มารู้จักแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนของจีน (CBEC)
เป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้ประกอบการธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายมากขึ้นเมื่อธุรกิจต้องเข้าสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน Cross-Border-E-commerce หรือ CBEC ที่การดำเนินธุรกรรมทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบออนไลน์
ผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศต้องคำนึงถึงเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่แตกต่างในแต่ละประเทศ ข้อจำกัดด้านกฎหมายและข้อบังคับทางภาษี ความแตกต่างด้านภาษา ระดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หรือแม้แต่โครงสร้างพื้นฐานที่แตกต่างกัน
ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมในการวางแผนการเจาะตลาด CBEC โดยพิจารณาความคุ้มค่า และความสามารถในการทำกำไรอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุด
ปัจจุบัน CBEC เป็นแพลตฟอร์มการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนที่เป็นที่รู้จักและยอมรับจากทั่วโลก หากเทียบกับหลาย ๆ ประเทศ แม้กระทั่งประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร
(ภาพถ่ายโดย PhotoMIX Company)
จะพบว่าตลาด CBEC ของจีนมีศักยภาพในการเติบโตสูงสุด เนื่องจากการค้าผ่านช่องทาง CBEC ของจีนช่วยเสริมสร้างมาตรฐานและระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่มั่นคงให้แก่ภาคธุรกิจในประเทศจีนด้วยการปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอันช่วยกระตุ้นความต้องการบริโภค
นอกเหนือจากนั้นตลาด CBEC ยังได้รับการสนับสนุนในระดับนโยบายของชาติจึงสร้างความมั่นใจแก่ชาวจีนในการซื้อสินค้าปลีกที่มีคุณภาพจากต่างประเทศด้วยตนเอง และแบบถูกกฎหมาย ซึ่งในมุมมองของผู้บริโภคนับได้ว่า CBEC เป็นช่องที่ดีที่สุดในการเลือกซื้อสินค้าโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้นำเข้า (Trader) ที่เป็นตัวกลางในการกำหนดราคา และผูกขาดอำนาจการตัดสินใจซื้อแบบล็อตใหญ่จากต่างประเทศ
และในมุมมองของผู้ประกอบการ CBEC เป็นอีกหนึ่งในช่องที่ดีที่สุดในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยไม่ต้องลงทุนในการจัดตั้งคลังจัดเก็บสินค้า หรือจัดหาหุ้นส่วนทางธุรกิจ ณ ประเทศปลายทาง อีกทั้ง ช่องทางการตลาดในธุรกิจ CBEC ยังมีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำ และมีการจัดส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบสต็อกสินค้าที่คลังสินค้าทัณฑ์บนในจีน (Bonded Warehouse)
เมื่อผู้บริโภคชาวจีนส่งคำสั่งซื้อสินค้าจากแพลตฟอร์ม CBEC แล้ว สินค้าจะผ่านกระบวนการพิธีการศุลกากรและโลจิสติกส์อย่างรวดเร็ว โดยผู้บริโภคจะได้รับสินค้าภายใน 4-7 วัน ขณะที่การสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์แบบปกติจะใช้เวลามากกว่า 15 วัน
ปัจจุบันแพลตฟอร์มที่สามารถนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศจีน จะมีทั้งรูปแบบแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป เช่น ช่องทาง Taobao, Pinduoduo รวมไปถึงช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ที่อยู่ในรูปแบบของ Social-Commerce และ Mini-Program อาศัยช่องทาง C2C personal shipment สำหรับการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งต่อไปสู่ผู้ซื้อปลายทาง
(ภาพถ่ายโดย Andrea Piacquadio)
อีกรูปแบบหนึ่งคือ การผ่านแพลตฟอร์มเฉพาะสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนซึ่งมีอยู่หลายแพลตฟอร์มต่อไปนี้ เช่น หยังหม่าโถว, Tmall, Global, m.mia baobei, Jd. Global เป็นต้น
แพลตฟอร์ม CBEC ข้างต้นแสดงให้เห็นช่องทางการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภคชาวจีนภายในประเทศซึ่งทางรัฐบาลจีนได้เปิดเป็นแพลตฟอร์มเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับซื้อที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนต้องการซื้อสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ผ่านกฎระเบียบในแบบ CBEC ที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร และอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มกับภาษีสรรพสามิตในอัตราพิเศษ
