แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี” หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี”    หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

สภาพอากาศกำลังทำให้ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ขณะเดียวกันปริมาณน้ำที่มากเพียงพอกับการเพาะปลูกก็กำลังส่งผลให้ภาคการเกษตรทำรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างมาก

ตั้งแต่ไทยเข้าสู่ฤดูฝน (20 พ.ค. 2567) ถึง ณ วันที่ 27 ส.ค. 2567 มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 32 จังหวัด มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 100,280 ราย พื้นที่รวม 626,582 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 527,357 ไร่ พืชไร่และพืชผัก 75,415 ไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น และอื่นๆ 24,260 ไร่ ซึ่งการช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนตามระเบียบกระทรวงการคลัง ข้าว อัตราไร่ละ 1,340 บาท, พืชไร่และพืชผัก ไร่ละ 1,980 บาท ไม้ผล ไม้ยืนต้น และอื่น ๆ ไร่ละ 4,048 บาท

สำหรับสถานการณ์การเพาะปลูกพืชฤดูฝน ปี 2567 ข้อมูล ณ วันที่ 21 ส.ค. 2567 ข้าวนาปี พื้นที่นอกเขตชลประทานทั้งประเทศ มีแผน 45.43 ล้านไร่ ปลูกไปแล้ว 40.52 ล้านไร่ คิดเป็น 89% ส่วน 22 จังหวัด ลุ่มเจ้าพระยา มีแผน 5.71 ล้านไร่ ปลูกไปแล้ว 5.88 ล้านไร่ คิดเป็น 107%

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี”    หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

ฉันทานนท์  วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร(สศก.) เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร( จีดีพีเกษตร)ในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วง  0.2- 1.2% เมื่อเทียบกับปี 2566 มีปัจจัยสนับสนุนคือภาวะเอลนีโญที่สิ้นสุดลงทำให้มีปริมาณฝนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ 

ประกอบกับการดำเนินนโยบายในการพัฒนาศักยภาพการผลิตและบริหารจัดการสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดการ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตร การยกระดับสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับภัยพิบัติต่างๆตลอดจนการเพิ่มช่องทางให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลต่างๆเพื่อการวางแผนและรองรับความเสี่ยง

นอกจากนี้เศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องโดยเฉพาะ การบริโภคและการส่งออกทำให้มีความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น 

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี”    หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามเฝ้าระวัง อาทิ ความแปรปรวนของสภาพสภาพอากาศการระบาดของโรคและแมลงซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรรวมถึงต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูงส่วนปัจจัยภายนอกอาทิความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อและมาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้มงวดมากขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทย

สำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์(ข้อมูล ณ เดือนมิ.ย. 2567) มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลง0.15% ในขณะที่ผลผลิต เพิ่มขึ้น 0.76%  ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 0.93 % 

 โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิ.ย.- ส.ค. 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี”    หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนก.ค. 2567 - พ.ค. 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพ.ย. 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 65.34% ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนส.ค. 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 1.911 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 7.07%  ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด

ข้าวนาปรัง ปี 2567สศก. คาดการณ์ว่า มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูกลดลง 8.81 %  ผลผลิต ลดลง 10.14 %  และผลผลิตต่อไร่ลดลง 1.38 % จาก ปี 2566

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี”    หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

โดย ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ เฉลี่ยตันละ 15,189 บาท ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% เฉลี่ยตันละ 10,715 บาท

มันสำปะหลัง ผลผลิตมันปี 2567 เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือน ต.ค. 2566 – ก.ย. 2567 คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.883 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวลดลง 6.32 %  ผลผลิตลดลง 12.20 %  และผลผลิตต่อไร่ ลดลง 6.27% จากปี 2566 

 โดยเดือน ส.ค. 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.53 ล้านตัน หรือ1.96 ของผลผลิตทั้งหมด ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนม.ค.- มี.ค. 2567 ปริมาณ 15.72 ล้านตัน หรือ 58.46 ของผลผลิตเป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย หัวมันสำปะหลังมีคุณภาพเพิ่มขึ้นเนื่องจากเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งสูง สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ  โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ หัวมันสำปะหลังสด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.82 บาท มันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.09 บาท 

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี”    หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%  

 ยางพารา  จากการรายงานของการยางแห่งประเทศไทย ได้วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิค ราคายางยังคงได้รับปัจจัยความท้าทายจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ ค้าที่สำคัญที่ฟื้นตัวมากขึ้น 

โดยสหรัฐตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯยังชะลอตัวลงต่อเนื่อง ในเดือนมิ.ย. ดัชนี ISM ภาคการผลิตลดลง สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนที่ 48.5 ส่วนดัชนี ISM ภาคบริการพลิกกลับมาหดตัวที่ 48.8 จากเดือนก่อนที่ 53.8 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2563 ในส่วนของการจ้างงานนอกภาคเกษตรชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 218,000 ตำแหน่ง สู่ 206,000 ตำแหน่ง ส่วน อัตราการว่างงานขยับขึ้นสู่ระดับ 4.1% ตัวเลขสหรัฐฯ ที่ยังคงเปราะบางและความไม่แน่นอนของเฟดในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังคง เป็นปัจจัยกดดันราคายางต่อไป

