‘ธปท.’ห่วง ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ก่อหนี้สูง ทำไทยเสี่ยงถูกหั่น 'เครดิตเรตติ้ง’
“แบงก์ชาติ” ส่งหนังสือถึง ครม.เตือนการเดินหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ตทำการคลังประเทศเสี่ยง เกิดภาระทางการคลังในรระยะยาว ภาระดอกเบี้ยจ่ายต่อรายได้พุ่งเกิน 11% อาจทำให้มูร์ดี้หั่นเครดิตเรตติ้งลงได้ ขณะที่พื้นที่การคลังในปี 2568 เหลือแค่ 5 พันล้าน
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต 5 แสนล้านบาท ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เริ่มดำเนินโครงการได้นั้นมีหลายหน่วยงานที่ส่งความเห็นประกอบการพิจารณาของ ครม.
ซึ่งในส่วนของ ธปท.นั้นได้มีการตั้งข้อสังเกตและความเป็นห่วงในการดำเนินโครงการของรัฐบาลหลายข้อ โดยหนึ่งในส่วนที่ ธปท.แสดงความเห็นประเด็นหนึ่งก็คือเรื่องของภาระทางการคลังที่จะเกิดขึ้นอย่างมากหลังจากการดำเนินโครงการนี้
โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ก่อให้เกิดภาระทางการคลังจำนวนมากในระยะยาว และหากไม่สามารถรักษาเสถียรภาพภาระหนี้ภาครัฐได้ จะเพิ่มความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ เช่น เกณฑ์การประเมินของ Moody's ได้กำหนดอัตราส่วนภาระดอกเบี้ยจ่ายต่อรายได้ของ วิสัยทัศน์ เป็นอค์กรที่มองไกล มีหลักการ และร่วมมือ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของไทย ประเทศในกลุ่ม Baa 1 (Rating ของไทยในปัจจุบัน) ไว้ว่าไม่ควรเกิน 11%
โดยโครงการดิจิทัลวอลเล็ต จะทำให้อัตราส่วนดังกล่าวมีแนวโน้มสูงกว่าเกณฑ์นี้ ในปี 2568 ซึ่งหากไทยถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ จะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมภาครัฐและภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในภาพรวม
การดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ที่ใช้วงเงินงบประมาณมูลค่าสูงทำให้ความสามารถในการดำเนินนโยบายการคลังอื่นของรัฐบาลลดลง และมีความเสี่ยงที่จะมีงบประมาณไม่เพียงพอรองรับในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งการเพิ่มวงเงินกู้ปีงบประมาณ 2568 จนเกือบเต็มกรอบที่กฎหมายกำหนด ทำให้เหลือวงเงินกู้ได้อีกราว 5,000 ล้านบาท เทียบกับวงเงินคงเหลือเฉลี่ยในปีก่อน ๆ ที่มากกว่า 100,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ การจัดสรรวงเงินจากงบประมาณปี 2567 ทำให้งบกลางสำรองจ่ายกรณี ฉุกเฉินหรือจำเป็นลดลงจนอาจไม่เพียงพอรองรับกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์การเมืองโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงและภาวะภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงมากขึ้น
รัฐบาลควรพิจารณาถึงความคุ้มค่าของการนำงบประมาณ 500,000 ล้านบาทไปใช้ลงทุนในโครงการที่จะแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ตัวอย่างการใช้งบประมาณที่ผ่านมา ได้แก่
- โครงการพัฒนาบุคลากรการแพทย์ (ใช้วงเงิน เฉลี่ย 3.8 ล้านบาทต่อตำแหน่ง) จะสามารถสร้างบุคลากรการแพทย์ได้กว่า 130,000 ตำแหน่ง
- โครงการ เรียนฟรี 15 ปี สำหรับนักเรียนทั่วประเทศ (83,000 ล้านบาทต่อปี) จะสามารถสนับสนุนได้นานถึง 6 ปี
- โครงการรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม - ชุมพร (40,000 ล้านบาทต่อสาย) จะพัฒนาได้กว่า 10 สาย
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (190,000 ล้านบาทต่อสาย) จะพัฒนาได้กว่า 2 สาย เป็นต้น