สำหรับสินค้าไทยที่ต้องการส่งออกผ่านช่องทาง CBEC แบบ B2C และ B2B2C จะต้องเลือกใช้ช่องทางผู้ให้บริการโดยสามารถพิจารณาผู้ให้บริการ (CBEC Platform Provider) จากเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- การนำเสนอสินค้าบนแพลตฟอร์ม CBEC ของผู้ประกอบการหรือแพลตฟอร์ม CBEC ที่ได้จดทะเบียนกับศุลกากรจีน และสำนักงานพาณิชย์จีนในการเป็นผู้ประกอบการแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ได้รับอนุญาตทำหน้าที่เป็น Market Place สำหรับจำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศผ่านช่องทาง CBEC ทั้งนี้บริษัทที่จดทะเบียนเพื่อทำหน้าที่ CBEC Platform Provider ต้องเป็นบริษัทนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศจีน หรือฮ่องกง มาเก๊า
- ผู้ประกอบการ CBEC Platform Provider จะทำหน้าที่ตัวกลางในการเดินพิธีการศุลกากร และจัดการด้านภาษีนำเข้า ทำหน้าที่ตัวกลางรับชำระเงินทั้งในด้านการชำระค่าภาษีให้กับศุลกากรและรับชำระเงินสั่งซื้อสินค้าจากผู้ซื้อปลายทาง
- ผู้ประกอบการ CBEC Platform Provider จะทำหน้าที่ประสานงานกับผู้ประกอบการ โลจิสติกส์ แพลตฟอร์มการชำระเงิน ผู้ให้บริการคลังสินค้าในเขตปลอดอากรอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การเจาะตลาด สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้น และการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ รวมถึงบริการพร้อมเพย์ของรัฐบาลซึ่งอยู่ภายใต้โครงการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ
โดยนับตั้งแต่ปี 2557 บริษัทผู้ให้บริการด้านการจัดส่งสินค้าและโลจิสติกส์หลายแห่งเริ่มเปิดตัวแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย โดยนำการจัดส่งและโลจิสติกส์แบบครบวงจร (end-to-end) เข้ามาเป็นตัวแบบในการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ เริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ และการขนส่งสินค้าจากแหล่งผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคปลายทาง ด้วยเหตุนี้ทำให้ต้นทุนการจัดส่งอีคอมเมิร์ซสำหรับผลิตภัณฑ์ต่อชิ้นลดลงอย่างรวดเร็วจาก 1.30 ดอลลาร์ในปี 2558 เป็น 0.50 ดอลลาร์ในปี 2559
จึงส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทย ปัจจัยต่างๆ ดังที่กล่าวข้างต้นกลายเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการกระตุ้นกิจกรรมอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แสดงให้เห็นว่า CBEC ของไทยในปี 2558 มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 7 ของมูลค่าอีคอมเมิร์ซทั้งประเทศ ซึ่งถือว่ายังน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่า CBEC ทั่วโลกซึ่งมีสัดส่วนราวร้อยละ 20 ของมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซทั้งหมด
จากรายงานสถานการณ์การค้าปลีกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามแดนระหว่างจีนกับอาเซียน ในปี 2561 พบว่า ประเทศไทยเป็นคู่ค้าลำดับสองในอาเซียน รองจากประเทศอินโดนีเซีย โดยมีมูลค่า การค้าปลีกออนไลน์ทั้งการนำเข้าและส่งออก (Import and Export) ระหว่างไทย-จีนผ่านช่องทาง CBEC คิดเป็น 3,544 ล้านดอลลาร์ในปี 2561 และคาดว่าในปี 2565 จะมีมูลค่ารวมถึง 5,830 ล้านดอลลาร์ ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยตามโครงการ “Digital Thailand” ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2559
ทำให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีการปรับรูปแบบการดำเนินงานและการให้บริการที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของไทยที่ต้องการรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
ด้วยเหตุนี้ โอกาสทางการตลาด CBEC ของไทยจึงมีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 25 ซึ่งสูงกว่าตลาดค้าปลีกแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่ โดยการดำเนินธุรกิจข้ามแดนแบบ B2C คาดว่าจะเติบโตประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 หากเริ่มต้นก่อนก็จะถึงเส้นชัยก่อนนะครับ