เกาหลีใต้ รุก Soft Power ไทยพื้นที่จุดยุทธศาสตร์ ทูตมุนพบประยุทธ์ คุยอะไร?
กลายเป็นประเด็นต่อเนื่อง น่าสนใจยิ่ง เกาหลีใต้ รุก Soft Power ไทยพื้นที่จุดยุทธศาสตร์ "ทูตมุน" พบ "ประยุทธ์" คุยอะไร?
วันก่อนเพิ่งพูดถึง soft power ของไทย วันนี้มีรายงานข่าว มุน ซึง-ฮย็อน (H.E. Mr. Moon Seoung-hyun) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ประจำประเทศไทย เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญคือ การสนับสนุนความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับเกาหลีใต้
ท่านทูตมุน ซึง-ฮย็อน ย้อนความหลัง ช่วยเหลือในช่วงสงครามเกาหลี ซึ่งชาวเกาหลีใต้ซาบซึ้งและขอบคุณในความช่วยเหลือของไทย นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังมีความสัมพันธ์ในระดับประชาชนที่ใกล้ชิด ยาวนาน ชาวเกาหลีใต้นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆ และชื่นชอบอาหารไทยเป็นอย่างมาก ขณะที่ชาวไทยนิยมเรียนภาษาเกาหลีเป็นอันดับหนึ่ง
บทความที่เกี่ยวข้อง
สะท้อนความผูกพันอันใกล้ชิดระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ เห็นว่าทั้งสองประเทศยังมีศักยภาพที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกันได้อีกมาก
โดยเฉพาะความร่วมมือด้าน Soft Power อาหาร และการกีฬา
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน มูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น แม้จะเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ทั้งสองประเทศยังมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกันได้อีกมาก
โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านโมเดล BCG และอุตสาหกรรมเพื่อการเจริญเติบโตสีเขียวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทย
นายกฯประยุทธ์ได้เชิญชวนให้นักลงทุนชาวเกาหลีใต้เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้นในสาขาที่เกาหลีใต้มีความเชี่ยวชาญ โดยไทยจะดูแลและอำนวยความสะดวกการลงทุน ด้านเอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ฯ ยินดีสนับสนุน พร้อมประสงค์ให้ไทยพิจารณาส่งเสริมอุตสาหกรรมเฉพาะด้านที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าอย่างชัดเจน และขอให้ไทยพิจารณาให้เกาหลีใต้ตั้งสถาบันการเงินในประเทศด้วย
ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม สำเร็จของการส่งเสริม Soft Power ของเกาหลีใต้ ซึ่งประเทศไทยก็มีชื่อเสียงเช่นกัน ทั้งสองประเทศควรพัฒนาความร่วมมือในสาขานี้ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความแข่งแกร่ง พร้อมทั้งยินดีที่ประชาชนทั้งสองฝ่ายมีความชื่นชอบวัฒนธรรมของกันและกัน จะเป็นสะพานเชื่อมและขยายความร่วมมือไปยังสาขาอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ทั้งสองประเทศสามารถจับคู่วัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของกันและกัน รวมถึงการกีฬาที่ทั้งสองมีศักยภาพ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น
ความร่วมมือภายใต้กรอบอนุภูมิภาคและภูมิภาค นายกรัฐมนตรีชื่นชมบทบาทที่สร้างสรรค์ของเกาหลีใต้ผ่านกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - เกาหลีใต้ (Mekong – ROK Cooperation) กรอบ ACMECS และกรอบอาเซียน - เกาหลีใต้ (ASEAN - ROK) ซึ่งไทยพร้อมที่จะร่วมมือและสนับสนุน ทั้งด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเศรษฐกิจสีเขียว
เอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ฯ กล่าวว่า ประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนใหม่พร้อมสานต่อความสัมพันธ์ ความร่วมมือ ตลอดจนพร้อมสนับสนุนบทบาทไทยในการจัดการประชุมระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในปีนี้
กล่าวสำหรับผู้เขียนเอง ได้รับรู้ข่าวสารและข้อมูลจากนักวิชาการ ว่าเกาหลีใต้ พัฒนาขีดความสามารถการใช้ ซอฟท์ พาวเวอร์ Soft Power เห็นได้จากความสำเร็จจากละคร ซีรีส์ ภาพยนตร์ และการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลต่อสินค้าผลิตภัณฑ์จากเกาหลีใต้ถูกพูดถึงในแง่การยอมรับและการพัฒนาให้มีมาตรฐานระดับโลก ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นประเทศที่ทรงอิทธิพลด้าน Soft Power แม้ว่าจะไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจทางทหารอย่าง สหรัฐอเมริกา และ จีน ก็ตาม
กลับมามองที่ไทยเราเอง อย่างที่หลายท่านทราบดีว่า ประเทศเราถือว่าเป็น "พื้นที่ยุทธศาสตร์" ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ถ้าโฟกัสมาประเทศลุ่มแม่น้ำโขง อย่าง เมียนมา ลาว กัมพูชา ซึ่งไทยสามารถส่งต่อหรือเป็นฐานกระจายสินค้าและวัฒนธรรมจากต่างชาติได้เป็นอย่างดี
การรุกด้วย Soft Power ของเกาหลีใต้ เพื่อกระชับพื้นที่ในไทย ซึ่งอย่างที่ทราบว่า คนไทยจำนวนไม่น้อยคลั่งไคล้นักร้อง K-POP อย่างมาก นิยมไปเที่ยวเกาหลีและต้องการไปทำงาน ซึ่งที่ผ่านมา เกาหลีใต้เปิดพื้นที่รับตรงนี้ ซึ่งถือเป็นการใช้ Soft Power อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการศึกษา แรงงาน ท่องเที่ยว และศิลปะ
แน่นอนว่า เกาหลีใต้มองจีนและสหรัฐอเมริกา เป็นคู่แข่งสำคัญในการใช้อำนาจซอฟท์ พาวเวอร์ ที่มีอิทธิพลต่อไทยแทบทุกด้าน ซึ่งเกาหลีใต้ก็รู้ว่าไทยต้องการบาลานซ์อำนาจตรงนี้ แต่ใช้พยายามในการเอื้อให้ไทยในด้วยซอฟท์ พาวเวอร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กว่า 2 ชาติมหาอำนาจ
อย่างไรก็ตาม เกาหลีใต้ยังดีกว่าชาติมหาอำนาจรายอื่น เนื่องจากไม่มีอิทธิพลทางทหารและยุทโธปกรณ์มากดดันหากไทยไม่ร่วมมือด้วย ขณะเดียวกัน หากมองในแง่ดี คงเห็นรัฐบาลไทยแอ็กชันแสวงหาความร่วมมือและแลกเปลี่ยนบนแนวทาง Soft Power ซึ่งกันและกัน
อ้างอิง