“กรมการค้าต่างประเทศ”ดึงเอฟทีเอ กลยุทธ์ธุรกิจไทยรอดยุคเทรดวอร์
พาณิชย์ เร่งส่งต่อองค์ความรู้การใช้ประโยชน์เอฟทีเอให้ผู้ประกอบการไทยหวังเป็นแต้มต่อการแข่งขันยุคสงครามการค้าหลังทั่วโลกผวาทรัมป์2โหมเทรดวอร์รอบใหม่
นางอารดา เฟื่องทอง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดภายหลังงานสัมมนาภายใต้โครงการส่งเสริม SMEs ให้แข่งขันได้ในตลาดสากล เรื่อง “FTA ขยายธุรกิจ พิชิตส่งออก” ภายใต้โอกาสและความท้าทายจากสถานการณ์ทางการค้าโลก ในยุค “ทรัมป์ 2.0” ว่า กรมเห็นว่า FTA จะเป็นทางรอดธุรกิจไทยในการส่งออก โดยจะช่วยกระจายความเสี่ยงการส่งออกไปยังตลาดใหม่และตลาดที่ไทยมี FTA ซึ่งผู้ส่งออกไทยจะมีแต้มต่อด้านภาษี
พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการผลิตสินค้าโดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local content) ให้ได้ถิ่นกำเนิดตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันการถูกเพ่งเล็งว่าเป็นสินค้าที่ปลอมแปลงหรือแอบอ้างถิ่นกำเนิดจากประเทศที่สหรัฐ มีแนวโน้มดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าแบบแข็งกร้าว
ในปี 2568 คาดการณ์แนวโน้มการใช้สิทธิ FTA ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ผลมาจากนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมการส่งออกผ่านการใช้สิทธิ FTA และสิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก FTA ที่จะเป็นแต้มต่อ ให้สินค้าไทยในการรักษาตลาดและขยายตลาดได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในภาวะที่มีการแข่งขันของการค้าระหว่างประเทศเข้มข้น
สำหรับการสัมมนามีผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มาร่วมถกประเด็น ทางการค้าภายหลัง ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐโดย กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานผู้ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หรือ Certificate of Origin (C/O) เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการยกเว้นภาษีนำเข้าภายใต้ FTA ซึ่งสินค้าที่จะขอ C/O ได้ จะต้องเป็นสินค้าที่มีคุณสมบัติด้านการผลิตเป็นไปตาม “กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า” (Rules of Origin) ซึ่งเป็นเสมือนหัวใจในการขอรับสิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA
ดังนั้น กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า และ หลักเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติในการขอ C/O จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ ในรายละเอียดให้ครอบคลุมทั้งหมดเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก FTA ได้
ปัจจุบันกรมการค้าต่างประเทศได้พัฒนาเครื่องมือสำหรับอำนวยความสะดวกในการให้บริการกับ ผู้ส่งออกด้วยนวัตกรรมดิจิทัล ทำให้การออก C/O มีความสะดวก รวดเร็ว มีมาตรฐานความปลอดภัยตามหลัก สากลและที่สำคัญสามารถเข้าใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังมีระบบการพิมพ์ใบ C/O ที่ผ่านการพิจารณา แล้วได้ด้วยตนเอง (Self Printing) ทำให้ผู ้ส่งออกไม่จำเป็นต้องเดินทางมารับเอกสาร C/O ที่กรมการค้าต่างประเทศอีกต่อไป
นอกจากนี้ กรมฯ ได้พัฒนาระบบการตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิด หรือที่เรียกว่า ระบบ ROVERs PLUS ซึ่งเป็นระบบตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าแบบไร้กระดาษที่อำนวย ควำมสะดวกให้การตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในปี 2568 กรมฯ เห็นความสำคัญของการใช้สิทธิ FTA ที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับ ผู้ส่งออกโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ SME ของไทย จึงเดินหน้าเตรียมจัดสัมมนาและทำ Work shop ทั่วประเทศรวม 10 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ชลบุรี อยุธยา ลำพูน หนองคาย นครพนม นครราชสีมา กาญจนบุรี บุรีรัมย์ และสงขลา เพื่อเสริมสร้างให้ผู้ประกอบการไทยมีทักษะและศักยภาพในการต่อยอดธุรกิจเพื่อขยาย ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ปัจจุบันประเทศไทยมี FTA แล้ว ทั้งสิ้น 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศคู่ค้าทั้งในรูปแบบพหุภาคี ภูมิภาค และทวิภาคี เช่น ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีน ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – อินเดีย ความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลีย ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน – ญี่ปุ่น ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership) หรือ RCEP รวมถึงฉบับล่าสุดที่ประเทศไทยได้ลงนามแล้ว ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีไทย – ศรีลังกา เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็น FTA ฉบับที่ 15 ของไทย และความตกลงการค้าเสรีไทย – EFTA ที่เจรจา เสร็จแล้ว และมีกำหนดลงนามความตกลงในเดือนมกราคม 2568 โดย FTA ที่ประเทศไทยได้ไปทำความ ตกลงมานี้ จะทำให้สินค้าไทยได้รับสิทธิพิเศษในการลดหรือยกเว้นภาษีศุลกากรขาเข้าจากประเทศคู่ค้า ส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าจากไทยลดลง สร้างแต้มต่อทางการค้า และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ให้แก่ผู้ส่งออกไทยในตลาดต่างประเทศได้โดยเฉพาะกลุ่ม SME ในระบบที่มีมากกว่า 3 ล้านรายในปี 2567