เหตุการณ์ไม่คาดฝัน บริหารมันยังไงดี
ก่อนอื่นผมขอชี้แจงว่า บทความในวันนี้ผมไม่ได้มีเจตนาจะซ้ำเติมใครทั้งนั้นนะครับ
เพียงแค่อยากให้เหตุการณ์นี้เป็นกรณีศึกษาและให้ความรู้ทางการเงินกับคนทั่วไป
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาหลายๆท่านคงได้ยินข่าวเกี่ยวกับ คนขับรถเก๋งที่เมาแล้วขับเข้าไปชนร้านเฟอร์นิเจอร์แห่งหนึ่ง จนเกิดไฟไหม้ร้านและโรงงานกว่า 2 ไร่สูญเสียนับกว่า 80 ล้านบาท ซึ่งการสูญเสียในครั้งนี้ไม่ใช่แค่ข้าวของเสียหาย โรงงานที่ต้องปิดซ่อมแซมอีกหลายเดือน พนักงานกว่า 100 ชีวิต ที่เจ้าของร้านต้องดูแล รายจ่ายอีกมากมายที่เกิดขึ้น ในขณะที่ไม่มีรายรับเข้ามาเลย
แม้ครั้งนี้ เจ้าของร้านอาจฟ้องเรียกร้องความเสียหายจากคนขับรถเก๋งได้ แต่หากคนขับรถเก๋งไม่ได้มีเงินมาชดใช้ เจ้าของร้านผู้เสียหายคงต้องทำได้เพียงทำใจ เพราะกฎหมายสามารถเอาผิดได้แค่เพียงคดีเมาแล้วขับเท่านั้น
ในเมื่อกฎหมาย ทำได้เพียงเท่านี้ ผู้ก่อเหตุ ก็ไม่มีเงินจ่าย คนที่จะช่วยเราได้ ก็คงมีแค่ตัวเราเองเท่านั้น แต่ถ้าจะต้องเลือกระหว่าง รับมือกับความเสี่ยง กับ เลือกที่จะวางแผนรับมือหากเกิดเหตุขึ้น จะได้สูญเสียน้อยที่สุด ทางเลือกหลังดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าจริงไหมครับ? วันนี้ผมมีบทความดีดีจากนักวางแผนความเสี่ยงของบริษัท Wealth Creation International Co., Ltd. คุณปิติพงษ์ รุ่งเรืองวุฒิกุล CFP® จะมาแบ่งปันถึงวิธีการจัดการและบริหารความเสี่ยงในเรื่องนี้ให้กับทุกท่าน ดังนี้ครับ
"การวางแผนจัดการความเสี่ยง(Risk Management)" คำๆนี้ อาจจะไม่ใช่คำที่คุ้นหูกับ คนไทยเท่าไรนัก และเป็นสิ่งที่ หลายๆ คนละเลย ทั้งที่เป็น เรื่องสำคัญกับความมั่นคงในชีวิต ของเราอย่างมาก การวางแผนจัดการ ความเสี่ยง หากอธิบายให้ เข้าใจอย่างง่าย คือ การวางแผนจัดการกับ ความเสี่ยงของภัย ที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย ให้แก่ องค์กรหรือตัวบุคคล โดยมีเป้าหมายในการลดความเสียหาย จากความเสี่ยง ที่จะเกิดขึ้นให้ได้ มากที่สุด
วิธีการจัดการความเสี่ยง มีอยู่ 4 วิธี ด้วยกันคือ
1.การยอมรับความเสี่ยง (Riks Acceptance) คือการเลือกที่จะรับความเสี่ยงนั้นไว้เอง เหมาะกับ ความเสี่ยงที่เกิดได้ยาก และ ผลสูญเสียน้อย
2.การควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction) คือการเลือกที่จะควบคุม ลดสาเหตุ ที่จะเกิดความเสี่ยงนั้น เหมาะกับ ความเสี่ยงที่เกิดได้ง่าย และ ผลสูญเสียน้อย
3.การเลี่ยงความเสี่ยง ( Risk Avoidance) คือการเลือกที่จะหลีกเลี่ยง หรือ ไม่กระทำการที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงนั้น เหมาะกับ ความเสี่ยงที่เกิดได้ง่าย และ ผลสูญเสียมาก
4.การถ่ายโอนความเสี่ยง (Risk Transfer) คือการเลือกที่จะโอนถ่ายความเสี่ยงไปยังบริษัทที่รับโอนความเสี่ยง เช่น บริษัทประกัน เหมาะกับ ความเสี่ยงที่เกิดได้ยาก และ ผลสูญเสียมาก
