‘คลัง’ สรุปรวมมาตรการเยียวยาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว 2568

‘คลัง’ สรุปรวมมาตรการเยียวยาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว 2568

“คลัง” สรุปความคืบหน้ามาตรการเยียวยาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวปี 2568 อัดฉีดเงินทุน-พักหนี้ เร่งประสามาตรการด้านประกันภัยบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนและธุรกิจ

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงรายละเอียดความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปี 2568 ตามที่นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ประกาศไว้เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2568 โดยมีมาตรการสำคัญ ดังนี้

ขยายวงเงินทดรองราชการช่วยเหลือเร่งด่วน

กรมบัญชีกลางได้อนุมัติขยายวงเงินทดรองราชการสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (แผ่นดินไหว) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและอีก 76 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นจำนวนเงิน 200 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในอำนาจของอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อใช้จ่ายในการช่วยเหลือด้านการดำรงชีพและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

สถาบันการเงินเฉพาะกิจพร้อมใจออกมาตรการเยียวยา

สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐหลายแห่งได้ทยอยประกาศมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างครอบคลุม ดังนี้

  • ธนาคารออมสิน เสนอมาตรการพักชำระเงินต้นและลดดอกเบี้ยเหลือ 0% สูงสุด 3 เดือน สำหรับสินเชื่อบ้าน สินเชื่อธนาคารประชาชน และสินเชื่อ SMEs พร้อมทั้งสินเชื่อฉุกเฉินวงเงินสูงสุด 20,000 บาท ดอกเบี้ย 0% สูงสุด 3 เดือน และสินเชื่อกู้ซ่อมแซมบ้าน/ฟื้นฟูกิจการ ดอกเบี้ย 0% สูงสุด 3 เดือน  ‘คลัง’ สรุปรวมมาตรการเยียวยาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว 2568
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดโครงการสินเชื่อฉุกเฉินปี 2568 วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบัน (6.925% ต่อปี) โดยปลอดดอกเบี้ย 6 เดือนแรก และโครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR – 2% ต่อปี  ‘คลัง’ สรุปรวมมาตรการเยียวยาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว 2568
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) มีมาตรการช่วยเหลือทั้งลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ ทั้งการลดเงินงวดและดอกเบี้ย การพักชำระหนี้ และสินเชื่อใหม่/เพิ่มเพื่อซ่อมแซมหรือสร้างใหม่ วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษในช่วงแรก นอกจากนี้ยังมีมาตรการประนอมหนี้และสินไหมเร่งด่วนสำหรับผู้ที่มีกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย  ‘คลัง’ สรุปรวมมาตรการเยียวยาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว 2568
  • ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) ให้พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุด 12 เดือน และมีมาตรการเติมทุนฉุกเฉินวงเงินสูงสุด 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MLR ปัจจุบัน (7.3% ต่อปี) โดยปลอดชำระเงินต้น 12 เดือน
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เสนอสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหรือฟื้นฟูกิจการ วงเงินสูงสุด 5 ล้านบาท อัตรากำไรต่ำสุด 1.99% ในปีแรก  ‘คลัง’ สรุปรวมมาตรการเยียวยาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว 2568
  • ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) มีมาตรการช่วยเหลือทั้งเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาว ทั้งการขยายระยะเวลา ลดดอกเบี้ย พักชำระหนี้ และเพิ่มวงเงิน  ‘คลัง’ สรุปรวมมาตรการเยียวยาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว 2568
  • บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ออกมาตรการพักชำระค่าธรรมเนียมและค่างวดสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ  ‘คลัง’ สรุปรวมมาตรการเยียวยาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว 2568
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีมาตรการลดค่างวด 75% เป็นเวลา 1 ปี พร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับลูกหนี้บ้าน SMEs และบุคคลทั่วไป รวมถึงสินเชื่อเพื่อกู้ซ่อมบ้าน/ฟื้นฟูกิจการ  ‘คลัง’ สรุปรวมมาตรการเยียวยาผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว 2568

คปภ. เร่งช่วยเหลือด้านการประกันภัย

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ลงพื้นที่ประสบภัยและตั้งศูนย์ช่วยเหลือ พร้อมประสานบริษัทประกันภัยให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ รวมถึงเร่งตรวจสอบข้อมูลผู้สูญหายและฐานะการเงินของบริษัทประกันภัย พร้อมเปิดสายด่วน 1186 ให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง

ธปท. ขอความร่วมมือสถาบันการเงินเพิ่มเติม

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ขอความร่วมมือไปยังสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับ ให้พิจารณาปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ ให้วงเงินฉุกเฉิน พิจารณาช่วยเหลือด้านเงินทุนและสภาพคล่อง รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยผ่อนปรนหลักเกณฑ์การพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ และให้คงสถานะการจัดชั้นลูกหนี้เดิมได้

นายพรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เน้นย้ำถึงความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจไทย และความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในการดำเนินทุกมาตรการที่จำเป็น พร้อมทั้งจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป

"ท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขอให้ประชาชน นักลงทุน และผู้ประกอบการเชื่อมั่นว่า ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพ และหน่วยงานภาครัฐพร้อมดำเนินการทุกมาตรการที่จำเป็น เพื่อให้สถานการณ์อยู่ภายใต้การควบคุมอย่างรอบคอบและมีประสิทธิภาพ" นายพรชัย กล่าวทิ้งท้าย