“บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต” ไร้ข้อสรุป “เศรษฐา” ตั้งอนุฯ 2 ชุดดูข้อกฎหมายอีก 30 วัน

“บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต” ไร้ข้อสรุป “เศรษฐา” ตั้งอนุฯ 2 ชุดดูข้อกฎหมายอีก 30 วัน

“บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต” ไร้ข้อสรุป “เศรษฐา” ตั้งอนุกรรมการดูข้อกฎหมายกฤษฎีกา - ป.ป.ช. รับฟังความคิดเห็นอีก 30 วัน ชี้ต้องการให้ทุกภาคส่วนแสดงความคิดเห็นอย่าหลากหลาย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการนโยบายเติมเงิน 10,000 บาทผ่านระบบดิจิทัลวอลเล็ต ว่าในวันนี้ที่ประชุมมีมติรับทราบมติข้อหารือของคณะกรรมการกฤษฎีกา และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่เสนอมา

โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการในฐานะคณะทำงานไปรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการนี้ตามข้อสังเกตต่างๆ โดยมอบหมายกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมช่วยขยายขอบเขตในการรับฟังความคิดเห็นด้วย

ที่ประชุมมีมติตั้งอนุกรรมการ 2 คณะได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการเพื่อป้องกันการผิดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของโครงการ ซึ่งมีการตั้งคณะกรรมการชัดเจนและมอบหมายให้นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน มีหน้าที่ไปดูข้อกฎหมายทั้งในส่วนที่ ป.ป.ช.และคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอมา

2.คณะกรรมการรวบรวมข้อเท็จจริงและความคิดเห็นด้าสต่างๆ โดยจะเริ่มทำงานทันทีและมีกรอบทำงานภายใน 30 วัน เมื่อเสร็จสิ้นจะนัดประชุมคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่อีกครั้ง

 

เมื่อมีการประชุมครั้งต่อไปจะมีการนำเอาความเห็นของ ป.ป.ช.เข้ามาสู่การพิจารณาและนำเสนอต่อ ครม.ต่อไป

ทั้งนี้การเสนอแนะในโครงการนี้ที่ประชุมฯมีการเสนอว่าขอให้มีการรับฟังข้อคิดเห็นในวงกว้างไม่ใช่แค่กระทรวงการคลัง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งวันนี้มีความชัดเจนทุกๆคนที่อยากเสนอแนะก็ได้มีการพูดคุยกันให้ครบถ้วน และบางเรื่องนั้นเป็นข้อมูลลับก็มีการบอกว่าขอนำไปศึกษาก่อนซึ่งตนก็ยินดีที่ได้มีการ

  “บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต” ไร้ข้อสรุป “เศรษฐา” ตั้งอนุฯ 2 ชุดดูข้อกฎหมายอีก 30 วัน

“คณะกรรมการชุดนี้มีองค์ประกอบของคณะกรรมการหลายท่าน โดยหนึ่งในนั้นคือผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งก็บอกว่าเพิ่งได้เห็นข้อสังเกตจากกฤษฎีกาและ ป.ป.ช.ก็ต้องขอนำไปศึกษา พิจารณา ซึ่งผมก็ยืนยันว่าได้ครับและขอให้พิจารณาได้เต็มที่ โดยให้พิจารณาถึงข้อเท็จจริง มีข้อเสนอแนะอย่างไรก็ให้ตอบมา”

แหล่งข่าวจากที่ประชุมบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตเปิดเผยว่าการประชุมได้มีการพิจารณาข้อกฎหมายทั้งในส่วนที่คณะกรรมการกฤษฎีกา และ ป.ป.ช.ซึ่งทั้งสองหน่วยงานมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้มีการตั้งกรรมการขึ้นมา 2 ชุดเพื่อศึกษาความเห็นของ ป.ป.ช.หนึ่งชุด และกรรมการที่ศึกษาคำตอบของคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกหนึ่งชุด ซึ่งมีกรอบการทำงาน 30 วันเช่นกัน แล้วนำเอาข้อสรุปเสนอต่อบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่

ส่วนเมื่อถามว่าในการประชุมวาระลับเรื่องความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ทำไมต้องมีการประชุมวาระลับ แหล่งข่าวระบุว่าเรื่องจากเอกสารดังกล่าวยังมีชั้นความลับอยู่ จึงต้องมีการประชุมวาระลับเฉพาะกรรมการในบอร์ดนี้เท่านั้น

นายเศรษฐา ยังกล่าวว่า ในส่วนของไทม์ไลน์โครงการ และการเปลี่ยนแปลงการแหล่งกู้เงินมาเป็นการใช้งบประมาณประจำปี 2568 แทนหรือไม่นั้น เห็นว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น แต่ตอนนี้ขอรอข้อสรุปของคณะทำงานและคณะอนุกรรมการฯ สรุปรายละเอียดออกมาก่อน