รู้จักภาวะ ‘ตำแหน่งงานเฟ้อ’ ในองค์กร ‘โรเบิร์ต วอลเทอร์ส’ ชี้ข้อดี – ข้อเสีย

รู้จักภาวะ ‘ตำแหน่งงานเฟ้อ’ ในองค์กร  ‘โรเบิร์ต วอลเทอร์ส’ ชี้ข้อดี – ข้อเสีย

“โรเบิร์ต วอลเทอร์ส” เปิดข้อมูลผลสำรวจตำแหน่งงานเฟ้อในองค์กร พบบางแห่งตั้งตำแหน่งงานสูงล่อใจผู้สมัครงานแต่ไม่สอดคล้อง ความรับผิดชอบ ระดับอาวุโส และเงินเดือนที่แท้จริง ชี้มีผลดีในการดึงผู้สมัคร แต่ส่งผลเสียด้านความคาดหวังของคนที่ได้ตำแหน่งงานที่เฟ้อ

KEY

POINTS

  • “โรเบิร์ต วอลเทอร์ส” เปิดข้อมูลผลสำรวจตำแหน่งงานเฟ้อในองค์กร
  • พบบางแห่งตั้งตำแหน่งงานสูงล่อใจผู้สมัครงานแต่ไม่สอดคล้อง ความรับผิดชอบ ระดับอาวุโส และเงินเดือนที่แท้จริง
  • ชี้มีผลดีในการดึงผู้สมัคร แต่ส่งผลเสียด้านความคาดหวังของคนที่ได้ตำแหน่งงานที่เฟ้อ
  • อาจมีข้อจำกัดในการเลื่อนขั้นเป็นผู้บริหารที่สูงขึ้นไปจนถึงในระดับ C- Level เนื่องจากขาดทักษะในการบริหารคน งบประมาณ แนะคุยกับพนักงานให้เข้าจถึงทิศทางการทำงาน  

ปัจจุบันสถานการณ์การแข่งขันในตลาดแรงงานมีสูงมากขึ้นทั้งในส่วนขององค์กรที่ต้องการดึงคนทำงาน และผู้สมัครงานที่ต้องการทำงานสำคัญๆในองค์กร

ปรากฎการณ์ในการที่เกิดขึ้นจึงมีภาวะที่เรียกว่า “ภาวะตำแหน่งงานเฟ้อ” หรือ ตำแหน่งงานที่เกินจริง ซึ่งหมายถึงการที่บริษัทเสนอชื่อตำแหน่งที่ใหญ่หรือเกินความจริง ซึ่งอาจได้สะท้อนท้อนถึงความรับผิดชอบ ระดับอาวุโส หรือแม้แต่เงินเดือนของตำแหน่งนั้นอย่างถูกต้อง

นางปุณยนุช ศิริสวัสดิ์วัฒนา ผู้จัดการโรเบิร์ต วอลเทอร์ส ประจำประเทศไทย กล่าวว่าจากการสำรวจของโรเบิร์ต วอลเทอร์ส ทั่วโลกพบว่าภาวะตำแหน่งงานเฟ้อถูกพบมากขึ้นในปีที่ผ่านมาทั้งในยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย โดยจากแบบสอบถามที่มีการสอบถามไปยังลูกค้าที่เป็นผู้ต้องการ “แคนดิเดต” ผู้สมัครงาน และในส่วนของผู้สมัครงานในองค์กรต่างๆมีการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับเรื่องตำแหน่งงานเฟ้อในองค์กร

โดยในส่วนของลูกค้ากว่า 55% ตอบว่าในองค์กรมีการตั้งตำแหน่งงานที่ตำแหน่งนั้นสูงกว่าหน้าที่ และความรับผิดชอบที่แท้จริง ขณะเดียวกันในส่วนของผู้สมัครกว่า 49% ก็ตอบคำถามว่าให้ความสำคัญกับชื่อตำแหน่งงาน (Title) มากขึ้นกว่าที่ผ่านมาหากตำแหน่งน่าสนใจก็เป็นจุดที่น่าสนใจที่จะเข้าไปสมัครงานในองค์กรต่างๆเช่นกัน

ทั้งนี้ตัวอย่างของการตั้งตำแหน่งงานเฟ้อเกินความเป็นจริงเช่น การตั้งให้เป็นผู้จัดการ (Manager) แต่เป็นตำแหน่งผู้จัดการที่ไม่ได้มีลูกน้อง ซึ่งในส่วนนี้เท่ากับว่าไม่ได้ใช้ทักษะในการบริหารงานบุคคล  ไม่ได้บริหารทีมงาน ซึ่งในส่วนนี้ก็อาจจะทำให้พนักงานที่เข้ามาทำงานในตำแหน่งนี้ขาดการพัฒนาทักษะที่จำเป็นที่จะขึ้นไปเป็นผู้บริหารในระดับที่สูงขึ้นหรือเป็น"C-Level" ได้

