ศึกชิงประธาน ส.อ.ท. 'เกรียงไกร-สมโภชน์' ไม่มีที่ยืนให้ 'ผู้แพ้'

ศึกชิงประธาน ส.อ.ท. 'เกรียงไกร-สมโภชน์' ไม่มีที่ยืนให้ 'ผู้แพ้'

ส.อ.ท.จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกกรรมการชุดใหม่ วาระปี 2567-2569 ซึ่งจะมาเลือกประธานองค์กร หลังจากมีผู้เสนอตัว 2 ราย คือ "เกรียงไกร" และ "สมโภชน์" ทำให้มีความกังวลถึงความขัดแย้งในองค์กรที่อาจเกิดขึ้น หลังจากในอดีตเคยเกิดความขัดแย้งรุนแรง

KEY

POINTS

  • ในปี 2556-2557 มีความขัดแย้งภายใน ส.อ.ท.ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งประธาน เป็นความขัดแย้งในระดับที่เกิดคดีความ
  • การเลือกตั้งประธาน ส.อ.ท.หลายครั้งที่มีการเสนอตัวมากกว่า 1 คน ในรอบ 14 ปี ที่ผ่านมา ผู้ที่แพ้จะลดบทบาทในองค์กรลง
  • ขณะที่การเลือกตั้งประธาน ส.อ.ท.ปี 2567 มีผู้เสนอตัว 2 คน คือ นายเกรียงไกร เธียรนุกูล และ นายสมโภชน์ อาหุนัย
  • การเสนอตัวเป็นประธาน 2 คน ทำให้มีความกังวลต่อการปรับเปลี่ยนทีมบริหารในอนาคตที่ผู้สนับสนุนที่แพ้จะไม่มีบทบาทในองค์กร

การเปลี่ยนผ่านผู้นำของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เป็นที่จับตามองอีกครั้ง เมื่อมีการประกาศชิงตำแหน่ง 2 คน ประกอบด้วย

1.นายเกรียงไกร เธียรนุกูล ประธาน ส.อ.ท.

2.นายสมโภชน์ อาหุนัย รองประธาน ส.อ.ท. และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน)

การเลือกประธานคนใหม่ที่ผู้เสนอตัว 2 คน ทำให้มีการเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ความวุ่นวายใน ส.อ.ท. โดยเฉพาะในการเมือกตั้งเมื่อปี 2557 ที่มีความขัดแย้งรุนแรงและมีการฟ้องร้องเป็นคดีความ

สำหรับ ส.อ.ท.ถือเป็นองค์กรของภาคธุรกิจที่รวมตัวสมาชิกในภาคการผลิตกว่า 15,000 ราย มีบทบาทในการนำเสนอความเห็นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและธุรกิจต่อรัฐบาล ในระดับเดียวกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย

ในรอบ 18 ปี ที่ผ่านมา การเลือกตั้งประธาน ส.อ.ท.หลายครั้งที่มีการแข่งขันกันระหว่างสมาชิก 2 กลุ่ม โดยการเลือกตั้งในบางครั้งทำให้ผู้ที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งต้องลดบทบาทใน ส.อ.ท.

เมื่อปี 2549 มีการแข่งขันกัน 2 กลุ่ม คือ นายสันติ วิลาสศักดานนท์ รองประธาน ส.อ.ท.จากเครือสหพัฒน์ แข่งขันกับนายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ รองประธาน ส.อ.ท.จากกลุ่มเอกรัฐวิศวกรรม ซึ่งเป็นนายสันติ ที่ชนะและได้เป็นประธานต่อเนื่อง 2 สมัย ในปี 2549-2553

เมื่อปี 2553 มีการชิงกัน 2 กลุ่ม คือ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธาน ส.อ.ท.ที่เคยเป็นผู้บริหารบริษัทร่วมทุนของ SCG ในธุรกิจเหล็ก และมีนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธาน ส.อ.ท.ในขณะนั้นให้การสนับสนุน ศึกชิงประธาน ส.อ.ท. \'เกรียงไกร-สมโภชน์\' ไม่มีที่ยืนให้ \'ผู้แพ้\' พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผลประธาน ส.อ.ท. ปี 2553-2557

อีกกลุ่มเป็นนายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธาน ส.อ.ท.ตัวแทนจากฮอนด้า และนายสุรพร สิมะกุลธร รองประธาน ส.อ.ท.ตัวแทนจากกลุ่มกุลธรเคอร์บี้ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

