อุตฯ“เซมิคอนดักเตอร์”อาจไปไม่รอดหากขาดแคน“น้ำ”เทคโนโลยีสูงใช้น้ำมาก

อุตฯ“เซมิคอนดักเตอร์”อาจไปไม่รอดหากขาดแคน“น้ำ”เทคโนโลยีสูงใช้น้ำมาก

“อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์” คือ สารกึ่งตัวนำหรือวัสดุที่มีคุณสมบัติกึ่งนำไฟฟ้า เป็นชิ้นส่วนสำคัญในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือสื่อสาร รถยนต์ และสินค้าเทคโนโลยีอื่น ๆ

ประโยชน์ของเซมิคอนดักเตอร์มีความสำคัญกับเศรษฐกิจในอนาคตที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งอุตสาหกรรมนี้ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากตั้งแต่สงครามเทคโนโลยีจีน-สหรัฐ และการขาดแคลนจากดีมานด์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้หลายประเทศกำหนดการส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสำคัญของประเทศเพราะองค์ประกอบการของการเดินหน้าผลิตเซมิคอนดักเตอร์ไม่ใช่เรื่องง่ายๆทั้งตัวเทคโนโลยีชั้นสูง ทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมและยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นจุดชี้ขาดว่าอุตสาหกรรมนี้จะไปต่อได้ไม่นั่นคือ “น้ำ”

S&P Global Ratings เผยแพร่รายงาน “TSMC And Water: A Case Study Of How Climate Is Becoming A Credit-Risk Factor.” สาระสำคัญระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังทดสอบผู้ผลิตชิป เนื่องจากธุรกิจที่ผลิตชิปต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิตที่สูงมากและมีแนวโน้มการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นอีก ตามการก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ยิ่งเทคโนโลยีสูงมากการใช้น้ำในแต่ละขั้นตอนการผลิตก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย 

      อย่างไรก็ตาม ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงได้ทำให้โอกาสการเกิดภัยแล้งบ่อยครั้งขึ้น  ซึ่งจะมีผลต่อเสถียรภาพการผลิตชิปที่อาจไม่มีความสม่ำเสมอ

รายงานซึ่งเผยแพร่เมื่อ 26 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา สรุปว่า “ความมั่นคงด้านน้ำ” กำลังมีความสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะในบทบาทในอุตสาหกรรมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้บริษัทผู้ผลิตต่างกำลังมองหาวิธีการจัดการแหล่งน้ำที่หากทำได้ไม่ดี หรือ ไม่ถูกต้อง จะทำให้การผลิตเซมิคอนดักเตอร์หยุดชะงัก ซึ่งจะกระทบต่อเนื่องไปถึงสถานะทางการเงินของบริษัทผู้ผลิตรวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้าของบริษัทอีกด้วย 

“การหยุดชะงักของกำลังผลิตจะกระทบต่อธุรกิจต่อเนื่องและห่วงโซตลอดซัพพลายเชนของเซมิคอนดักเตอร์ได้ ”ฮิน ลี นักวิเคราะห์เครดิต  S&P Global Ratings กล่าว 

ทั้งนี้ องค์ประกอบของเซมิคอนดักเตอร์จำเป็นต้องใช้น้ำในทุกขั้นตอนตั้งแต่ขั้นกลางไปจนถึงขึ้นสูงสุด  เมื่อดีมานด์เพิ่มขึ้น บวกกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้นทำให้ทั่วโลกมองหาความพร้อมด้าน“ทรัพยากรน้ำ” มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนการผลิต หรือ แม้แต่ธุรกิจที่ดำเนินการอยู่แล้วก็เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น  เช่น กรณีพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านน้ำสำหรับผู้ผลิตชิปอย่าง“ฮ่องกง”

อุตฯ“เซมิคอนดักเตอร์”อาจไปไม่รอดหากขาดแคน“น้ำ”เทคโนโลยีสูงใช้น้ำมาก

สำหรับ“น้ำ”ที่กล่าวถึงนี้ คือน้ำบริสุทธิ์ ที่ต้องใช้กับกระบวนการผลิตชิปที่ซับซ้อนและต้องล้างด้วยน้ำ ที่มีความบริสุทธิ์สูงสุด ซึ่งต้องใช้น้ำจืดที่ให้ความบริสุทธิ์ขั้นสูงได้ด้วย 

“กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ชั้นสูง ที่จะล้าง แผ่นชิพหรือไมโครชิพระหว่างกระบวนการผลิตในแต่ละขั้นตอน ซึ่งเซมิคอนดักเตอร์ยิ่งมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีกระบวนการผลิตที่มากขึ้นในแต่ละขั้นตอนซึ่งหมายถึงปริมาณน้ำที่ต้องใช้ในทุกขั้นตอนการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นด้วย” 

รายงานได้อ้างอิงถึงผลการสำรวจปริมาณการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น รวมถึงคุณภาพน้ำที่ต้องเฉพาะเจาะจงมากขั้น โดยใช้  TSMCหรือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company เป็นกรณีศึกษา โดยรายงานนี้มองไปถึงการปริมาณน้ำที่จะใช้ในไต้หวัน ซึ่งพบว่าบริษัทมีน้ำใช้อย่างมีประสิทธิภาพและมีการเข้าถึงแหล่งน้ำ รวมถึงยังมีขีดความสามารถพร้อมในการจัดการน้ำหากเกิดการขาดแคลนน้ำด้วย โดยผลศึกษาได้จำลองภาพความแห้งแล้งเป็นฉากทัศน์ต่างๆพร้อมประเมินผลกระทบต่อบริษัทไว้ด้วย 

รายงานข่าวแจ้งว่า อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ อยู่ในแผนที่ไทยจะส่งเสริมให้เกิดการลงทุน เช่น  เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางเยือนสหรัฐเมื่อพ.ย. 2566 ซึ่งครั้งนั้น ได้หารือกับบริษัท Analog Devices, Inc. หรือ ADI เป็นบริษัทผลิตวงจรรวม (Integrated Circuit: IC) รายใหญ่ระดับโลกที่มีการออกแบบและผลิตแบบครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่ออกแบบวงจรผลิตแผ่นเวเฟอร์ (Wafer Fabrication) ซึ่งเป็นต้นน้ำของการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) การเชื่อมประกอบเพื่อผลิตเป็นชิป (Chip)ให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย 

ธุรกิจใหญ่ มูลค่าสูง และเต็มไปด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย อาจต้องหยุดชะงัก เพียงเพราะขาดแคลนทรัพยากรขั้นพื้นฐานอย่าง “น้ำ”ดังนั้นหากไทยสามารถจัดการทรัพยากรชนิดนี้ได้เพราะไทยมีอยู่มากมายก็จะทำให้ไทยเป็นแหล่งน่าสนใจสำหรับการลงทุนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ได้