บทบาทไทยในกลุ่ม BRICS คงสมดุล "ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ" รับ “ปัจจัยทรัมป์”

บทบาทไทยในกลุ่ม BRICS คงสมดุล "ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ" รับ “ปัจจัยทรัมป์”

กลุ่ม BRICS ที่ประชุมเมื่อวันที่ 23 ต.ค.2567 ที่รัสเซียเห็นชอบให้ 13 ประเทศ รวมประเทศไทย มีสถานะเป็นหุ้นส่วนพันธมิตร BRICS นั้น

สำหรับกลุ่ม BRICS ก่อตั้งโดย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และต่อมาคือ แอฟริกาใต้ ตามตัวอักษรของกลุ่มปัจจุบันเป็นกลุ่มความร่วมมือที่ถูกจับตามองว่าอาจก้าวมาท้าทายอำนาจของกลุ่มความร่วมมือที่มหาอำนาจตะวันตกควบคุมอยู่ 

     พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค.ได้วิเคราะห์ถึงประโยชน์ของโดยในแง่การค้าระหว่างประเทศว่าหากไทยเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS จะช่วยส่งเสริมการส่งออกสินค้า ที่กลุ่ม BRICS นำเข้าจากไทยให้ขยายตัวมากขึ้น โดยปัจจุบันไทยมีสัดส่วนการส่งออกกับประเทศสมาชิก BRICS ประมาณ 19.2%

ในด้านตลาดการค้าไทยจะได้เข้าสู่ตลาดที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อันดับต้น ๆ ของโลก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และจำนวนประชากร ขนาดเศรษฐกิจของกลุ่ม BRICS คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 4 ของขนาดเศรษฐกิจโลก และมีจำนวนประชากร รวมมากถึง 3,617.6 ล้านคน คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลก หรือสัดส่วน 45.5%

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้านการสร้างโอกาสทางการลงทุน จะดึงดูดนักลงทุนจากกลุ่ม BRICS เข้ามาลงทุนในประเทศไทยทั้งในด้านการผลิต และการบริการ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย และช่วยให้เกิด การจ้างงานภายในประเทศ

“การเข้าร่วมกลุ่ม BRICS จะช่วยยกระดับบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศจากจุดยืนความเป็นกลาง และแสวงหาสันติภาพ เปิดกว้างพร้อมรับการค้า และการลงทุนจากทุกประเทศ การเป็นพันธมิตรในกลุ่ม BRICS เป็นการกระชับความร่วมมือกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นมามีบทบาททางเศรษฐกิจ และการเมืองในอนาคต”

ด้านความเห็นจากบทความ “การเข้าร่วมกลุ่ม BRICS จะทำให้ไทย และมาเลเซียได้เปรียบในด้านเศรษฐกิจได้อย่างไร” โดย George Styllis เผยแพร่ใน  www.asiapropertyawards.com ได้อ้างอิงความเห็นของ  Jim O’Neill หัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs ที่ระบุว่า นักวิเคราะห์ตะวันตกหลายคนสงสัยว่ากลุ่มเศรษฐกิจนี้จะแข็งแกร่งสมกับชื่อหรือไม่ เนื่องจากเป็นการรวมตัวของ “ความแตกต่างและความขัดแย้ง” ที่มีอยู่มากมายภายในกลุ่มจึงน่าจะสร้างผลกระทบ(impact)ต่อโลกไม่ได้มากนัก

อย่างไรก็ตาม สิบห้าปีต่อมา กลุ่ม BRICS ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าผู้ที่คัดค้านกำลังคิดผิด เนื่องจากการพัฒนาความแข็งแกร่งท่ามกลางความแตกต่างทางอุดมการณ์ซึ่งก็ไม่ได้ถูกละทิ้ง 

 

 

 

“กลุ่ม BRICS ประชุมกันทุกปี ตั้งแต่นั้นมา กลุ่ม BRICS ได้ขยายตัวจนรวม อิหร่าน อียิปต์ เอธิโอเปีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  และยังมีอีกหลายประเทศรอคิวเข้าร่วมเป็นสมาชิก”

สำหรับประเทศไทย และมาเลเซีย กำลังจะเป็นอาเซียนที่เข้าไปมีบทบาทในเวทีใหญ่ที่มุ่งส่งเสริมการค้า และการเมือง สำหรับประเทศไทยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้เคยออกมาระบุว่า การเข้าร่วม BRICS จะทำให้ประเทศไทยมีบทบาทมากขึ้น และส่งเสริมศักยภาพของประเทศไทย

ด้านอันวาร์ อิบราฮิม  นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย กล่าวว่า การเข้าร่วม BRICS จะทำให้ประเทศมีอิสระทางเศรษฐกิจ และการเมืองมากขึ้น

หากจะถามหาเหตุผลที่ทำให้ กลุ่ม BRICS แข็งแกร่งในปัจจุบันก็จะพบว่า “อินเดีย” คือในฐานะที่เป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ได้เติมพลังให้กับ BRICS 

