จับชีพจรส่งออกไทยไปจีนปี 67 เมื่อจีนเจอมรสุมเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจจีนปี 67 ยังซึม ส่งผลกระทบต่อส่งออกไทยไปจีน “วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา “ แนะไทยเตรียมความพร้อม ขยายตลาดรองรับความเสี่ยง ขณะที่ไทยส่งออกไปจีนปี 66 มูลค่า 1.17 ล้านล้านบาท หดตัว 1.3%
Key Points
- ตัวเลขเงินเฟ้อจีนที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 14 ปี
- ส่งออกของจีนรายปีลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 การส่งออกของจีนลดลงทั้งปีเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016
- ดัชนีราคา ของ GDP หรือที่เรียกว่า GDP Deflator หดตัวต่อเนื่อง
การส่งออกไทยทั้งปี 2566 (ส่งออกไทย ปี66) หดตัว 1.0% และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 0.6%ไทยขาดดุลการค้าอยู่ที่ 302,926 ล้านบาท แต่นับว่าดีขึ้นจากปี 2565 ที่ขาดดุล 612,569 ล้านบาท
ตลาดส่งออกจากไทยสูงสุด ปี 66 (หน่วยล้านบาท) ได้แก่
- อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้น 2.2%
- อันดับ 2 จีน ลดลง 1%
- อันดับ 3 ญี่ปุ่น ลดลง 0.57 %
- อันดับ 4 ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 7.54%
- อันดับ 5 มาเลเซีย ลดลง 6.8%
ตลาดนำเข้าโดยไทยสูงสุด ปี 66 (หน่วยล้านบาท) ได้แก่
- อันดับ 1 จีน ลดลง 0.6%
- อันดับ 2 ญี่ปุ่น ลดลง 10%
- อันดับ 3 สหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้น 8.9 %
- อันดับ 4 ไต้หวัน เพิ่มขึ้น 40%
- อันดับ 5 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ลดลง 4.9%
เมื่อโฟกัสไปยัง "ประเทศจีน" ซึ่งถือเป็นประเทศคู่ค้าของไทยที่มีความสำคัญทั้งด้านการส่งออกและการนำเข้า โดยเป็นอันดับ 1 ที่ไทยนำเข้ามากที่สุด และเป็นอันดับ 2 ที่ไทยส่งออกไปมากที่สุดเช่นกัน แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่าน ไทยขาดดุลการค้าจีน
ปี 2566 ไทยส่งออกไปจีนมูลค่า 1.17 ล้านล้านบาท หดตัว 1.3%
ปี 2566 ไทยนำเข้าจากจีนจีนมูลค่า 2.47 ล้านล้านบาท หดตัว 0.6 %
ปี 2566 ไทยขาดดุลการค้าที่มูลค่า 1.29 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.1% เมื่อเทียบกับปี 2565
ด้านมูลค่าการนำเข้าของไทยจากจีนมีมูลค่า 2.47 ล้านล้านบาท ภาพรวมลดง ที่ 0.6 % โดยกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้า ลดลง ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบ และกึ่งสำเร็จรูป ส่วนกลุ่มที่มีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้นได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค และ สินค้ากลุ่มอาหาร
สินค้าที่ไทยนำเข้ามาก 10 อันดับ ได้แก่
- เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
- เคมีภัณฑ์
- เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
- เครื่องคอมพิวเตอร์
- อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า
- ผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและ
- ผลิตภัณฑ์ รถยนต์โดยสารและ รถบรรทุก
- ผลิตภัณฑ์โลหะ
- ผลิตภัณฑ์ท จากพลาสติก
สินค้าเกษตรและอาหารที่ไทยนำเข้ามากได้แก่
- ผัก
- ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก
- ผลไม้
- เนื้อสัตว์หรับการบริโภค
- สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่ แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ
- ขนมหวานและช็อกโกแลต
- ข้าวและผลิตภัณฑ์ากแป้ง
- กาแฟ ชา เครื่องเทศ เครื่องดื่ม
สินค้าที่ปี 2566 มีการนำข้ามากขึ้นจากปี 2565 ได้แก่
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
- รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก
- ผลิตภัณฑ์โลหะ
- ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก
- ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก
- ขนมหวานและช็อกโกแลต เป็นต้น
ไทยส่งออกสินค้าไปจีน มาก 10 อันดับแรกได้แก่
- ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง
- ผลิตภัณฑ์ยาง
- เม็ดพลาสติก
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
- สินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ
- ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา
- เคมีภัณฑ์ สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรอื่น ๆ
การส่งออกไทยไปจีน ปี 2567 ไทยยังคงต้องเผชิญความท้าทายจากความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจจีน แม้ว่า เศรษฐกิจจีนในภาพรวมยังคงขยายตัวแต่เป็นการขยายแบบชะลอตัว โดยคาดการณ์ว่าปี 67 เศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 4-5 %
“วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา” รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย กล่าวว่า จีนยังคงเผชิญอุปสรรค เนื่องจากอุปสงค์ การอุปโภคบริโภค และการลงทุนของภาคเอกชนยังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะตัวเลขเงินเฟ้อ ที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 14 ปี โดยลดลง 0.3% ในเดือน ธ.ค. ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และลดลงติดต่อกันยาวนานที่สุด นับตั้งแต่ปี 2009 การส่งออกของจีนรายปีลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 ขณะที่ตัวเลขการขยายตัวจีดีพี ที่อยู่ที่ 5.2% ทั้งในไตรมาส 4/2023 และทั้งปี ซึ่งใกล้เคียงกับที่ตลาดคาด แต่ที่ต้องกังวล คือ ดัชนีราคา ของ GDP หรือที่เรียกว่า GDP Deflator หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนซึมเซาและวิกฤตเงินฝืดยังคงดำรงอยู่ต่อเนื่อง
ส่วนผลกระทบการส่งออกของไทยนั้น “วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา” มองว่า การส่งออกซึ่งจีนเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะด้านการส่งออก ดังนั้นเศรษฐกิจของจีนย่อมส่งผลต่อกำลังซื้อของคนในประเทศจีน และส่งผลกระทบต่อสินค้าที่ไทยส่งออกไปจีนมาก
“ไทยจึงมีการเตรียมความพร้อม ขยายตลาดรองรับความเสี่ยง อาทิให้ความสำคัญกับตลาด ‘อินเดีย’ มากขึ้น เนื่องจากเป็นตลาดที่มี ลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับจีนและยังต้องการสินค้าจากไทย และมีการเจรจาลดอุปสรรคทางการค้า จัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก มากกว่า 400 กิจกรรมในประเทศต่างๆ ทั้งการบุกตลาดเมืองรอง และการขับเคลื่อนการเจรจา FTA เพื่อผลักดันการส่งออกไทยให้เติบโต ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย”