'TMA' แนะยกเครื่อง การศึกษา – สุขภาพ โอกาสขยับอันดับขีดแข่งขันไทยเพิ่มขึ้น

'TMA' แนะยกเครื่อง การศึกษา – สุขภาพ โอกาสขยับอันดับขีดแข่งขันไทยเพิ่มขึ้น

"TMA" ชี้ ‘การศึกษา-สุขภาพ’ กุญแจสำคัญในการขยับอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยเพิ่มขึ้นในอนาคต แน่รัฐเอกชนร่วมมืออย่างจริงจัง แม้ปีนี้ไทยได้ขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้น 5 อันดับ แต่มีหลายด้านที่ยังต้องพัฒนาต่อเนื่อง

การจัดอันดับดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเขตเศรษฐกิจ  (World Competitiveness Center)ที่จัดอันดับโดยสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development) หรือ “IMD”  สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2567 ที่เพิ่งประกาศไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นถึง 5 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 25 จากทั้งหมด 67 เขตเศรษฐกิจที่มีการจัดอันดับ จากปัจจัยหลักที่ IMD ใช้ในการจัดอันดับรวม 4 ด้าน มี 2 ปัจจัยที่ไทยมีอันดับดีขึ้นในปีนี้คือ สมรรถนะทาง

เศรษฐกิจ (Economic Performance) ที่ดีขึ้นถึง 11 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 5 และประสิทธิภาพของภาคธุรกิจที่ดีขึ้น 3 อันดับ จากอันดับที่ 23 เป็นอันดับที่ 20 ในปีนี้

ในขณะที่ ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐและโครงสร้างพื้นฐาน มีอันดับคงเดิมในอันดับที่ 24 และ 43 ตามลำดับ

TMA แนะยกระดับการศึกษา-สุขภาพ

ธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานศูนย์เพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA Center for Competitiveness) กล่าวว่านับว่าน่ายินดีที่ IMD ได้รับการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นกว่าปีก่อนถึง 5 อันดับโดยกลับมาอยู่ที่อันดับ 25 ที่เทียบเท่ากับอันดับในปี 2562 และเป็นอันดับดีที่สุดที่ไทยเคยขึ้นถึง

ซึ่งปัจจัยหลักคือภาพการฟื้นตัวของผลตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มาจากการท่องเที่ยวและการขยายตัวของตลาดส่งออกหลังการยุติของโรคระบาด Covid-19 ขณะเดียวกันถือว่าเป็นข้อท้าทายสำหรับเราว่าจะทำอย่างไรใน การสร้างแรงขับเคลื่อนให้เราก้าวไปสู่อีกระดับได้

ซึ่งเมื่อพิจารณาจากประเด็นที่ยังเป็นจุดอ่อนของไทยคือการขาดเม็ดเงินและทรัพยากรที่จำเป็นในการลงทุนเพื่อเสริมสร้างและแก้ปัญหาที่เรื้อรังในด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านที่เกี่ยวข้องกับการขาดผลิตภาพของภาคธุรกิจและภาคการผลิตที่สำคัญ การขาดแคลนคุณภาพและปริมาณของทรัพยากรมนุษย์ การขาดคุณภาพของการศึกษาและสุขภาพ และปัจจัยเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไทยยังอยู่ในอันดับต่ำ

\'TMA\' แนะยกเครื่อง การศึกษา – สุขภาพ โอกาสขยับอันดับขีดแข่งขันไทยเพิ่มขึ้น
 

รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะสนับสนุนขีดความสามารถในด้านอื่น ๆของประเทศดังนั้นเพื่อทำให้ประเทศไทยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันในภาพรวมที่ดีขึ้นและสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ทุกภาคส่วนต้องมาช่วยกันคิดและขับเคลื่อน ภาครัฐในฐานะผู้กำหนดและดำเนินนโยบาย จะต้องนำประเด็นดังกล่าวมาพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วนในการวางแผนและจัดทรัพยากรขับเคลื่อนโดยมีเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม

 ในขณะที่ภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา ภาคสังคม ต้องมุ่งเน้นการจัดสรรทรัพยากรไปในเป้าหมายเดียวกัน และที่สำคัญต้องพัฒนาศักยภาพของคนและองค์กรในทุกระดับให้สามารถจับสัญญาณแห่งอนาคต เท่าทันเทคโนโลยี มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความคล่องตัวในการปรับปรุงพัฒนา และมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีโดยเฉพาะดิจิทัลและ AI มาใช้เพื่อเพิ่มผลิตภาพในทุกภาคส่วนต่อไป