อลิเซีย การ์เซีย-เฮอร์เรโร นักวิจัยอาวุโสจากสถาบันวิจัย Bruegel ในกรุงบรัสเซลส์ กล่าวว่า ประเทศต่างๆ ในเอเชีย และแอฟริกามองว่าอินเดียเป็นปัจจัยถ่วงดุลที่สำคัญต่อองค์กรระดับโลกซึ่งนำโดยมหาอำนาจตะวันตก และย้ำชัดด้วยการระบาดของโควิด-19 ซึ่งประเทศร่ำรวยกักตุนวัคซีนไว้ ทำให้ประเทศกำลังพัฒนารู้สึกขมขื่น 

“มันเกิดขึ้นแล้วความรู้สึกความแตกแยกระหว่าง “พวกเราและพวกเขา” จนทำให้ประเทศกำลังพัฒนารู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้นในประเด็นอื่นๆ เช่น การเมือง สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม” 

นอร์เบิร์ต วิทธินริช ซีอีโอของ SEA Property ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ไทย และมาเลเซียในฐานะประเทศมหาอำนาจระดับกลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มองว่าการเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS เป็นหนทางในการเพิ่มอิทธิพลทางภูมิรัฐศาสตร์บนเวทีโลก การเป็นสมาชิกยังช่วยเพิ่มแพลตฟอร์มการแสดงความกังวล และสนับสนุนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประเทศกำลังพัฒนาได้อีกด้วย 

นอกจากนี้  การเข้าร่วมกลุ่มจะทำให้พวกเขาเข้าถึงเครือข่ายตลาดเกิดใหม่ที่กว้างขึ้น ลดการพึ่งพาตลาดตะวันตกแบบดั้งเดิม เช่น สหรัฐ และสหภาพยุโรป 

“กลุ่ม BRICS จะส่งเสริมการค้าระหว่างไทย มาเลเซีย และจีน ผ่านโครงการ Belt and Road ของจีน ซึ่งมีการลงทุนบางส่วนในสองประเทศนี้ด้วย  เช่น โครงการ East Coast Rail Link ในมาเลเซีย ซึ่งขยายไปจนถึงชายแดนไทย”

 เจมส์ วู ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ประจำกรุงปักกิ่ง กล่าวว่า จีนต้องการใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นเช่นกัน เนื่องจากได้ลงทุนในโรงงานขนาดใหญ่ในทั้งสองประเทศที่ผลิตสินค้าทุกอย่างตั้งแต่เซมิคอนดักเตอร์ไปจนถึงชิ้นส่วนรถยนต์แล้ว

“การค้า และการลงทุนที่ขยายตัวอาจผลักดันความต้องการอสังหาริมทรัพย์ เช่น อสังหาริมทรัพย์อุตสาหกรรม โลจิสติกส์ และเชิงพาณิชย์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น”

อย่างไรก็ตาม หากมองไปถึงเรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนซึ่งเป็นกลไกสำคัญการขับเคลื่อนโปรเจกต์ต่างๆ นั้น ก็พบว่า“ธนาคารพัฒนาแห่งใหม่ของกลุ่มประเทศ BRICS” จะเป็นหนึ่งในข้อได้เปรียบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับประเทศไทยและมาเลเซียในการเข้าร่วม BRICS โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนนี้ที่ซาอุดีอาระเบียซึ่งมีความมั่งคั่งมหาศาลเข้าร่วมกลุ่มแล้ว

อย่างไรก็ตาม แรงขับเคลื่อนนี้ถูกมองว่าส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับสหรัฐ ในกรณีของมาเลเซียซึ่งเป็นผู้รับผลประโยชน์หลักจากการค้า และการลงทุนของสหรัฐเช่นเดียวกับไทย ที่ได้รับประโยชน์จากสหรัฐซึ่งพยายามลดการพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานที่จีน ในขณะเดียวกัน ไทยก็เป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการตามสนธิสัญญาที่ไทยต่อสหรัฐด้วย

“เมื่อไม่พอใจก็ควรจะละทิ้งไป แต่กลับพบว่า สหรัฐเร่งลงทุนในไทย และมาเลเซียเพื่อช่วงชิงอิทธิพลเหนือภูมิภาคนี้ ทำให้การเข้าเป็นสมาชิก  กลุ่ม BRICS ยิ่งเป็นการกระตุ้นการลงทุนจากประเทศตะวันตกให้เข้ามาสู่ไทย และมาเลเซียมากขึ้น รวมถึงการหว่านล้อมให้เข้าร่วมสมาชิกองค์กรในฝั่งตะวันตกอย่าง  องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา หรือ OECD เป็นต้น” 

สำหรับทั้งสองประเทศ สงครามในฉนวนกาซา และยูเครน และความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นรอบๆ ไต้หวัน และทะเลจีนใต้ สะท้อนถึงการก้าวไปสู่โลกที่มีหลายขั้วอำนาจมากขึ้น ซึ่งอำนาจของสหรัฐก็ต้องถูกกัดกร่อนลง และอำนาจของจีนถูกทำให้ร่ำรวยขึ้น จากการพยายามเข้าร่วมกลุ่ม BRIC คือ การป้องกันความเสี่ยงสำหรับอนาคต รวมถึงปัจจัยท้าทายปัจจัย “ทรัมป์” ที่รอการแผลงฤทธิ์ในปี 2568 ที่จะถึงนี้ 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์

บทบาทไทยในกลุ่ม BRICS คงสมดุล \"ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ\" รับ “ปัจจัยทรัมป์”