สศท.จับมือกรมทรัพย์สินฯดันครูศิลป์-ครูช่าง จดลิขสิทธิ์งานศิลปหัตถกรรม

สศท.จับมือกรมทรัพย์สินฯดันครูศิลป์-ครูช่าง จดลิขสิทธิ์งานศิลปหัตถกรรม

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย จับมือกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดันครูศิลป์-ครูช่าง จดงานศิลปหัตถกรรมไทย คุ้มครองผลงานทรัพย์สินทางปัญหา  สร้างมาตรฐานสินค้าให้น่าเชื่อถือ   ทันกระแส Disruption ในอนาคต

นางพรรณวิลาส แพพ่วง รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (สศท.)หรือ sacit  เปิดเผยว่า   ปัจจุบันสถาบันมีครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ที่ผลิตงานศิลปหัตถกรรม 4,000 ราย และส่วนใหญ่จะไม่ได้จดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญหาหรืองานของตัวเองทำให้เสี่ยงต่อการถูกละเมิดทรัพย์สินทั้งเครื่องหมายการค้า และการลอกเลียนแบบตัวผลิตภันฑ์ 

ดังนั้น เพื่อป้องกันการรละเมิดลิขสิทธ์ สศท. ร่วมกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ในการต่อยอดการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์ที่มีลิขสิทธิ์สู่ขยายผลเชิงพาณิชย์ และให้ความรู้ การยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา ในงานหัตถกรรม ให้เห็นถึงความสำคัญของการรักษามูลค่าของความคิดที่เป็นคลังสมองเฉพาะบุคคล เป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญา โดยปีนี้มีครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมที่เข้าร่วมจดลิขสิทธิ์ทางปัญหา 30 ราย

โดย สศท.สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยในสินค้ากลุ่มหัตถกรรม  9 ประเภท เช่น เครื่องไม้ เครื่องจักรสาน เครื่องดิน เครื่องทอ(เครื่องผ้า) เครื่องรัก เครื่องโลหะ  เครื่องหนังเครื่องกระดาษ เครื่องหิน 10.อื่นๆ กลุ่มสินค้างานหัตถกรรมเหล่านี้ ได้อยู่ในพื้นที่แหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์)หรือGI ผู้ผลิตผลงานในพื้นที่ GI ได้นำวัสดุ/วัตถุดิบ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกับการผลิตผลงานเข้ามาเป็นส่วนที่สร้างสรรค์ ต่อยอด ให้สินค้ามีความโดดเด่น มีอัตลักษณ์สูง อันเนื่องมาจากการหยิบใช้ทุนในพื้นที่ เช่น ทุนทางประวัติศาสตร์ ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม ทุนสิ่งแวดล้อม  เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง จะสามารถเพิ่มคุณค่า และมูลค่าแก่สินค้าหัตถกรรมได้อย่างมีศักยภาพ

สศท.จับมือกรมทรัพย์สินฯดันครูศิลป์-ครูช่าง จดลิขสิทธิ์งานศิลปหัตถกรรม

ล่าสุดสศท. ได้ MOU กับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ในการขับเคลื่อนศิลปหัตถกรรมของไทย ให้เติบโตก้าวสู่การแข่งขันในยุค Disruption ได้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต  ให้สินค้าได้มีลิขสิทธิ์ และสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ 

“ตลาดส่งออกที่น่าสนใจของงานหัตถกรรมไทย คือ ตะวันออกกลาง เพราะเป็นตลาดที่ชอบงานแนวนี้ และคาดว่าน่าจะส่งอออได้เพิ่มขึ้น ส่วนปัญหาการลอกเลียนแบบงานหัตถกรรมไทย มองว่ายากเพราะลวดลายของงานไทยมีเอกลักษณ์”

นางพรรณวิลาส   กล่าวอีกว่า ในปีนี้ สศท.มีผลิตภัณฑ์จากโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ และเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวระดับชุมชน และพัฒนาเป็นสินค้าหัตถกรรมสู่การท่องเที่ยวในระดับโลกได้  สศท. เตรียมจัดแสดงนิทรรศการแสดงต้นแบบผลิตภัณฑ์ ในงานแสดงสินค้า Crafts Bangkok 2024 วันที่ 24 - 28 ส.ค.2567    ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา 

สศท.จับมือกรมทรัพย์สินฯดันครูศิลป์-ครูช่าง จดลิขสิทธิ์งานศิลปหัตถกรรม

นายอาวุธ วงศ์สวัสดิ์ รองอธิบดี รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า กรมฯ พร้อมให้ความรู้และคำปรึกษาด้านการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา ภายในประเทศ และระหว่างประเทศ แก่ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม สมาชิก สศท. ผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม และนักออกแบบ ให้เป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ และตระหนักในคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของทั้งสองฝ่าย เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ทั้งนี้ที่ผ่านมามีการยืนขอเครื่องหมายการค้า จดลิขสิทธิ์ ประมาณ 50,000 คำขอ

สำหรับมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ช่วง 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.)  มีมูลค่าการส่งออกรวม  145,492.74 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.40  % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยเดือน พ.ค.ส่งออก  31,859.15  ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น  7.44 %  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ตลาดส่งออกหลัก ยังคงเป็น สหรัฐฯ มูลค่าส่งออก 11,520.78  ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น  17.95 % รองลงมาเป็น สหภาพยุโรป มูลค่าส่งออก 6,073.10 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.65 % ญี่ปุ่น มูลค่าส่งออก 1,921.83 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 16.96 %  และอาเซียน มูลค่าส่งออก 2,962.84 ล้านบาท ขยายตัวลดลง  9.90 %

“สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุด คือ เครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง และมีการขยายตัวมากที่สุด คือ ดอกไม้ ใบไม้ และต้นไม้ประดิษฐ์   ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุด คือ เครื่องเงิน เครื่องทอง”