จีน ดัชนี PMI : Purchasing Manager Index หรือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ล่าสุดยังสะท้อนภาพการฟื้นตัวที่ไม่สมดุลและเปราะบางในภาคการผลิตของจีน แม้ ภาคบริการยังขยายตัวต่อเนื่องและความซบเซาในภาคอสังหาฯ มีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง แต่คาดว่า GDP ในไตรมาสที่ 3 จะเติบโตชะลอลงจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มอ่อนแอ ประกอบกับภาวะอุปทานส่วนเกินในภาคการผลิต และ ผลกระทบจากการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าโดยสหภาพยุโรป (EU) และสหรัฐฯ 

ยุโรป ECB :  European Central Bank คือธนาคารกลางยุโรป ปรับลดดอกเบี้ยลงตามคาด แต่การดีดตัวขึ้น ของเงินเฟ้อภาคบริการสร้างความไม่แน่นอนต่อทิศทางดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลัง ในเดือนมิ.ย. ดัชนี PMI ภาคการผลิตลดลงอีกครั้งสู่ ระดับ 45.8 จากเดือนก่อนที่ 47.30 

ญี่ปุ่น ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงสนับสนุนภาพการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง แม้ว่าการใช้ จ่ายภาคครัวเรือนหดตัว1.8% YoY ในเดือนพ.ค.จากเดือนก่อนที่โต 0.5% อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 2/67 ดัชนีความเชื่อมั่นภาค ธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการขนาดใหญ่ (Tankan) ในภาคการผลิตปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 11 สู่ระดับ 13 ส่วนภาคบริการ ลดลงเล็กน้อยจาก 34 สู่ระดับ 33

 อย่างไรก็ตามราคายางยังคงมีปัจจัยสนับสนุนจากปริมาณฝนในเดือนส.ค. โดยประเทศไทยจะมีฝน ตกชุกหนาแน่นเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ทำให้ ลดปริมาณยางที่จะเข้าสู่ตลาดลงได้บ้าง จึงคาดว่าราคายางในเดือนส.ค. 2567 หลังจากที่ราคาปรับตัวลดลงต่อเนื่องในเดือนที่ ผ่านมานั้นคาดว่าจะมีแรงซื้อกลับเข้ามาอีกครั้ง หลังจากที่ราคาปรับฐาน มีการพักตัวในแนวโน้มขาขึ้นเรียบร้อยแล้ว 

 “เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตร กระทรวงเกษตรฯมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต และทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อให้ภาคเกษตรเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง”

โดยได้ดำเนินงาน ในระยะเร่งด่วนคือการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรจากสถานการณ์ภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการเพิ่มพื้นที่ กักเก็บน้ำและอุปกรณ์สำหรับเก็บน้ำ เชื่อมโยงการทำงานทั้งระดับพื้นที่และส่วนกลางเพื่อบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ และมีน้ำเพียงพอสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร

การรับมือกับสถานการณ์โรคใบร่วงยางพารา การยางแห่งประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆเพื่อป้องกันและยับยั้งการเกิดโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา อาทิ การจัดหาสารเคมีที่มี ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดและยับยั้งเชื้อรา ควบคู่ไปกับการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แก่เกษตรกร และส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรด้วยการปรับเปลี่ยนพืชในพื้นที่ที่ระบาดรุนแรง มีการประสานงานกับกรมวิชาการเกษตรในการขยายพันธุ์และขนย้ายกล้ายางที่ปลอดโรค ตลอดจนเร่งการวิจัยเพื่อพัฒนาพันธุ์ยางต้านทานโรค รวมถึงการทดสอบปุ๋ยและชีวภัณฑ์ในสวนยางพารา ที่ประสบปัญหา เพื่อหาวิธีการที่ทำให้ความรุนแรงของโรคดังกล่าวลดลง

ด้านการลดต้นทุนการผลิต ได้มีโครงการปรับปรุงดินและพัฒนาพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ ให้สามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นการช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนในการใส่ปุ๋ยได้ นอกจากนี้ ยังมีโครงการเชื่อมโยงปุ๋ยเคมีราคาถูกให้แก่เกษตรกรผ่านสถาบันเกษตรกร เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรจากการที่เกษตรกรสามารถซื้อปุ๋ยได้ในราคาถูก

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี”    หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

ด้านการปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย โดยเฉพาะสินค้าปศุสัตว์และยางพารามีการจัดตั้งชุดพญานาคราชร่วมปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ ติดตาม และจับกุมผู้กระทำความผิดลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมายเป็นต้น 

จากข้อมูลสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566 พบว่า ประเทศไทยมีเกษตรกรที่เป็นผู้ถือครองทำการเกษตร จำนวน 8.7 ล้านราย ( 37.5% ของครัวเรือนทั้งประเทศ) และมีเนื้อที่ถือครองทำการเกษตรทั้งสิ้น 142.9 ล้านไร่ (44.5% ของเนื้อที่ทั้งประเทศ) ซึ่งมีการทำกิจกรรมการเกษตร ดังนี้ การปลูกข้าว 46.2% ปลูกพืชไร่ 23.4% ปลูกยางพารา 19.0% ปลูกพืชยืนต้น ไม้ผล สวนป่า 8.4% และปลูกพืชผัก สมุนไพร และไม้ดอก ไม้ประดับ 0.5% ชี้ให้เห็นว่าภาคการเกษตรมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศหากภาคเกษตรทำรายได้ที่ดี เท่ากับว่าประชากรหลายล้านคนก็จะอยู่ดีกินดีด้วย