สศก. สำรวจข้อมูล 10 พืชภาคเหนือ ส่อผลผลิตลด จากฝนทิ้งช่วง
แม้ปีนี้ไทยจะเข้าสู่ภาวะเอลนีโญ แต่ฝนที่มาล่าช้าทำให้พืชในภาคเหนือเจริญเติบโต ติดดอกออกผลได้ไม่มีนักทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2(สศท.2) สำรวจข้อมูลข้อมูลเอกภาพพืชเศรษฐกิจสำคัญ ภาคเหนือ 17 จังหวัดเพื่อวางแผนรองรับความ เสี่ยงโดยรวม
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2)สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืชภาคเหนือ ครั้งที่ 1/2567 เพื่อพิจารณาและรับรองข้อมูลสินค้าด้านพืช ภาคเหนือ รวม 17 จังหวัด ได้แก่
ข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2566/67 สับปะรดปัตตาเวีย ปี 2566 ยางพารา ปี 2566 ปาล์มน้ำมัน ปี 2566 มะพร้าวผลแก่ ปี 2566 กาแฟ ปี 2567 หอมหัวใหญ่ ปีเพาะปลูก 2566/67มันฝรั่ง ปีเพาะปลูก 2566/67 กระเทียม ปีเพาะปลูก 2566/67 และหอมแดง ปีเพาะปลูก 2566/67ทั้งนี้ ข้อมูลการเกษตรด้านพืชในระดับอำเภอ จังหวัด และภาค ที่มีความเป็นเอกภาพทั้งข้อมูลเนื้อที่เพาะปลูกเนื้อที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ของพืชทั้ง 10 ชนิดสินค้า มีดังนี้
ภาพรวมทั้ง 17 จังหวัดภาคเหนือ พบว่า ข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2566/67มีเนื้อที่เพาะปลูกรวม 14,678,646 ไร่ ลดลงร้อยละ 0.37 เนื่องจากฝนมาล่าช้า และปริมาณน้ำไม่เพียงพอ เกษตรกรบางส่วนปรับลดพื้นที่ปลูกและปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย597กิโลกรัม ลดลงร้อยละ0.87เนื่องจากฝนทิ้งช่วงทำให้การเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
สับปะรดปัตตาเวีย ปี 2566 มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 87,590 ไร่ ลดลงร้อยละ 13.28 เนื่องจากราคาปรับตัวลดลง ไม่จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก ประกอบบางส่วนมีการรื้อแปลงสับปะรดไปปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น/พืชไร่ ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 2,977 กิโลกรัม ลดลงร้อยละ 7.89 เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ผลผลิตไม่ได้ขนาดและคุณภาพ
ยางพารา ปี 2566 มีเนื้อที่ยืนต้นรวม1,556,312ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.28 เนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ดีและให้ผลตอบแทนระยะยาว บางพื้นที่จึงปลูกเพิ่มแทนพืชไร่ ไม้ผลและไม้ยืนต้นส่วนเนื้อที่กรีดรวม 1,416,387ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.83 ตามพื้นที่ปลูกใหม่ช่วงปี 2560 - 2561 ที่เริ่มเปิดกรีดได้เป็นปีแรก และผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 199 กิโลกรัม ลดลงร้อยละ 2.05 เนื่องจากเกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ประกอบกับขาดแคลนแรงงาน
ปาล์มน้ำมัน ปี 2567 มีเนื้อที่ยืนต้นรวม91,487ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ1.42เนื่องจากเกษตรกรบางรายขยายพื้นที่ปลูกแทนพืชไร่จากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนเนื้อที่ให้ผล 85,513ไร่ ลดลงร้อยละ0.11เนื่องจากมีการตัดโค่นต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุมากและผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 1,249 กิโลกรัม ลดลงร้อยละ 5.02 เนื่องจากกระทบแล้ง ปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอ ส่งผลให้น้ำหนัก และขนาดของทะลายปาล์มลดลง
