ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ตอบรับกับสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ ภาครัฐทยอยประกาศผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เพื่อเริ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่น ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ร้านเสริมสวยหรือร้านตัดผม ร้านอาหาร ศูนย์แสดงสินค้าและจัดประชุม สนามกีฬา สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจและเปิดให้บริการได้ภายใต้ข้อกำหนดที่ภาครัฐระบุไว้
ผู้บริโภคเองก็ต้องการที่จะกลับมาชีวิตตามปกติไม่แพ้กัน ผลสำรวจจาก Ipsos บริษัทสำรวจและวิจัยตลาดระดับโลกเผยว่า 4 กิจกรรมที่คนไทยอยากทำมากที่สุดหลังปลดล็อกดาวน์ คือ 1.ไปร้านตัดผม 2.ไปท่องเที่ยว 3.ไปรับประทานอาหารนอกบ้าน 4.ไปเดินเล่นหรือชอปปิงที่ห้างสรรพสินค้า อย่างไรก็ตาม แม้สถานที่ทำงานและห้างร้านจะกลับมาคึกคักการสัญจรบนถนนกลับมาหนาแน่นเช่นเคย
แม้เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีความเปราะบางมากขึ้น การบริโภคภาคเอกชนยังอ่อนแอ ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริโภคระมัดระวังและคิดมากขึ้นในการดำเนินชีวิตจากความกังวล 2 ด้านหลัก คือ 1.สุขอนามัยและความปลอดภัย 2.ความเป็นอยู่และปากท้อง จากความมั่นคงในอาชีพที่ลดลง รายได้ที่ลด ความไม่มั่นใจการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
หากมองสถานการณ์ในจีนซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้าประเทศอื่น การฟื้นตัวจากวิกฤติในจีนยังฟื้นตัวช้า เมื่อเทียบกับฝั่งผู้ประกอบการที่กลับมาเปิดให้บริการได้แล้วราว 90% และคาดว่า จะเป็นเช่นนี้จนกว่าจะมีการคิดค้นวัคซีนและผลิตออกมาเป็นจำนวนมากเพียงพอต่อประชากรโลกได้สำเร็จ แปลว่าช่วงเวลาอย่างน้อย 12-18 เดือนจากนี้ ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ตอบรับกับสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ สอดรับกับแนวทางบริโภครูปแบบใหม่ และอินไซท์ใหม่จากผู้บริโภคที่จะนำโอกาสใหม่ๆ เข้ามา
สองเทรนด์ที่สำคัญมากที่สุดในชั่วโมงนี้ไม่พ้น ‘Stay-At-Home Economy’ และ ‘Contactless-Clean-Cautious
‘Stay-At-Home Economy’ เป็นการนำแบรนด์เข้าไปอยู่ใน Personal Space ของผู้บริโภค เมื่อ ‘บ้าน’ กลายเป็น ‘Multifunctional Space’ ในการทำกิจกรรมหลากรูปแบบ ทั้งทำงาน-เรียน ชอปปิง ออกกำลังกาย เสพความบันเทิง หรือกระทั่งเข้าสังคม แบรนด์ต่างๆ จำเป็นต้องหาวิธีนำตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งใน Personal Space ของผู้บริโภค
เพิ่ม Availability ด้วย ออนไลน์ แชนนัล คนยังพร้อมลองของใหม่และบริการออนไลน์ต่างๆ ที่พวกเขาไม่ได้คิดจะใช้ในเวลาปกติ เช่น ออนไลน์ ชอปปิง ดิลิเวอรี่ อีเพย์เมนท์ ไลฟ์สตรีมมิ่ง ดังนั้น โอกาสจึงอยู่ในกำมือของคนที่สามารถนำช่องทางออนไลน์และเครื่องมือดิจิทัลมาผนวกกับกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอยู่เดิมได้อย่าวมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อ Maximize โอกาสเข้าถึงลูกค้าให้สูงที่สุด โดยเฉพาะกลุ่ม ‘Hibernate & spend’ ที่อายุประมาณ 18-44 ปี ซึ่งยังคงซื้อสินค้าต่างๆ ตามปกติแม้จะเก็บตัวอยู่บ้านก็ตาม
สร้างประสบการณ์-เชื่อมแบรนด์เข้ากับผู้บริโภคด้วยเทคโนโลยี ทำอย่างไรที่จะผูกใจให้ผู้บริโภคที่พร้อมเปลี่ยนไปใช้สินค้าจากแบรนด์อื่นหรือบริการอื่นนั้นประทับใจ ผูกพัน และยินดีที่จะเป็นลูกค้าของเราต่อไป ขณะที่ ‘Contactless-Clean-Cautious’ ทั้ง 3 อย่างนี้จะเป็นคาแรคเตอร์ใหม่ของผู้บริโภค
เริ่มที่ Contactless ผู้คนยังคงกังวลถึงความปลอดภัยการทำกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะ และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ให้บริการอยู่เช่นเดียวกัน ซึ่งผู้บริโภคจะมองหามาตรการรักษาความสะอาดและความปลอดภัยจากผู้ประกอบการในระยะยาว โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการบริการที่จะมี Human Contact ในพื้นที่ที่จำกัด เช่น ร้านอาหาร ร้านตัดผม-เสริมสวย คลินิกความงาม โรงแรม สายการบิน หรือขนส่งสาธารณะต่างๆ
Clean Generation เป็นเรื่องปกติไปแล้ว ที่ผู้บริโภคจะพกเจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ติดตัว จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการหลายๆ แห่ง เลือกใช้ Single-use Product เพื่อมอบความสบายใจให้ลูกค้าในช่วง New Abnormal นี้ เป็นที่น่าจับตามองว่าเราจะสร้างสมดุลระหว่าง Safety และ Sustainability อย่างไร หลังจากที่วิกฤตโควิด-19 จบลง
Cautions ผู้บริโภคระมัดระวังตัวมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ งดการเดินทางที่ไม่จำเป็นและระวังตัวเป็นอย่างมากในการใช้บริการขนส่งสาธารณะ และติดตามข่าวสารแบบเรียลไทม์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น หากต้องการดึงดูดให้ผู้บริโภคออกจากบ้านมาใช้บริการและจับจ่ายใช้สอยบน Physical Store การสื่อสารถึงมาตรการรักษาความสะอาดและความปลอดภัยให้ชัดเจนก็เป็นเรื่องธรรมดาๆ ที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม