VUCA World ความเสี่ยงที่หมุนรอบ แต่เกษตรกรต้องไม่เสี่ยง เกษตรฯ ปรับแผนป้อง

VUCA World ความเสี่ยงที่หมุนรอบ แต่เกษตรกรต้องไม่เสี่ยง  เกษตรฯ ปรับแผนป้อง

บริบทโลกยุคใหม่เปลี่ยนผ่านจาก Disruptive World เข้าสู่ VUCA World สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เศรษฐกิจ ทำให้องค์กรต่างๆ ทั่วโลกปรับตัว เตรียมพร้อมรับมือ ให้ทันสถานการณ์ และต้องเปลี่ยนแปลงแนวทางเพื่อลดความไม่แน่นอนต่างๆ ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างรวดเร็ว

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า  “การรับมือการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นเรื่องท้าทายที่นักส่งเสริมการเกษตรต้องเปลี่ยนไปพร้อมๆ กัน กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีนักส่งเสริมการเกษตรอยู่ทุกพื้นที่ นับเป็นความท้าทายที่ผมจะต้องนำองค์กรขนาดใหญ่ ดูแลนักส่งเสริมการเกษตรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่กว่า 10,000 คน ดูแลเกษตรกรอีกกว่า 6 ล้านครัวเรือน มีพื้นที่การเกษตรดูแลกว่า 148 ล้านไร่
VUCA World ความเสี่ยงที่หมุนรอบ แต่เกษตรกรต้องไม่เสี่ยง  เกษตรฯ ปรับแผนป้อง นับเฉพาะในฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ดูแลเครือข่ายเกษตรกร 8 เครือข่ายหลัก ได้แก่ เกษตรแปลงใหญ่  Smart Farmer Young Smart Farmer วิสาหกิจชุมชน ยุวเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และแน่นอนว่าในโลกยุควูก้า ภาคเกษตรยังต้องเจอกับความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย ขาดแคลนแรงงาน

VUCA World ความเสี่ยงที่หมุนรอบ แต่เกษตรกรต้องไม่เสี่ยง  เกษตรฯ ปรับแผนป้อง

รวมถึงรูปแบบการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงสู่การบริโภคอาหารสุขภาพและโภชนาการที่ดี รวมไปถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
เรื่องต่างๆ คือความท้าทายของภาคการเกษตร ที่ล้วนส่งผลให้นักส่งเสริมการเกษตร ต้องปรับตัวแทบทั้งสิ้น การสร้างความเข้าใจให้เกษตรกร ควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงองค์กร

"การพัฒนาพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นสิ่งที่ผม ให้ความสำคัญกับต้องมองทั้งการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและนักส่งเสริมการเกษตร ที่จะต้องเดินคู่กัน เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Science Technology and Innovation) ต้องอ่านข้อมูลได้ ใช้ข้อมูลเป็น ซึ่งเป็นสิ่งที่กรมส่งเสริมการเกษตรจะต้องช่วยสร้างทักษะให้เกิดการเรียนรู้กับเกษตรกร " 

 

โดยได้จัดอบรมหลักสูตรต่างๆ ให้กับเกษตรกร และนักส่งเสริมการเกษตร เช่น Learning Skills สามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินสถานการณ์และและคิดอย่างสร้างสรรค์
เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อน Digital Literacy ความสามารถในการเข้าใจ เข้าถึง และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่
ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารทางการเงินและบัญชี การลงทุนในตลาดทุน
มีการวางแผนการเงิน เพื่อให้สามารถทราบรายได้ รายจ่ายตลอดปี และวางแผนการเงิน สอดคล้องกับช่วงเวลาเก็บเกี่ยวให้ผลผลิต เรียนรู้และเข้าใจตามช่วงอายุของเกษตรกร มีการเก็บออม และนำเงินออมไปลงทุนเพื่อ
การออมต่างๆ จะช่วยให้ลดความเสี่ยงด้านปัญหาการเงินในอนาคต

VUCA World ความเสี่ยงที่หมุนรอบ แต่เกษตรกรต้องไม่เสี่ยง  เกษตรฯ ปรับแผนป้อง

นักส่งเสริมการเกษตร สามารถแนะนำเกษตรกรให้เข้าถึงแหล่งช่องทางเงินทุนต่างๆ  ของรัฐได้ และต้องมีการบริหารจัดการองค์ความรู้ การปรับตัวให้เหมาะสมกับปัจจุบันและอนาคต สามารถพลิกฟื้นจากปัญหาได้เร็วและดีกว่าเดิม มุ่งสู่ ESG : Environmental, social, corporate governance

 

 รวมถึงต้องหมั่นเพิ่มเติมความรู้จากแหล่งต่างๆ ดำเนินชีวิต
ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ทั้งความพอประมาณ ความพอดี ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ความมีเหตุผล พิจารณาจากสาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาควบคุมการผลิตสินค้าเกษตร ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีที่ต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล

นอกจากนี้ยังต้องมีเงื่อนไขความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ และมีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต ส่งต่อของให้ผู้บริโภคด้วยความตระหนักถึงความเป็นธรรม

และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต รวมถึงการจัดการผลผลิต การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Logistics and Supply Chain  management) การจัดการข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Management and Data Analytics) จะต้องวางแผนการผลิตตั้งแต่ต้นทาง เพื่อควบคุมคุณภาพ ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถผลิตสินค้าเกษตรได้ ตามมาตรฐาน GAP หรือมาตรฐานต่างๆ   สร้างความประทับใจให้ผู้บริโภคเพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำ

รวมถึงเรียนรู้การทักษะด้านการตลาดและการตลาดแม่นยำ การจัดการแม่นยำ การเก็บเกี่ยวแม่นยำด้วย มีความเข้าใจการจัดระเบียบโลกใหม่ที่จะเกิดขึ้น เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง และการรับรองตัวเองภายใต้เงื่อนไขต่างๆ เช่น การติดฉลากคาร์บอน เป็นการแสดงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือเตรียมรองรับกฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า (EU Deforestation-free Regulations: EUDR)

การลดการเผาในพื้นที่การเกษตร ก็เป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญที่ประเทศไทยเข้าร่วมข้อตกลงการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

ทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่เพียงแต่เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต ปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น นักส่งเสริมการเกษตรเองก็ต้องทำงานควบคู่กับเกษตรกรให้บริการ ให้คำแนะนำ เรียนรู้เครื่องมือ เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ อัพเดทข้อมูลต่างๆ ให้กับพี่น้องเกษตรกร เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ digital technology

 

และกรมส่งเสริมการเกษตรพร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน นักวิชาการและเดินหน้าสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร ด้วยแนวทางตลาดนำ นวัตกรรมเสริม การลดต้นทุนการผลิต  เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็น 3 เท่า ภายในปี 2570 ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้”