มะพร้าวผลแก่ ปี 2567 มีเนื้อที่ยืนต้นรวม 2,377 ไร่ ลดลงร้อยละ 3.14 เนื่องจากเกษตรกรโค่นต้นมะพร้าวที่อายุมาก และเก็บเกี่ยวผลผลิตยาก บางพื้นที่เป็นการปลูกแซมในพื้นที่นา/พืชไร่ เกษตรกรไม่ได้ดูแลรักษา เนื้อที่ให้ผล 1,990 ไร่ ลดลงร้อยละ 7.40 ตามการลดลงของเนื้อที่ยืนต้นและผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 318,460 กิโลกรัม ลดลงร้อยละ 3.42 จากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง และการดูแลรักษาไม่เต็มที่
และกาแฟ ปี 2567 มีเนื้อที่ยืนต้นรวม137,628ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.63 เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐมีการส่งเสริมการปลูกกาแฟทดแทนพืชไร่ แซมในสวนไม้ผล และพื้นที่ป่า ส่วนเนื้อที่ให้ผล 126,326 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.28 เนื่องจากต้นกาแฟที่ปลูกในปี 2563 เริ่มให้ผลเป็นปีแรก และผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 90 กิโลกรัม/ไร่ ลดลงร้อยละ 16.88 จากกระทบแล้ง ปริมาณฝนน้อย และแมลงศัตรูพืชรบกวน ส่งผลให้กาแฟติดผลน้อยลง
ด้านสินค้าพืชผักพบว่าหอมหัวใหญ่ ปีเพาะปลูก 2566/67 มีเนื้อที่เพาะปลูกรวม7,688ไร่ ลดลงร้อยละ 1.73 เนื่องจากเกษตรกรขาดความชำนาญในการปลูกและดูแลรักษา จึงเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น (กระเทียม) และบางส่วนไม่สามารถปลูกได้ เนื่องจากฝนมาล่าช้า และภาวะภัยแล้ง ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 3,875กิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.70 จากสภาพอากาศหนาวเย็น เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต ประกอบกับราคาอยู่ในเกณฑ์ดีเกษตรกรจึงดูแลรักษามากขึ้น
มันฝรั่ง ปีเพาะปลูก 2566/67 มีเนื้อที่เพาะปลูกรวม 39,225 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.67 จากบริษัทเอกชนส่งเสริมเพิ่มโควตาผลิต ส่วนเนื้อที่เก็บเกี่ยว 38,986 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.56 ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 2,906กิโลกรัม ลดลงร้อยละ 1.72จากประสบปัญหาโรคเรดไบท์หรือโรคใบไหม้ ส่งผลให้ต้นมันฝรั่งเจริญเติบโตไม่ดี หัวมีขนาดเล็ก และเน่าเสียหาย อีกทั้งปุ๋ยยาที่มีราคาสูงทำให้การดูแลรักษาลดลง
กระเทียม ปีเพาะปลูก 2566/67 มีเนื้อที่เพาะปลูกรวม 50,822 ไร่ ลดลงร้อยละ 3.80 เนื่องจากขาดแคลนหัวพันธุ์ อีกทั้งต้นทุนการผลิตสูง เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชผัก) ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 1,032 กิโลกรัม ลดลงร้อยละ 5.75 จากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ ทำให้หัวมีขนาดเล็ก
และหอมแดง ปีเพาะปลูก 2566/67 มีเนื้อที่เพาะปลูกรวม 27,545 ไร่ ลดลงร้อยละ 4.12 เนื่องจากขาดแคลนหัวพันธุ์ ส่วนใหญ่ปลูกไว้เพื่อบริโภคประกอบกับเกษตรกรคาดว่าปริมาณน้ำไม่เพียงพอ จึงหันไปปลูกพืชผักแทน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 1,981 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.20 เนื่องจากไม่มีโรคและแมลงรบกวน ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต
ทั้งนี้ สำหรับรายละเอียดข้อมูลสินค้าด้านพืชทั้ง 10 ชนิด จำแนกในระดับอำเภอ และจังหวัด หากท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ ส่วนสารสนเทศการเกษตร สศท.2โทร.05 532 2658ต่อ 205 หรืออีเมล[email protected]หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดทั้ง17จังหวัดภาคเหนือ