แต่ก่อนการเลือกตั้งมีการประเมินคะแนนแล้วสู้นายพยุงศักดิ์ไม่ได้จึงได้มีการถอนตัว และได้ลดบทบาทใน ส.อ.ท.ลง

ต่อมาปี 2556 เกิดความแตกแยกรุนแรงใน ส.อ.ท.เป็น 2 กลุ่ม ระหว่างกลุ่มนายพยุงศักดิ์ประธาน ส.อ.ท. และกลุ่มนายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการ ส.อ.ท.โดยมีต้นเหตุจากการตรวจสอบการทุจริตและการปลดกรรมการบางส่วน

ความขัดแย้งดังกล่าวทำให้มีความพยายามในการปลดประธาน ส.อ.ท.ออกจากตำแหน่ง โดยเริ่มต้นที่การอ้างสิทธิการจัดประชุมใหญ่ 2 สถานที่พร้อมกันที่ โดยนายพยุงศักดิ์ ประธาน ส.อ.ท.จัดประชุมที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ส่วนนายธนิตเลขาธิการ ส.อ.ท.จัดประชุมที่โรงแรมดุสิตธานี ซึ่งครบองค์ประชุมทั้ง 2 ที่

ศึกชิงประธาน ส.อ.ท. \'เกรียงไกร-สมโภชน์\' ไม่มีที่ยืนให้ \'ผู้แพ้\' ธนิต โสรัตน์ อดีตรองประธาน และ เลขาธิการ ส.อ.ท.

ต่อมากลุ่มกลุ่มนายธนิต ได้เสนอจัดประชุมใหญ่ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อเลือกประธาน ส.อ.ท.คนใหม่ ซึ่งมีการเสนอชื่อนายสันติ อดีตประธาน ส.อ.ท.ปี 2549-2553 แต่ท้ายที่สุดมีแรงกดดันจากเครือสหพัฒน์ให้นายสันติ ยุติบทบาทใน ส.อ.ท. เพราะเครือสหพัฒน์ไม่ต้องการเข้าไปมีส่วนกับความขัดแย้งใน ส.อ.ท.

ศึกชิงประธาน ส.อ.ท. \'เกรียงไกร-สมโภชน์\' ไม่มีที่ยืนให้ \'ผู้แพ้\'

สันติ วิลาสศักดานนท์ ประธาน ส.อ.ท.ปี 2549-2553

ความขัดแย้งตั้งแต่กลางปี 2556 ลากยาวไปจนถึงต้นปี2557 โดยมีการยื่นข้อเสนอคนกลางเข้ามาทำหน้าที่สมานฉันท์ในองค์กร เพื่อทำหน้าที่ประธาน ส.อ.ท. 1 สมัย ในปี 2557-2559 จึงนำมาสู่การเลือกตั้งตามกำหนดในเดือน มี.ค.2557 โดยมีการเสนอชื่อ 2 คน คือ

1.นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ รองประธาน ส.อ.ท.จากกลุ่มพริกไทยง่วนสูน (พริกไทยตรามือ) โดยนายวิศิษฎ์ เริ่มเข้ามามีบทบาทใน ส.อ.ท.จนเป็นประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และรองประธาน ส.อ.ท. และได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มนายธนิตในการลงเลือกตั้ง ศึกชิงประธาน ส.อ.ท. \'เกรียงไกร-สมโภชน์\' ไม่มีที่ยืนให้ \'ผู้แพ้\' วิศิษฎ์ ลิ้มประนะ อดีตประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และอดีตรองประธาน ส.อ.ท.

2.นายสุพันธุ์ มงคลสุธี จากกลุ่มซินเน็ค เริ่มมีบทบาทใน ส.อ.ท.มาตั้งแต่การเป็นประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบุรี เพราะมีกิจการโรงพิมพ์ที่เพชรบุรีจึงถูกเลือกเป็นสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบุรี จนได้มาเป็นรองประธาน ส.อ.ท.และมีธุรกิจหลักเป็นกลุ่มซินเน็ค

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ นายสุพันธุ์ ชนะการเลือกตั้งและขึ้นมาเป็นประธานคนกลางจนครบวาระในปี 2559 และแม้นายสุพันธุ์จะดึงนายวิศิษฎ์ มาเป็นที่ปรึกษา และรับหน้าที่ประธานสภาธุรกิจไทย-ฟิลิปปินส์ แต่ต่อมานายวิศิษฎ์ เลือกที่จะลดบทบาทใน ส.อ.ท. ศึกชิงประธาน ส.อ.ท. \'เกรียงไกร-สมโภชน์\' ไม่มีที่ยืนให้ \'ผู้แพ้\' สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท.ปี 2557-2559 และ 2561-2565

