กรมชลฯ เร่งฟื้นพื้นที่สีเขียวบนผืนน้ำ ตามแผนพัฒนาคลองบางไผ่
กรมชลประทานลงพื้นที่ เร่งรัด ติดตามความก้าวหน้าโครงการศึกษาพัฒนารูปแบบ ความเหมาะสมในการเก็บกักน้ำ/การระบายน้ำคลองบางไผ่และสาขา รองรับการเติบโตพื้นที่โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน กล่าวภายหลังลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดอาคารกักเก็บน้ำในลำน้ำคลองบางไผ่และสาขา ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำคลองบางไผ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีว่า ตามที่กรมชลประทานได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดทำโครงการศึกษาฯเพื่อทบทวนศักยภาพของปริมาณน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่โครงการเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ และศึกษาหารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาคลองบางไผ่และสาขา
เพื่อการเก็บกักน้ำการระบายน้ำ การเติมน้ำลงสู่ใต้ดิน และการใช้ประโยชน์เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาหาข้อมูลเพื่อออกแบบรายละเอียดเพื่อใช้ในการก่อสร้างและจัดทำเอกสารประกวดราคาของโครงการฯ นั้น ขณะนี้โครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าตามลำดับโดยเดือนมกราคม 2567 ที่ผ่านมาได้มีการจัดประชุมปฐมนิเทศเพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วม ตลอดจนเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนแผนดำเนินงานโครงการศึกษาฯ ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย
สำหรับ โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดอาคารกักเก็บน้ำในลำน้ำคลองบางไผ่และสาขา ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำคลองบางไผ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี นั้น กรมชลประทานได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดทำโครงการศึกษาฯเพื่อทบทวนศักยภาพของปริมาณน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่โครงการเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ และศึกษาหารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาคลองบางไผ่และสาขา เพื่อการเก็บกักน้ำการระบายน้ำ การเติมน้ำลงสู่ใต้ดิน และการใช้ประโยชน์เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาหาข้อมูลเพื่อออกแบบรายละเอียดเพื่อใช้ในการก่อสร้างและจัดทำเอกสารประกวดราคาของโครงการฯ
ขณะนี้โครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าตามลำดับโดยเดือนมกราคม 2567 ที่ผ่านมาได้มีการจัดประชุมปฐมนิเทศเพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วม ตลอดจนเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนแผนดำเนินงานโครงการศึกษาฯ ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดอาคารกักเก็บน้ำในลำน้ำคลองบางไผ่และสาขา ถือเป็นโครงการนำร่องในการบริหารจัดการน้ำผ่านการประยุกต์ใช้การแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based solution: NbS) ของ สกพอ. ซึ่งมีแผนเริ่มดำเนินงานเป็นระยะแรก เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่มีคุณภาพ และเพิ่มเสถียรภาพความมั่นคง
รวมทั้งเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมอันงดงามทางภูมิสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งอาจเป็นการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำลักษณะขั้นบันได 2 จุด และอาคารประกอบ ที่สามารถกักเก็บน้ำต้นทุนได้ประมาณ 2 - 4 ล้านลูกบาศก์เมตร
นอกจากนี้ กรมชลประทานยังได้ศึกษาแนวทางการออกแบบองค์ประกอบโครงการทางด้านสถาปัตยกรรมสีเขียว หรือ Green Design ได้แก่ Measures ที่ใส่เข้าไปเป็น Green Example