวม 959 โรงเรียน

เครือซีพี-มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท-ซีพีเอฟ ผนึกกำลัง JCC หนุนเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน สู่ปีที่ 36 มุ่งเรียนรู้ทักษะ การจัดการบริหารฟาร์มขนาดเล็ก จำหน่ายให้ชุมชน

นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม  เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธี ส่งมอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ที่เครือซีพี โดยมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ หรือ JCC ดำเนินการเข้าสู่ปีที่ 36 หนุนโภชนาการที่ดี สร้างคลังอาหารในโรงเรียน-ชุมชน มุ่งถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เยาวชน ปูพื้นฐานอาชีพนำองค์ความรู้ไปใช้ในอนาคต ณ โรงเรียนบ้านนาคำ (โพนสวรรค์) อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

ซีพีเอฟ ร่วม JCC หนุน เลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน ปีที่  36  รวม 959 โรงเรียน

“ รู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่งที่ JCC ให้ความสำคัญในการส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดีแก่เด็กและเยาวชนไทย ด้วยการสนับสนุนโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน โดยโครงการฯ นี้เป็นตัวอย่างของการบูรณาการงานร่วมกับภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมี มูลนิธิฯ เป็นกลไกขับเคลื่อนหลัก

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโรงเรียนทั้ง 4 แห่งในพื้นที่จังหวัดนครพนม ที่ได้รับโอกาสนี้ จะดำเนินโครงการด้วยความตั้งใจ บริหารจัดการไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน และขอขอบคุณ JCC มูลนิธิฯ และซีพีเอฟ ที่เดินหน้าโครงการฯ ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักเรียน โรงเรียน และชุมชน”

ซีพีเอฟ ร่วม JCC หนุน เลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน ปีที่  36  รวม 959 โรงเรียน ซีพีเอฟ ร่วม JCC หนุน เลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน ปีที่  36  รวม 959 โรงเรียน

 

ด้าน นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และผู้ช่วยบริหารสำนักประธานคณะกรรมการบริหาร ซีพีเอฟ ในฐานะกรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท กล่าวว่า มูลนิธิฯ และซีพีเอฟ ดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ก้าวเข้าสู่ปีที่ 36

โดยในปี 2543 มูลนิธิฯผนึกกำลังกับ JCC ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายสนับสนุนโครงการฯ จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 24 ปี โดยเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการฯ ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงโภชนาการที่ดี ให้แก่นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลและชุมชนในถิ่นทุรกันดาร สำหรับปีนี้ JCC สนับสนุนงบประมาณ แก่ 4 โรงเรียนในจังหวัดนครพนม ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านนาคำ โรงเรียนบ้านนาเต่า โรงเรียนบ้านค้อ และโรงเรียนพระซองวิทยาคาร

ด้านนายวราราชย์ เรืองศรี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ผู้แทนรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ร่วมสนับสนุนมูลนิธิ ทั้งงบประมาณและบุคลากร อย่างเต็มกำลัง ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปติดตาม ดูแล ให้คำแนะนำด้านการเลี้ยงไก่ไข่ และการจัดการผลผลิตไข่ไก่สด แก่ครูและนักเรียนในโรงเรียนที่ร่วมโครงการฯอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถบริหารโครงการได้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมสุขภาพของเด็กเยาวชนไทย ที่เป็นอนาคตของประเทศ จากการบริโภคไข่ไก่อาหารโปรตีนคุณภาพดีอย่างเพียงพอ อิ่มท้อง สมองแจ่มใส และหวังว่าโรงเรียนจะสามารถดำเนินการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน เป็นแบบอย่างให้แก่โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป

ซีพีเอฟ ร่วม JCC หนุน เลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน ปีที่  36  รวม 959 โรงเรียน

ด้าน นายโคโซ โท รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ กล่าวว่า JCC ตระหนักถึงความสำคัญของโภชนาการในเด็กวัยเรียน และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้สนับสนุนโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งผ่านความช่วยเหลือและส่งเสริมในด้านอาหารและโภชนาการแก่เยาวชนไทยในพื้นที่ห่างไกล ด้วยการสนับสนุนงบประมาณสำหรับก่อสร้างโรงเรือน การติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยง พันธุ์ไก่ไข่ อาหารสัตว์ และเวชภัณฑ์ในการเลี้ยงไก่ไข่รุ่นแรก ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน ครู ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารโปรตีนคุณภาพดี ตลอดระยะเวลา 24 ปีที่ผ่านมา มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ ภายใต้ความร่วมมือของ JCC รวม 146 โรงเรียนทั่วประเทศ โดยนำรายได้จากการเลี้ยงไก่ไข่รุ่นที่ 1 มาเป็นกองทุนบริหารจัดการในรุ่นต่อไป ส่งผลให้สามารถขยายผลสู่กิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยสร้างประโยชน์ให้กับโรงเรียนได้อย่างแท้จริง

ปัจจุบันมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่เลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน 959 โรงเรียนทั่วประเทศ มีนักเรียนกว่า 180,000 คน คุณครูและบุคลากรทางการศึกษากว่า 1,300 คน ตลอดจนชุมชน ได้เรียนรู้ทักษะการเลี้ยงไก่ไข่ การจัดการบริหารฟาร์มขนาดเล็ก และประยุกต์กิจกรรมสู่การเรียนการสอน เป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญด้านการจัดการอาชีพเกษตรเชิงธุรกิจให้กับครู นักเรียน ได้เรียนรู้การบริหารจัดการธุรกิจเกษตร สามารถบริหารจัดการผลผลิตไข่ไก่จำหน่ายให้แก่ชุมชน ทำให้ชาวชุมชนได้บริโภคไข่ไก่สดในราคาที่เหมาะสม สร้างรายได้หมุนเวียน ต่อยอดขยายผล เกิดเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน