สศก. เล็งประกันภัยมันสำปะหลัง ศึกษารูปแบบอายิโนะโมะโต๊ะ ใน กำแพงเพชร

สศก. เล็งประกันภัยมันสำปะหลัง ศึกษารูปแบบอายิโนะโมะโต๊ะ ใน กำแพงเพชร

สศก. ขับเคลื่อนศึกษารูปแบบประกันภัยมันสำปะหลังแก่เกษตรกร ยก อายิโนะโมะโต๊ะ ต้นแบบประกันภัยในจังหวัดกำแพงเพชร ใช้ดัชนีสภาพภูมิอากาศในการประเมินความเสียหายของภัยแล้งเพื่อจ่ายค่าสินไหมทดแทน อ้างอิงข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากระบบดาวเทียม

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศก. เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการพัฒนาระบบประกันภัยภาคการเกษตร และได้เสนอโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปีให้กับเกษตรกรในพื้นที่ภูมิภาคต่างๆ63 จังหวัด สิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 และอยู่ระหว่างการจำหน่ายกรมธรรม์ฯ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2567

สศก. เล็งประกันภัยมันสำปะหลัง ศึกษารูปแบบอายิโนะโมะโต๊ะ ใน กำแพงเพชร สศก. เล็งประกันภัยมันสำปะหลัง ศึกษารูปแบบอายิโนะโมะโต๊ะ ใน กำแพงเพชร

สำหรับการดำเนินโครงการในปี 2568 ขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดโครงการประกันภัยข้าวนาปี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เสนอคณะทำงานออกแบบระบบประกันภัยพืชผล เพื่อให้การดำเนินงานโครงการประกันภัยของรัฐบาลเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และยังคงเดินหน้าศึกษารูปแบบการประกันภัยมันสำปะหลัง เพื่อขยายผลการประกันภัยการเกษตรให้ครอบคลุมพืชเศรษฐกิจให้มากขึ้น

ทั้งนี้สศก. ได้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษารูปแบบการประกันภัยมันสำปะหลัง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2567 โดยศึกษารูปแบบการประกันภัยมันสำปะหลัง ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เอฟ ดี กรีน (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้ทำประกันภัยมันสำปะหลังให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร รับประกันภัยโดยบริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย)จำกัด (มหาชน) โดยใช้ดัชนีสภาพภูมิอากาศในการประเมินความเสียหายของภัยแล้งเพื่อจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งอ้างอิงข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากระบบดาวเทียม ผลการดำเนินงานพบว่าปริมาณน้ำฝนที่วัดได้จากดาวเทียมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงไม่มีการจ่ายค่าสินไหมให้แก่เกษตรกร

นอกจากนี้ ได้จัดการประชุมหารือแนวทางการประกันภัยมันสำปะหลัง โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ และประสบการณ์ในการผลิต การประกันภัย และการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการประเมินความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติมาร่วมหารือ และล่าสุดได้จัดสัมมนาระดมความคิดเห็น(Focus Group)ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 ณ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในพื้นที่ภาคเหนือเข้าร่วมให้ข้อมูล ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการประกันภัยมันสำปะหลัง 

สศก. เล็งประกันภัยมันสำปะหลัง ศึกษารูปแบบอายิโนะโมะโต๊ะ ใน กำแพงเพชร

ซึ่งได้ข้อค้นพบในเบื้องต้นว่า เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังประสบปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติหลักๆ ได้แก่ ภัยแล้ง/ฝนทิ้งช่วง ภัยน้ำท่วม/ปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าปกติ หรือฝนตกชุก และการระบาดของโรคและแมลง โดยเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยสูงมีความสนใจทำประกันภัย 

สำหรับรายที่ไม่สนใจทำประกันภัยเนื่องจากเห็นว่าภัยธรรมชาติไม่ได้เกิดขึ้นทุกปีและมีความเห็นว่าการประกันภัยพืชผลที่ใช้การประกาศเขตภัยพิบัติเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ทำให้เกษตรกรที่ทำประกันภัยแต่มีพื้นที่เสียหายอยู่นอกพื้นที่ประกาศเขตฯ ไม่ได้รับการจ่ายค่าสินไหมทดแทน

 โดยที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะต่อแนวทางการประกันภัยมันสำปะหลัง อาทิ การส่งเสริมให้เกษตรกรทำประกันภัยต้องทำให้เกษตรกรเห็นถึงความจำเป็นและความคุ้มค่า เนื่องจากค่าเบี้ยประกันภัยเป็นหนึ่งในต้นทุนการผลิตของเกษตรกรจึงควรกำหนดเงื่อนไขความคุ้มครองที่ชัดเจนและค่าเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมที่เกษตรกรสามารถจ่ายได้ ควรกำหนดแผนประกันภัยตามช่วงอายุพืช อาทิ ช่วงอายุ 1-4 เดือน และ 5-8 เดือน เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรทำประกันภัยตามช่วงเวลาที่ต้องการความคุ้มครองได้

สศก. เล็งประกันภัยมันสำปะหลัง ศึกษารูปแบบอายิโนะโมะโต๊ะ ใน กำแพงเพชร สศก. เล็งประกันภัยมันสำปะหลัง ศึกษารูปแบบอายิโนะโมะโต๊ะ ใน กำแพงเพชร

 รวมทั้ง การประกันภัยแบบกลุ่มจะมีค่าเบี้ยประกันภัยที่ถูกกว่าประกันภัยแบบรายบุคคล จึงควรส่งเสริมรูปแบบประกันภัยกลุ่มให้กับสมาชิกของสถาบันเกษตรกร เนื่องจากสามารถเข้าถึงองค์ความรู้การประกันภัยได้ง่ายกว่าเกษตรกรทั่วไปเพราะมีการสื่อสารกับสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการให้บริการสินเชื่อเพื่อการผลิตแก่สมาชิก อาจให้สมาชิกที่ขอสินเชื่อเพื่อการผลิตทำประกันภัยการเกษตรร่วมด้วย

“รูปแบบการประกันภัยมันสำปะหลัง ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ เครื่องมือในการตรวจสอบความเสียหาย ที่ถูกต้อง แม่นยำ และสะท้อนความเสียหายจริง เพราะนอกเหนือจากความเสียหายจากภัยแล้งที่ทำให้ต้นมันสำปะหลังแห้งตายและความเสียหายจากโรคมันสำปะหลัง อย่างโรคใบด่างแล้ว ยังมีความเสียหายหัวมันสำปะหลังซึ่งอยู่ใต้ดิน ที่ยังเป็นปัญหาหลักที่สำคัญที่เกษตรกรประสบมาอย่างต่อเนื่อง

 ทั้งนี้ สศก. จะได้เดินหน้าศึกษาวิจัยรูปแบบการประกันภัยมันสำปะหลังในปี 2568 อย่างต่อเนื่อง โดยจะศึกษาคุณลักษณะของการประกันภัยมันสำปะหลังที่ตรงตามความต้องการของเกษตรกรซึ่งในเบื้องต้นได้หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะได้เดินหน้าศึกษาวิจัยโดยจัดระดมความคิดเห็น(Focus Group)และสัมภาษณ์หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังต่อไป”