ผลไม้ปี68จ่อล้น เกษตรฯ พาณิชย์ คมนาคม ดีอี ร่วมบริหารจัดการ

ผลไม้ปี68จ่อล้น เกษตรฯ พาณิชย์ คมนาคม ดีอี ร่วมบริหารจัดการ

“นฤมล”ดึงพาณิชย์ คมนาคม ดีอี ร่วมบริหารจัดผลไม้ปี 68 หลังแนวโน้มผลผลิตเพิ่มขึ้น ป้องกันปัญหาล้นตลาด ราคาตกต่ำ เน้นผลิตให้มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐานการส่งออก

 นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าล่าสุด ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินมาตรการบริหารจัดการผลไม้ในปี 2568 ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี สืบเนื่องจากผลผลิตมีแนวโน้มผลผลิตเพิ่มขึ้นในปีนี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสำคัญต่อการดูแลคุณภาพผลไม้ไทยให้มีมาตรฐานความปลอดภัยและมาตรฐานการส่งออก

ผลไม้ปี68จ่อล้น เกษตรฯ พาณิชย์ คมนาคม ดีอี ร่วมบริหารจัดการ

ขณะที่ กระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมการตลาดการบริโภคภายในประเทศ กระทรวงคมนาคม เตรียมพร้อมด้านระบบขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพคล่องตัวมากขึ้น และ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(DE) ที่กำกับดูแลโปรษณีย์ไทยทำโครงการช่วยส่งผลไม้จากสวนไปยังผู้บริโภคโดยตรง นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ร่วมสนับสนุนด้วย

 สำหรับปัญหาการปนเปื้อน Basic Yellow 2 (BY2) และแคดเมียมในทุเรียนไทยนั้น กระทรวงเกษตรฯ ไม่นิ่งนอนใจ ได้เพิ่มมาตรการเข้มข้น และได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรและสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กำกับติดตามควบคุมมาตรฐานสินค้าผักและผลไม้ในโรงคัดบรรจุอย่างใกล้ชิด นอกจากนั้น ยังได้ประสานไปยังกระทรวงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมให้มีการขยายตลาดไปยังประเทศอื่น โดยแปรรูปจากทุเรียนผลสด เพื่อให้มีตลาดรองรับมากยิ่งขึ้น

 อย่างไรด็ตามที่ผ่านมา ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรที่จังหวัดตราด โดยพบว่า ทุเรียนมีพื้นที่เพาะปลูก 126,718 ไร่ คาดการณ์ว่า ผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดมากสุดในเดือนเมษายน 2568 จำนวนผลผลิต 132,237 ตัน ส่วนเงาะมีพื้นที่เพาะปลูก 47,190 ไร่ คาดการณ์ว่า ผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดมากสุดในเดือนพฤษภาคม 2568 จำนวนผลผลิต 107,490 ตัน ขณะที่มังคุดมีพื้นที่เพาะปลูก 39,701 ไร่ คาดการณ์ว่า ผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดมากสุดในเดือนพฤษภาคม 2568 จำนวนผลผลิต 50,261 ตัน

 

ผลไม้ปี68จ่อล้น เกษตรฯ พาณิชย์ คมนาคม ดีอี ร่วมบริหารจัดการ  นางนฤมล บอกด้วยว่า จังหวัดตราดเป็นพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกไม้ผลและยางพาราที่สำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำสำหรับการเพาะปลูกปริมาณมาก เกษตรกร ดังนั้นเกษตรกรจึงมีความต้องการใช้น้ำเพื่อให้เพียงพอต่อการเพาะปลูก จึงได้มอบหมายให้กรมชลประทาน เร่งดำเนินการโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ อาทิ การกระจายน้ำ ท่อต่อขยายระบบ ส่งน้ำ และการก่อสร้างสถานีสูบน้ำ ซึ่งโครงการดังกล่าวถูกบรรจุอยู่ในแผนเพื่อเสนอของบกลางแล้ว แต่อย่างไรก็ตามหากมีงบเหลือจ่ายปีนี้เพียงพอ ได้กำชับให้กรมชลประทานจัดสรรงบเพื่อดำเนินการโครงการเร่งด่วนก่อน เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรจังหวัดตราดโดยเร็วที่สุด