หากนำ เหตุกาณ์ไฟไหมร้านค้า มาเป็นตัวอย่างนั้น จะวิเคราะห์ทำแผนจัดการความเสี่ยง ได้ดังนี้
- กรณีไฟไหม้จาก เครื่องจักรเสื่อมสภาพ เป็นความเสี่ยงที่เกิดได้ง่าย และ ผลสูญเสียมาก ควรเลือกเป็นวิธีการเลี่ยงความเสี่ยง โดยการ ทำตาราง การตรวจเช็คสภาพเครื่องเป็นประจำ หรือ การใช้เครื่องตัดไฟ หากเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
- กรณีไฟไหม้จาก การสูบบุหรี่ เป็นความเสี่ยงที่เกิดได้ง่าย และ ผลสูญเสียมาก ควรเลือกเป็นวิธีการเลี่ยงความเสี่ยง โดยการ ห้ามสูบบุหรี่ ในบริเวณร้าน
- กรณีไฟไหม้จาก ปัจจัยภายนอก เช่น อุบัติเหตุ เป็น ความเสี่ยงที่เกิดได้ยาก และผลสูญเสียมาก ควรเลือกเป็นวิธีการถ่ายโอนความเสี่ยง โดยการทำประกันอัคคีภัย
โดยหลังจากได้ แผนการจัดการความเสี่ยงจากเพลิงไหมร้านค้า แล้ว ต้องไม่ลืมตรวจสอบ ว่าแผนที่ได้ทำออกมานั้น ยังใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เช่น ตารางการตรวจเช็คสภาพเครื่องจักร นั้นมีการตรวจเช็คจริงหรือไม่ เครื่องตัดไฟ อยู่ในสภาพที่ใช้งานสมบูรณ์หรือไม่ มีการทบทวนกับพนักงานเรื่องการห้ามสูบบุหรื่หรือไม่ และที่ สำคัญอย่างยิ่งคือ
การทบทวนประกันอัคคีภัย ว่าทุนประกันนั้นครอบคุม สินทรัพย์ที่ต้องการประกันหรือไม่ เวลาผ่านไป สินค้าคงคลังอาจจะเยอะขึ้น ทุนประกันอาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด หรือ ตรวจสอบว่าประกันอัคคีภัยฉบับนั้น มีความครอบคลุมถึงสาเหตุของภัย เพียงพอหรือไม่ จากเหตุการณ์ที่รถพุ่งชนร้านค้านั้น หาก ประกันอัคคีภัยที่ร้านค้าถืออยู่ ไม่ได้ครอบคลุมถึงภัยจากยานยนต์ ร้านค้าก็ไม่สามารถรับเงินชดเชยความเสียหายจากประกันภัยได้
อ่านมาถึงตรงนี้ แล้ว หากผู้อ่านอยากจะจัดทำแผนจัดการความเสี่ยง สำหรับ ธุรกิจ ของตัวเอง สามารถเริ่มทำได้ จากการ วิเคราะห์ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้( Risk Analysis) แล้วทำการ ประเมินความเสี่ยง (Risk Assesment) ว่าโอกาสที่ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นนั้น มากน้อยเพียงใด และ ผลกระทบของความเสี่ยงนั้น มากน้อยแค่ไหน
แล้วจึงเลือกวิธีจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม และที่สำคัญ อย่าลืมตรวจเช็คว่า การบริหารความเสี่ยงของเรานั้น ดีพอหรือยัง ตัวอย่างที่เราสามารถทำได้เลย คือ การลองนำ ประกันรถยนต์ของท่านออกมาตรวจเช็คดูว่า ทุนประกันนั้น เพียงพอหรือไม่ หาก เราไปชนกับ รถคู่กรณี ที่มีราคาแพง หรือ ชนกับ สินทรัพย์ อาคาร ประกันเราจะจ่ายค่าเสียหายเพียงพอหรือไม่ หากท่านดูแล้ว ยังมีคำถามหรือยังไม่แน่ใจ ว่าสิ่งที่มีนั่นเป็นอย่างไร ทางเราขอแนะนำให้ท่านลองปรึกษานักวางความเสี่ยงที่ท่านรู้จัก ให้ช่วยดูแผนเพื่อปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุดนะครับ.