ราคามะพร้าวอ่อนขาขึ้น รับผลผลิตปี 68 พุ่ง

ราคามะพร้าวอ่อนขาขึ้น รับผลผลิตปี 68 พุ่ง

สศก. สำรวจ มะพร้าวอ่อน 7 จังหวัด ภาคตะวันตก ให้ผลผลิตรวม 313 ล้านผลราคาเฉลี่ยสูงสุด 32.80 บาท คาด ปี 68 สภาพอากาศเอื้ออำนวย ผลผลิตมีทิศทางเพิ่มขึ้น

 นายกิจษารธ อ้นเงินทยากร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 ราชบุรี(สศท.10) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า คณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืช ภาคตะวันตก ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2567 ที่ผ่านมา ซึ่ง สศท.10  ได้นำเสนอข้อมูลการสำรวจและปริมาณการผลิตสินค้ามะพร้าวอ่อน ปี 2565 - 2566 ของภาคตะวันตกทั้ง 7 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

ราคามะพร้าวอ่อนขาขึ้น รับผลผลิตปี 68 พุ่ง ราคามะพร้าวอ่อนขาขึ้น รับผลผลิตปี 68 พุ่ง

ภายใต้โครงการบริหารจัดการผลผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map)การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสินค้าเกษตรในระดับจังหวัด โดยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับพื้นที่ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้ผ่านการรับรองข้อมูลจากคณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืช ภาคตะวันตก

จากการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ของสศท.10 คาดการณ์ว่าผลผลิตภาพรวมมะพร้าวอ่อน ปี 2567 ของภาคตะวันตก ทั้ง 7 จังหวัด มีผลผลิตรวม 313.84 ล้านผลผลผลิตลดลงจากปี 2566 เนื่องจากประสบกับภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปกติ และมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากปรากฏการณ์เอลนิโญ ยาวนานถึงเดือนมิ.ย. 2567 ส่งผลให้มะพร้าวออกจั่น ติดผลไม่สมบูรณ์ ผลแคระแกรนผลลีบ ผลทุย ผลแตกไม่ได้คุณภาพ ซึ่งบางพื้นที่ประสบปัญหาแมลงศัตรูพืชระบาดส่งผลให้ต้นไม่สมบูรณ์

ราคามะพร้าวอ่อนขาขึ้น รับผลผลิตปี 68 พุ่ง

หากพิจารณาแยกเป็นรายจังหวัด พบว่า

ราชบุรี มีเนื้อที่ให้ผล 90,784 ไร่ (เพิ่มขึ้น 1,136 ไร่ หรือร้อยละ1.27)ผลผลิต 163.81 ล้านผล (ลดลง 123.84 ล้านผล หรือร้อยละ 43.05)

สมุทรสาคร มีเนื้อที่ให้ผล 55,297 ไร่ (เพิ่มขึ้น 1,085 ไร่ หรือร้อยละ 2)ผลผลิต 97.25 ล้านผล (ลดลง 80.47 ล้านผล หรือร้อยละ 45.28)

นครปฐม มีเนื้อที่ให้ผล12,080ไร่ (เพิ่มขึ้น1,213ไร่ หรือร้อยละ 11.16)ผลผลิต 22.43 ล้านผล (ลดลง11.49ล้านผล หรือร้อยละ 33.87)

สมุทรสงคราม เนื้อที่ให้ผล10,653ไร่ (ทรงตัวจากปีที่แล้ว) ผลผลิต22.99 ล้านผล (ลดลง11.34ล้านผล หรือร้อยละ33.03)

ประจวบคีรีขันธ์ เนื้อที่ให้ผล6,573ไร่ (เพิ่มขึ้น274ไร่ หรือร้อยละ4.35) ผลผลิต4.23 ล้านผล (ลดลง2.69ล้านผล หรือร้อยละ38.89)

เพชรบุรี เนื้อที่ให้ผล3,674ไร่ (เพิ่มขึ้น240หรือร้อยละ6.99) ผลผลิต2.67ล้านผล (ลดลง1.77ล้านผล หรือร้อยละ39.87)

และกาญจนบุรี เนื้อที่ให้ผล674ไร่ (เพิ่มขึ้น193ไร่ หรือร้อยละ40.12) ผลผลิต0.46ล้านผล (ลดลง0.05ล้านผลหรือร้อยละ9.68)โดยมะพร้าวอ่อนสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ผลผลิตเริ่มทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนม.ค. และออกมากในช่วงเดือนส.ค.- ธ.ค.  2567 (ร้อยละ 48.52 ของผลผลิตทั้งหมด)

ราคามะพร้าวอ่อนขาขึ้น รับผลผลิตปี 68 พุ่ง

ทั้งนี้คาดการณ์ว่าผลผลิตรวมของปี 2568 จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงปลายฤดูฝนของปี2567มีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น และหากในปี2568สภาพอากาศเอื้ออำนวย มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อความต้องการของมะพร้าวทำให้ต้นมะพร้าวมีการสะสมอาหารและต้นมะพร้าวสมบูรณ์ขึ้น จะส่งผลให้การออกดอกและการติดผลต่อทะลายเพิ่มขึ้น

 ด้านราคามะพร้าวอ่อนที่เกษตรกรขายได้ ขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนม.ค. 2567 เป็นต้นมา และยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากภาวะภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

โดยราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ 7 จังหวัด ปี 2567 เฉลี่ย 17.06 บาท/ผล โดยราคาต่ำสุด 7.35 บาท/ผล ในเดือนต.ค. 2567 และราคาสูงสุด 32.80 บาท/ผล ในเดือนมิ.ย. 2567สำหรับราคา ณ เดือนธ.ค. 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 9.58 บาท/ผล (ราคา ณ ไร่นา เฉลี่ย 3 สัปดาห์ วันที่ 16ธ.ค. 2567)

อย่างไรก็ตาม ผลผลิตมะพร้าวอ่อนในรอบปี มักจะให้ผลผลิตน้อยในช่วงเดือน เม.ย. - มิ.ย. ของทุกปี เนื่องจากการผสมเกสรไม่ติด ดอกตัวเมียร่วง ในช่วง 6 เดือนก่อนหน้านั้น ผลผลิตไม่ติด หรือติดน้อยมาก ไม่พัฒนาเป็นผลจึงทำให้ราคาผลผลิตมะพร้ามอ่อนในช่วงนั้นสูงกว่าปกติ 

อีกทั้ง ยังพบว่าไรสี่ขามะพร้าว ทำลายผิวมะพร้าว หนอนหัวดำ และด้วงแรด ระบาด ซึ่งเกษตรกรยังไม่สามารถกำจัดให้หมดไปได้ รวมถึงยังประสบปัญหา ผลร่วง และผลแตก ทำให้ผลผลิตไม่สม่ำเสมอตลอดปี และหากขาดน้ำยังทำให้เกิดผลลีบ ผลทุย อีกด้วย

 ทั้งนี้ แนะนำเกษตรกรหมั่นดูแลสวน กำจัดและควบคุมวัชพืช จำพวกวัชพืชแย่งน้ำ แย่งอาหารอื่นๆ บริเวณรอบโคนต้น เพิ่มอินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ร่วมกับปุ๋ยเคมีอย่างน้อยปีละครั้ง และหมั่นกำจัดแมลงศัตรูพืชเป็นประจำ เพื่อรักษาระดับปริมาณผลผลิตให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี