เปิดมุมมอง ‘ศุภวุฒิ สายเชื้อ’ ศึกชิงมหาอำนาจ จีน – สหรัฐฯ สุดท้ายใครชนะ?

เปิดมุมมอง ‘ศุภวุฒิ สายเชื้อ’  ศึกชิงมหาอำนาจ จีน – สหรัฐฯ สุดท้ายใครชนะ?

"ศุภวุฒิ" กางข้อมูลสหรัฐฯ - จีน แข่งขันรุนแรงชิงการเป็นมหาอำนาจ สหรัฐฯยังคงความมั่นคงในการเป็นมหาอำนาจทางการทาง แต่สั้นคลอนเมื่อหนี้สูงและต้องจ่ายดอกเบี้ยหนี้สาธารณะสูงกว่างบกลาฯโหม ขณะที่จีนขยายอำนาจทางเศรษฐกิจมากมีคู่ค้ากว่า 140 ประเทศ แต่ยังมีปัญหาเศรษฐกิจ

KEY

POINTS

  • สหรัฐฯ - จีน ยังคงแข่งขันรุนแรงหลายด้านเพื่อชิงการเป็นมหาอำนาจเบอร์ 1 ของโลก
  • ข้อมูลจากดร.ศุภวุฒิสหรัฐฯยังคงความมั่นคงในการเป็นมหาอำนาจทางการทหาร แต่สั่นคลอนเมื่อหนี้สูงและต้องจ่ายดอกเบี้ยหนี้สาธารณะสูงกว่างบกลาฯโหม  
  • ขณะที่จีนขยายอำนาจทางเศรษฐกิจมากมีคู่ค้ากว่า 140 ประเทศ และมีอิทธิพลจาการขยายลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไปหลายประเทแต่ยังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในมาก
  • ในระยะสั้นยังประเมินได้ยากว่าในการแข่งขันใครจะชนะซึ่งไทยต้องรักษาจุดยืนเป็นกลางไว้ให้ดี

ความขัดแย้งและแข่งขันกันทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ รวมทั้งในด้านการทหาร ระหว่างมหาอำนาจ "สหรัฐฯ" และ "จีน" ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ในการจัดการประชุมประจำปี 2567 ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  เรื่อง “พลิกความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ สร้างโอกาสประเทศไทย" (Geopolitical Uncertainty : Navigating the Future) ซึ่งเพิ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมามีการพูดถึงประเด็นนี้เช่นกัน 

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ "สภาพัฒน์"กล่าวในการเสวนาเรื่องการบริหารจัดการเพื่อรับมือผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์โลกว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นผลพวงมาจากระเบียบโลกที่เปลี่ยนแปลงไปจากช่วงหลังสงครามโลกครั้งนี้ 2 หลังจากที่ก่อนหน้านั้นสหรัฐฯเป็นฝ่ายที่กำหนดระเบียบโลก ซึ่งสหรัฐฯเคยเป็นประเทศที่กำหนดระเบียบโลกทั้งหมดทั้งเรื่องของความมั่นคงและเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันนั้นจีนได้ขยายอำนาจทั้งการค้าและการทหารขึ้นมามากขึ้นจนท้าทายสหรัฐฯ

ปัจจุบันอำนาจทางการทหารของสหรัฐฯยังถือว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลกมีความมั่นคงทางการทหารสูงเห็นได้จากการมีฐานทัพอยู่ใน 56 ประเทศทั่วโลก ขณะที่อำนาจทางเศรษฐกิจนั้นจีนมีการขยายอำนาจทางเศรษฐกิจมากขึ้นมีประเทศคู่ค้า 128 ประเทศ มีการจัดทำเส้นทางสายไหม และลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใน 140 ประเทศ มีการใช้เงินในการลงทุนถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ใน 10 ปีที่ผ่านมา และกำลังผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้เทียบเท่าด้านการทหารและเทคโนโลยีกับสหรัฐ

แม้ว่าการขยายอำนาจทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงที่ผ่านมาทำให้เกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ปัจจุบันจีนอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เทคโนโลยีขั้นสูง ตามเทรนด์ของเทคโนโลยีที่มุ่งไปสู่เทคโนโลยีชั้นสูง

ซึ่งก่อนหน้านี้เทคโนโลยีเหล่านี้มีการเติบโตและพัฒนาอย่างมากในสหรัฐฯ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนนั้น ได้กำหนดเป็นนโยบายว่าในการฟื้นเศรษฐกิจของจีนในระยะข้างหน้าจะมุ่งไปสู่การเป็นเทคโนโลยีไฮเทคเพื่อยกระดับเทคโนโลยีที่จะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและการทหาร ส่วนภาคการผลิตเดิมรวมทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เจอปัญหาการผลิตล้มละลายรัฐบาลจีนไม่ได้อัดฉีดเงินเข้าไปเพื่ออุ้มภาคอสังหาริมทรัพย์เหมือนในอดีต เช่นเดียวกับในส่วนของภาคการผลิตที่เป็นการผลิตดั้งเดิมที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีในการผลิตมากก็ยังคงต้องทำการผลิตแบบล้นเกินจึงมีสินค้าจำนวนมากที่กระจายออกมาทุ่มตลาดในประเทศต่างๆทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย

เปิดมุมมอง ‘ศุภวุฒิ สายเชื้อ’  ศึกชิงมหาอำนาจ จีน – สหรัฐฯ สุดท้ายใครชนะ?