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าแม้ว่าการตั้งตำแหน่งงานที่เฟ้อเกินไปนั้นแม้จะมีข้อดีเพราะสามารถดึงดูดผู้ที่สนใจตำแหน่งงานมาสมัครงานในองค์กรได้มากขึ้น แต่ผลเสียอาจจะเกิดขึ้นกับองค์กรและผู้สมัครงานได้ เพราะว่าในส่วนขององค์กรนั้นจะเผชิญกับความคาดหวังของพนักงานที่เข้ามาทำงานในองค์กรว่าเมื่อเข้ามาในตำแหน่งที่เป็นผู้บริหารระดับกลางก็อาจจะมีความคาดหวังว่าจะสามารถเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปให้ได้

โดยในการสำรวจพบว่าแคนดิเดตกว่า 80% ตอบคำถามว่ามีความคาดหวังในการเลื่อนตำแหน่งในระยะเวลา 18 เดือน แต่ปัญหาของตำแหน่งงานเฟ้ออาจจะทำให้พนักงานไม่สามารถเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปได้เนื่องจากขาดทักษะความสามารถในการบริหารงานในบางเรื่อง เช่น การบริหารคน บริหารงบประมาณ ตำแหน่งงานเฟ้อจึงกระทบกับเส้นทางอาชีพ (career path) ของพนักงานในส่วนนี้ได้

เพราะนอกจากอาจไม่สามารถเลื่อนตำแหน่งในองค์กรปัจจุบันได้เท่านั้น แต่หากจะย้ายไปในองค์กรอื่นๆแล้วต้องการจะเลื่อนตำแหน่งหรือทำงานในตำแหน่งเดิม ก็อาจจะไม่สามารถที่ทำได้เนื่องจากขาดทักษะในการเป็นผู้จัดการ หรือในระดับที่สูงขึ้นไป (C-Level) ได้

โดยจากผลการสำรวจพบว่าองค์กร 55% ระบุว่ามีการใช้การตั้งตำแหน่งงาน (Job Title)เพื่อดึงดูดการสมัครงานของแคนดิเดตที่จะมาสมัครงาน ขณะที่อีก 45% ไม่ได้ทำในเรื่องนี้ แต่วางการเลื่อนตำแหน่งงานไว้ตามความสามารถในการทำงานและการบริหารงานที่แท้จริง

สำหรับคำแนะนำก็คือองค์กรที่มีการใช้ภาวะงานเฟ้อในการดึงดูดคนเข้ามาทำงานนั้นจะต้องทำความเข้าใจกับพนักงานที่เข้ามาทำงานไว้ด้วยว่าแนวทางการทำงาน และเส้นทางการเติบโตในสายงาน สายอาชีพนั้นเป็นอย่างไร เพราะยังมีพนักงานอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของตำแหน่งงานไปมากกว่าการให้ความสำคัญในการสร้างทักษะในการทำงาน เรียนรู้จากการทำงาน และทำงานที่ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าให้กับทั้งองค์กร และสังคม ซึ่งกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับการทำงานจริงๆให้เกิดความเข้าใจและเชี่ยวชาญในการทำงานมากกว่า

“ภาวะงานเฟ้อมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในแง่ขององค์กรอาจสามารถดึงให้ผู้ที่จะสมัครงานสนใจตำแหน่งงานได้มากขึ้น และในส่วนของเด็กรุ่นใหม่ก็อาจบอกว่างานบางส่วนนั้นสามารถใช้ AI มาช่วยทำงานได้ ซึ่งหากตั้งตำแหน่งงานเป็นแบบ operation มากเกินไปเช่นเป็น Administration หรือตำแหน่งแบบดั้งเดิมอาจไม่ดึงดูดให้มีการมาสมัครงาน ซึ่งตำแหน่งงานของคนรุ่นใหม่ที่ทำงานกับเทคโนโลยีมากขึ้นอาจกำหนดในเรื่องการทำกลยุทธ์ หรือคิดวิเคราะห์ ที่มีความท้าทายและฝึกความสามารถมากขึ้น ขณะที่ในแง่ของข้อเสียก็คือหากพนักงานมีตำแหน่งที่เฟ้อขึ้นไปแต่ยังขาดทักษะ และความสามารถที่จำเป็นจะเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปได้ ซึ่งก็อาจจะผิดกับความคาดหวังของพนักงานที่เข้ามาทำงานในส่วนนี้ได้เช่นกัน”นางปุณยนุช กล่าว