'ปตท.' มองตลาดอาเซียนโต ลุยใช้เทคโนโลยี 'CCS-ไฮโดรเจน' ดันธุรกิจโตยั่งยืน 

'ปตท.' มองตลาดอาเซียนโต ลุยใช้เทคโนโลยี 'CCS-ไฮโดรเจน' ดันธุรกิจโตยั่งยืน 

"ปตท." ชี้ ตลาดอาเซียนเป็นเศรษฐกิจสำคัญ เร่งใช้เทคโนโลยี CCS กักเก็บคาร์บอน และเชื้อเพลิงไฮโดรเจน หนุน ESG ย้ำ การดำเนินธุรกิจต้องสร้างความสมดุล เพื่อการเติบโตระดับโลกอย่างยั่งยืน 

นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในหัวข้อ ASEAN Energy ransition Towards Sustainability ในงาน “ASEAN Economic Outlook 2025: The Rise of ASEAN, A Renewing Opportunity” จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ วันนี้ (7 ต.ค.) ว่า การเปลี่ยนผ่านพลังงานให้ไปสู่พลังงานที่สะอาดมากขึ้น จะเชื่อมโยงกับความยั่งยื่นอย่างไรให้บาลานซ์สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบว่าอาเซียนมีจำนวนประชากรมากเกือบ 700 ล้านคน ถือเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ มีวัยทำงานมากขึ้น GDP สูงถึง 6% ของโลก มีการดึงดูดการลงทุนที่ดี ผ่านกรรขับเคลื่อนในหลายเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของพลังงานที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าโลกต้องไปสู่พลังงานสะอาดที่การเปลี่ยนแปลงต้องราบรื่นด้วย

\'ปตท.\' มองตลาดอาเซียนโต ลุยใช้เทคโนโลยี \'CCS-ไฮโดรเจน\' ดันธุรกิจโตยั่งยืน 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนยังมีข้อจำกัด ทั้ง ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน หรือถ่านหิน โดยถ่านหินและน้ำมันเริ่มมีการใช้ลดลงเพราะมีการปล่อยคาร์บอนสูงกว่าก๊าซธรรมชาติ ดังนั้น ก๊าซฯ จึงยังคงเป็นพลังงานที่สำคัญและยังต้องใช้ต่อเนื่อง อีกทั้ง ในบริบทสำคัญของอาเซียน ก๊าซฯ ถือเป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่สำคัญ ทั้งไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเมียนมา 

นายคงกระพัน กล่าวว่า พลังงานหมุนเวียนในอนาคตที่จะมีมากขึ้น ทั้ง โซลาร์ ลม และน้ำ จะต้องใช้เวลา โดยในเซาท์อิสเอเชียยังต้องพึ่งพาก๊าซฯ ซึ่งในเอเชียแปซิฟิกยังต้องมีการนำเข้าก๊าซฯ โดยประเทศไทยพึ่งพาจากในอ่าวไทย 50% และนำเข้าเฉลี่ยอีก 50% 

"รัฐบาลได้พยายามผลักดันเจรจาการนำทรัพยากรจากพื้นที่ OCA (Overlapping Claims Area) หรือ พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เจรจาและใช้มาแล้วกับมาเลเซีย เพราะแม้จะตกลงกันเรื่องเขตแดนไม่ได้ก็ใช้การร่วมใช้ทรัพยากรที่มีค่า มาสร้างพัฒนาเศรษฐกิจความเจริญประเทศได้"

ทั้งนี้ จากการนำก๊าซฯ มาผลิตไฟฟ้าก็ต้องยอมรับว่ามีการปล่อนยก๊าซเรือนกระจกสูงอยู่ จึงต้องทำเรื่องลดการปลดปล่อยคาร์บอนด้วย โดยกลุ่มปตท. จะดำเนินควบคู่ 2 วิธี คือ การพัฒนาโครงการ CCS และการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในส่วนผสมในกลุ่มอุตสาหกรรมตามแผน PDP ประเทศที่สัดส่วน 5% รวมถึงการปลูกป่า เป็นต้น

\'ปตท.\' มองตลาดอาเซียนโต ลุยใช้เทคโนโลยี \'CCS-ไฮโดรเจน\' ดันธุรกิจโตยั่งยืน 
    
"CCS เป็นการเอาก๊าซฯ ในอากาศมาเก็บไว้ใต้ดินหรือใต้ทะเล เพื่อลดโลกร้อน ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ ทั้ง อเมาริกา ยุโรป และเอเชียทำมานานแล้ว ดังนั้น ไทยจะมุ่งไปสู่เป้าหมาย Net Zero ก็ต้องมีการนำเทคโนโลยี CCS มาช่วย"

\'ปตท.\' มองตลาดอาเซียนโต ลุยใช้เทคโนโลยี \'CCS-ไฮโดรเจน\' ดันธุรกิจโตยั่งยืน 

นายคงกระพัน กล่าวว่า ปตท.ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติมีหน้าที่สำคัญ คือ สร้างความมั่นคงทางพลังงาน และเป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประเทศจะขับเคลื่อนได้ต้องมีความมั่นคง โดยไทยนำเข้าน้ำมันกว่า 90% และด้วยปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ฯลฯ ปตท. จึงมีวิชั่น "แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน" โดยจะต้องมีกำไรมาช่วยประเทศไทยสร้างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

ทั้งนี้ จากการเติบโตของ ปตท. ต้องสร้างความมั่นคงพลังงาน สร้างการเติบโต ควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก โดยตั้งเป้าหมาย Net Zero ปี 2050 จะใช้ C3 คือ 1. Climate Resilience Business โดยปรับ Portfolio ลดการปล่อยคาร์บอน 2. Carbon-Conscious Asset อาทิ การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ใช้พลังงานสะอาด อาทิ Hydrogen และ 3. Coalition, Co-Creation, and Collective Efforts for All โดยประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพิ่มการดูดซับคาร์บอนโดยการปลูกป่า เป็นต้น