“บริษัทในจีนมีการผลิตสินค้าส่วนเกินจำนวนมาก และมีการแข่งขันที่รุนแรงมาก ทำให้สินค้าจำนวนมากต้องหนีการแข่งขันที่รุนแรงในประเทศออกมานอกประเทศ ซึ่งหมายความว่าจีนกำลังส่งออกภาวะเงินฝืดออกมาข้างนอกและภาวะแบบนี้น่าจะเกิดขึ้นไปอีกนาน ซึ่งจีนก็รู้ปัญหานี้ทำให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะนำปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งเทคโนโลยีทางการทหารให้ขึ้นมาอยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับสหรัฐฯ”

อำนาจสหรัฐฯสั่นคลอนเมื่อหนี้สูงเกินไป

ในขณะที่การเป็นมหาอำนาจของสหรัฐฯประเด็นที่กำลังสั่นคลอนการเป็นมหาอำนาจของสหรัฐฯอย่างมากก็คือภาวะหนี้ที่สูงขึ้นซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานที่หนี้สาธารณะสูงมากซึ่งหนี้สาธารณะขึ้นไป 100% ของจีดีพีแล้ว และขาดดุลงบประมาณต่อจีดีพีขึ้นไปประมาณ 6% ของจีดีพีและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งแนวโน้มที่จะเกิขึ้นก็คือหนี้สาธารณะจะขึ้นไปเรื่อยๆจาก 20 ล้านล้าน จนถึงประมาณ 50 ล้านล้าน จากข้อมูลของสำนักงบประมาณสหรัฐฯ ซึ่งข้อมูลแบบนี้บอกว่าในระยะยาวดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯจะอยู่ที่ 3 – 4% กลัวว่าจะอยู่ที่ 5% ไม่ได้แม้ว่าดอกเบี้ยระยะสั้นปรับลดลง ซึ่งในที่สุดก็จะกระทบกับเศรษฐกิจของหลายประเทศ เพราะทั้งโลกอิงดอกเบี้ยสหรัฐฯไม่มากก็น้อย

สหรัฐฯจ่ายดอกเบี้ยหนี้สูงกว่างบฯกลาโหม

นอกจากนั้นประเด็นที่ 2 ที่น่าสนใจคือนักประวัติศาสตร์คนหนึ่งที่ชื่อนีลล์ เฟอร์กูสัน ได้ยกตัวอย่างว่าในอดีตมหาอำนาจเริ่มตกต่ำมาจากจุดที่ประเทศมหาอำนาจใช้งบประมาณมากเกินไปจนมีภาระหนี้สาธารณะสูงมาก ซึ่งการใช้งบประมาณสูงเกินไปก็มาจากการจัดสรรทรัพยากรไปใช้ในเรื่องต่างๆเช่นกำลังทหาร ซึ่งการมีหนี้ที่สูงแล้วต้องจ่ายดอกเบี้ยหนี้สาธารณะมากจนคิดเป็นสัดส่วนของการจ่ายดอกเบี้ยที่สูงกว่างบประมาณด้านกลาโหม ซึ่งสหรัฐฯก็มาถึงจุดนั้นพอดีเลยปีนี้  ในปัจจุบันอเมริกาเองก็มีปัญหา เพราะจุดนี้จะเริ่มเห็นว่าระยะต่อไปอเมริกาอาจจะไม่สามารถใช้งบประมาณไปสำหรับระบบที่มีทหารอยู่ในหลายๆประเทศ ไม่สามารถทำได้ต่อเนื่องเพราะขาดดุลงบประมาณ และมีหนี้สาธารณะสูง

ดร.ศุภวุฒิ สรุปว่าจะเห็นได้ว่าทั้งจีนและสหรัฐฯมีจุดอ่อนและจุดแข็งที่ประเมินได้ยากมากว่าที่สุดแล้วระหว่างมหาอำนาจระหว่างจีนและสหรัฐฯใครจะเป็นผู้ชนะ เพราะจีนเองก็มีปัญหาทางภาคธุรกิจ  และประชาชนแก่ตัวลงไปรวดเร็ว ขณะที่สหรัฐฯก็เป็นมหาอำนาจที่ใช้จ่ายเกินตัว แม้ว่าเทคโนโลยี และตลาดหุ้นจะดีมาก

“ซึ่งการประเมินสำคัญเพราะเราเองก็อยากอยู่กับผู้ชนะแต่ตอนนี้ต้องยอมรับว่าเราประเมินไม่ได้ชัดเจน ประเทศไทยเองต้องประเมินให้ดี ซึ่งต้องยอมรับว่าเราต้องเหยียบเรือ 2 แคมจริงๆ เราจะทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์ที่สุดไม่ว่าผลในการแข่งขันจะออกมาเป็นอย่างไร” นายศุภวุฒิ กล่าว