สสว. เผยยอดส่งเสริม SME ในพื้นที่ EEC เพิ่มมูลค่าธุรกิจกว่า 126 ล้านบาท

สสว. เผยยอดส่งเสริม SME ในพื้นที่ EEC เพิ่มมูลค่าธุรกิจกว่า 126 ล้านบาท

สสว. ประกาศความสำเร็จ กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการในพื้นที่ EEC และพื้นที่ต่อเนื่อง ปี 67 ยกระดับนวัตกรรม เพิ่มโอกาสการค้าให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ 3 จังหวัดใน EEC มีเอสเอ็มอีประสบความสำเร็จกว่า 150 ราย สร้างมูลค่า 126 ล้านบาท

นางสาวปณิตา ชินวัตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว.ได้จัดให้มี กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่ EEC (Eastern Economic Corridor) และพื้นที่ต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2567 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี เป็นการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถ

สสว. เผยยอดส่งเสริม SME ในพื้นที่ EEC เพิ่มมูลค่าธุรกิจกว่า 126 ล้านบาท

เพื่อยกระดับนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เกิดการลงทุนหรือสามารถก่อตั้งธุรกิจได้ พร้อมช่วยเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่ยกระดับนวัตกรรมในธุรกิจได้ และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศให้กับผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ โดยมีการจัดกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ ที่เข้าร่วมโครงการมาตั้งแต่เดือนกันยายน จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2567 โดยมุ่งเน้นผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแล้วไม่เกิน 3 ปี มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ข้างต้น ที่มีการดำเนินกิจการ ได้แก่

1.อุตสาหกรรมที่ต่อยอดอัตลักษณ์เชิงพื้นที่สร้าง Value creation 2. อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยี/แปรรูปอาหาร และ 3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ต่างได้รับประโยชน์หลายมิติ ทั้งความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้ประกอบการใหม่ เพื่อเปิดประตูสู่ธุรกิจและนวัตกรรม ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเชิงลึกเพิ่มคุณค่าผ่านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการตลาดในประเทศ มีโอกาสนำสินค้าเข้าร่วมในงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน จากสถาบันการเงินของภาครัฐ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างกลุ่มธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ” 

สำหรับกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการตลอดโครงการ ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง เดือนธันวาคม 2567 ประกอบไปด้วย

กิจกรรมที่ 1 :  ฝึกอบรมหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ Entrepreneurship เปิดประตูสู่ความ เป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรม (เดือนกันยายน 2567)

กิจกรรมที่ 2 : กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจเชิงลึกโดยรับการพัฒนารายละ 6 ครั้ง (เดือนกันยายน – ตุลาคม 2567)

กิจกรรมที่ 3  : สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดในประเทศและต่างประเทศ

กิจกรรมที่ 3.1 : สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดต่างประเทศ 24 ราย (เดือนพฤศจิกายน 2567)

กิจกรรมที่ 3.2 : สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดในประเทศ 20 ราย (เดือนธันวาคม 2567) 

และกิจกรรมที่ 4 : เชื่อมโยงแหล่งเงินทุน SME D Bank และสถาบันการเงินอื่นๆ 31 ราย (เดือนพฤศจิกายน 2567)

สสว. เผยยอดส่งเสริม SME ในพื้นที่ EEC เพิ่มมูลค่าธุรกิจกว่า 126 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม สสว. ได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่ EEC และพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งบรรลุตัวชี้วัดผลผลิต คือ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ รับสมัคร และคัดเลือกผู้ที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการ หรือเอสเอ็มอีรายใหม่ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย รับการพัฒนายกระดับศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ด้วยการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลิตภาพ หรือนวัตกรรมใหม่ หรืองานวิจัยต่างๆ รวมทั้งสิ้น 150 ราย

สสว. เผยยอดส่งเสริม SME ในพื้นที่ EEC เพิ่มมูลค่าธุรกิจกว่า 126 ล้านบาท

ประกอบด้วยผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 27 ราย ชลบุรี 48 ราย ระยอง 42 ราย และจันทบุรี 33 ราย โดยภายหลังจากรับการพัฒนา คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้/การลดต้นทุน/การขยายการลงทุน/การจ้างงาน/มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ฯลฯ มากกว่า 28 ล้านบาท นอกจากจะได้รับการยกศักยภาพทางธุรกิจแล้ว โครงการฯ ยังได้ดำเนินการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและพร้อมต่อยอดการลงทุนในธุรกิจจำนวน 31 ราย ซึ่งมีแผนการลงทุนกว่า 64 ล้านบาท โดยปีหน้าตั้งเป้าขยายโครงการฯ ไปยังประเทศอื่นๆ จะสร้างมูลค่าทางธุรกิจ 500 ล้านบาท

สสว. เผยยอดส่งเสริม SME ในพื้นที่ EEC เพิ่มมูลค่าธุรกิจกว่า 126 ล้านบาท

“เรายังสนับสนุนและส่งเสริมด้านตลาดเชิงรุกในต่างประเทศให้ผู้ประกอบการ จำนวน 20 ราย เข้าร่วมการนำเสนอสินค้าในงาน Taiwan Int’l Food Industry ณ ประเทศไต้หวัน เมื่อวันที่ 15-18 พ.ย. 2567 ซึ่งสามารถสร้างยอดขายและการเจรจาธุรกิจ มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท และยังได้ส่งเสริมการเชื่อมโยงภาคการท่องเที่ยวให้กับผู้ประกอบการจำนวน 4 ราย ผ่านการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) กับผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวของไต้หวัน โดยสามารถสร้างยอดขายจากการจับคู่ค้าทางธุรกิจได้ กว่า 3 ล้านบาท

และกิจกรรมสุดท้ายภายใต้โครงการเป็นการดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมด้านตลาดเชิงรุกในประเทศ ในงาน “SME SOFT POWER Marketplace” ณ ลาน Avenue A ชั้น G ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 10-12 ธ.ค. 2567 โดยได้คัดเลือกผู้ประกอบการ จำนวน 20 ราย เข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าว โดยคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายรวมได้กว่า 1 ล้านบาท