'บีไอจี' ชู 3 ปัจจัย ดันต้นทุนพลังงาน ต่างชาติทุ่มงบชิงผู้นำตลาดส่งออก
"บีไอจี" ชง 3 ปัจจัย "ภูมิรัฐศาสตร์ - เทคโนโลยี - การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ต้นเหตุต้นทุนพลังงาน ผู้นำ "คลีนเอนเนอร์จี" ทุ่มงบมุ่งสู่พลังงานแห่งอนาคต
นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บีไอจี กล่าวในหัวข้อ Energy Transition Towards A New Green Economic ในงาน ASEAN Economic Outlook 2025: The Rise of ASEAN, A Renewing Opportunity” จัดโดย "กรุงเทพธุรกิจ" วันนี้ (7 ต.ค.67) ว่า ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจในโลกถือว่ายากลำบากมาก ทั้งการแข่งขันที่รุนแรง ต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ ปัจจัยความไม่แน่นอนล้วนส่งผลกระทบโดยมีต้นเหตุ 3 ความท้าทายหลัก คือ 1. ภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งจะเห็นความขัดแย้ง เกิดขึ้นจากการกีดกันทางการค้า 2. เทคโนโลยี โดยเฉพาะ AI โดยหากบริษัทไหนเข้าถึงเทคโนโลยีได้ก่อน ก็จะเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันได้ก่อน และ 3. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดทั้งโลก
"วันนี้การดำเนินธุรกิจที่ยากลำบากเป็นเพราะ 3 ความท้าทาย ที่มีปัจจัยร่วมมาจากเรื่องของพลังงาน ซึ่งวันนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้น โดยมาจากความต้องการแย่งพลังงานในโลกยุคใหม่ และยุคเก่า การมาของเทคโนโลยี AI เพื่อเข้ามาช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งวันนี้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่อากาศ 70% ล้วนมาจากภาคพลังงาน"
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตพลังงานจะเปลี่ยนแบบไหนนั้น ใน 3-5 ปีต่อจากนี้ จะเปลี่ยนเป็นอย่างไร ซึ่งเวทีผู้นำระดับโลก ทั้ง NGO ผู้บริหารที่สำคัญ ต่างตกผนึกร่วมกันว่าโจทย์ท้าทายสำคัญ อาทิ การจะผลิตพลังงานมากขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยี AI เพราะใช้พลังงานมาก แต่จะทำอย่างไรให้ปล่อนก๊าซเรือนกระจกน้อยลงด้วย
"สิ่งที่คาดการณ์ และเห็นได่ชัดคือ เทรนด์ของเทคโนโลยีที่จะมีส่วนร่วมมากขึ้น เพราะการผลิตสินค้าที่ไม่ลดคาร์บอนจะถูกลดมูลค่าสินค้าลงด้วย"
ทั้งนี้ การจะก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจโลว์คาร์บอน เรื่องที่จะตามมาคือ การเกิดเอนเนอร์จี มิกซ์ โดยนำเชื้อเพลิงสะอาดอย่างไฮโดรเจนเข้ามามีบทบาทในกระบวนการผลิตมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปลดปล่อนคาร์บอนสูง และสุดท้ายจะเห็นความร่วมมือมากขึ้นเพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิด โลว์คาร์บอนอีโคโนมี โดยมีการลงทุนมหาศาล
นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่ส่งออกคลีนเอนเนอร์จี จะพยายามลงทุนด้านพลังงานสะอาด อาทิ การลงทุนเทคโนโลยี CCS โดยยุโรปได้พยายามเปลี่ยนตัวเอง และใช้เทคโนโลยีนิวเอนเนอร์จี ส่วนสหรัฐได้ออกกฎหมายที่เหมือนจะแก้ปัญหาเงินเฟ้อ แต่ต้องการทำให้เปลี่ยนผ่านพลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีการกำหนด 7 พื้นที่ อันเงินลงทุนกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ จากเม็ดเงินรวม 4 หมื่นล้านดอลลาร์ ในเชื่อเพลิงไฮโดรเจน เพื่อการส่งออกพลังงานแห่งอนาคต ใน 400 กว่าโครงการ
ทั้งนี้ ไฮโดรเจนจะมาช่วยลดการปล่อนก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเซกเตอร์การผลิตไฟฟ้า การขนส่ง ต้องใช้พลังงานสูง ดังนั้น หากใช้ไฮโดรเจนมาช่วยจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้สูงถึง 30% ดังนั้น บีไอจี ถือเป็นบริษัทที่ผลิตไฮโดรเจน ซึ่ง Air Products บริษัทแม่ของบีไอจีในสหรัฐมีการลงทุนกว่า 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ใน 3 เมกะโปรเจกต์ ใน 3 ภูมิภาค ตั้งโรงงานผลิตก๊าซไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำสู่การเป็นผู้นำตลาดไฮโดรเจนเพื่อการขับเคลื่อน (Hydrogen for Mobility) และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน
"การลงทุน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ใน 3 ภูมิภาค มีทั้งบลู ไฮโดรเจนคอมเพล็กซ์ รวมถึงคลังกรีนไฮโดรเจน ซึ่งทั้งโลกนำมาในไทยด้วย เรามีเทคโนโลยีครอบคลุมเรียกว่า Climate Tech แพลตฟอร์มช่วยบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ทั้งหมดจะเป็น solution คาร์บอไนเซชันไปสู่ Net zero ดังนั้น หากจะดีคาร์บอไนเซชันต้องถามตัวเองก่อนว่าจะเริ่มจากส่วนไหน จึงต้องทำแผนให้ชัดเจน"
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์