หลังจากนั้นเข้าสู่การเลือกตั้งอีกครั้งได้มีการเสนอชื่อนายเจน นำชัยสิริ รองประธาน ส.อ.ท.จากกลุ่มเอเซียไฟเบอร์ เป็นประธานคนใหม่แบบไม่มีคู่แข่ง แต่นายเจนเลือกที่จะเป็นประธานวาระเดียว เพื่อเปิดทางให้นายสุพันธุ์ ลงสมัครประธานและชนะการเลือกตั้งเป็นประธานอีก 2 วาระ ตั้งแต่ปี 2561-2565

เมื่อครบวาระของนายสุพันธุ์ ได้สนับสนุนนายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธาน ส.อ.ท.จากบริษัท นิวไวเต็ก จำกัด เพื่อให้เป็นประธานคนใหม่และชนะการเลือกตั้งเป็นประธานปี 2565-2567 เป็นประธาน ส.อ.ท.คนที่ 16

นายเกรียงไกร กล่าวว่า การมีผู้สมัครเพิ่มอีก 1 คนไม่มีปัญหาอะไร แต่สิ่งที่มีผู้สอบถามเข้ามา คือ การเลือกทั้งประธานกลุ่มอุตสาหกรรม ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด และประธานคลัสเตอร์ มีธรรมเนียมปฎิบัติที่เป็น 2 ปี บวก 2 ปี ซึ่งส่วนตัวไม่อยากให้มองว่าเป็นการแตกแยกภายใน ส.อ.ท. ศึกชิงประธาน ส.อ.ท. \'เกรียงไกร-สมโภชน์\' ไม่มีที่ยืนให้ \'ผู้แพ้\' เกรียงไกร เธียรนุกูล ประธาน ส.อ.ท.ปี 2565-2567

"เราทุกคนต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน พร้อมรับฟังหมด คนส่วนใหญ่พูดว่าควรปฎิบัติเป็นธรรมเนียม ต้องเข้าใจว่าธรรมเนียมไม่ใช่กฎหมาย ไม่ได้มีบทลงโทษ"

แต่เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการดำรงตำแหน่งอย่างน้อย 4 ปี เหมาะสมกว่า เพราะ 2 ปีสั้นไป แค่ออกนโยบายยังไม่ทันได้ทำอะไรเวลาก็หมดลงแล้ว

ดังนั้น 2 ปี ต่อจากนี้จะเป็นปีที่เก็บเกี่ยวผลงานที่จะสำเร็จ และคิดว่าโครงการที่ทำอยู่กำลังจะดอกออกผลซึ่งสุดท้ายก็ต่องให้สมาชิกเป็นผู้เลือก และหากสมาชิกมองว่ายังมีประโยชน์ผลงานเข้าตาก็เลือกเป็นประธาน ส.อ.ท.อีกสมัย

ก่อนการเลือกตั้ง 1 เดือน “นายสมโภชน์” ได้ประกาศตัวที่จะลงชิงตำแหน่งประธาน โดยระบุว่า เป็นอุดมการณ์ที่ต้องการรับใช้ชาติในฐานะภาคเอกชน โดยจะนำความรู้ ความสามารถและประสบการณ์การทำงานมาช่วยประเทศชาติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ศึกชิงประธาน ส.อ.ท. \'เกรียงไกร-สมโภชน์\' ไม่มีที่ยืนให้ \'ผู้แพ้\' สมโภชน์ อาหุนัย รองประธาน ส.อ.ท.

“ผมพร้อมรับใช้ทุกคนและไม่เป็นนายใคร ทุกคนใน ส.อ.ท.ล้วนเป็นผู้บริหาร เป็นเจ้าของกิจการมีตำแหน่งไม่น้อยกว่ากัน จึงต้องมาร่วมทำงาน ร่วมแก้ปัญหาโปร่งใสไม่มีฝักมีฝ่าย”

รวมทั้งต้องการสร้างประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติ หลังจากเคยเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจนกระทั่งปัจจุบันทำหน้าที่บริหารธุรกิจในกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์

ดังนั้นจึงต้องการนำเสนอไอเดียที่มีเพื่อให้เกิด Impact มากกว่าที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพราะเชื่อว่า ส.อ.ท.คือแกนหลักของประเทศ มีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้น

การประชุมใหญ่ในวันที่ 25 มี.ค.2567 จึงเป็นที่จับตามองถึงผลการเลือกตั้งกรรมการ ส.อ.ท.ที่จะมาทำหน้าที่ในการเลือกตั้งประธาน ส.อ.ท.