เมื่อสหรัฐสูญเสียความเป็นผู้นำ ด้านนวัตกรรมของโลก
สิทธิบัตรเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดถึงความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรมในระดับโลก
ไม่กี่เดือนที่ผ่านมาสำนักข่าวรอยเตอร์ได้รายงานว่าประเทศจีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศอันดับหนึ่งในการยื่นจดสิทธิบัตรในระดับสากลเป็นครั้งแรกในปี 2019 โดยมีจำนวนถึง 58,900 สิทธิบัตร มากกว่าของสหรัฐที่มีจำนวน 57,840 สิทธิบัตร
ไม่เพียงเท่านั้นหัวเว่ยธุรกิจเทคโนโลยีสัญชาติจีนก็ได้ผงาดขึ้นมาเป็นบริษัทที่ยื่นจดสิทธิบัตรมากที่สุดในโลกซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางการกล่าวหาของของรัฐบาลสหรัฐเรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์จากการใช้เทคโนโลยีของหัวเว่ย
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ ดร.เอริก ชมิดต์ อดีตประธานผู้บริหารของกูเกิลยังได้ออกมาพูดเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาถึงความผิดผลาดของสหรัฐในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการลงทุนเป็นมูลค่าถึง2เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีแต่ในปัจจุบันมูลค่าได้ลดลงไปกว่านั้นมากซึ่งข้อมูลของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมได้อ้างว่าการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาของสหรัฐในปัจจุบันเป็นมูลค่าที่ต่ำสุดในรอบ60ปี
ไม่เพียงเท่านั้น ดัชนีชี้วัดอื่นๆอย่าง เช่น การตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการก็ส่งสัญญาณไปในทิศทางเดียวกันมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกาได้อ้างว่าในปี2018ประเทศจีนมีบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถึง528,263บทความซึ่งมากกว่าของสหรัฐที่มีจำนวน422,808บทความ
และเมื่อเจาะลึกลงไปในอุตสาหกรรมที่หลายฝ่ายคาดหวังว่า กำลังจะมีบทบาทมากในยุคต่อไปอย่างเช่น เอไอประเทศจีนได้มีการยื่นจดสิทธิบัตรถึง4,636สิทธิบัตร ในขณะที่สหรัฐได้ยื่นจดเพียง1,416สิทธิบัตรระหว่าง2018และ2019ซึ่งสิทธิบัตรด้านเอไอของจีนถือเป็น64.8เปอร์เซ็นต์ของโลกในช่วงปีนั้น
เมื่อเปรียบกับประเทศอื่นๆที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรมากที่สุดในโลกจะพบว่า ญี่ปุ่น เยอรมนี และเกาหลีใต้ เป็นอันดับที่3, 4,และ5 ที่ 52,660, 19,353และ19,085สิทธิบัตร และจะพบด้วยว่า ความจริงแล้วทวีปเอเซียได้เป็นผู้นำในด้านสิทธิบัตรเหนือกว่าประเทศโลกตะวันตกซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ก็เป็นผู้นำของโลกในด้านเทคโนโลยีมานานแล้ว
อย่างไรก็ดี เมื่อศึกษาภูมิรัฐศาสตร์ในยุคปัจจุบันจะเข้าใจได้ทันทีว่าสหรัฐเป็นพันธมิตรกับหลายชาติในเอเซียดังนั้นการชิงดีชินเด่นทางด้านเทคโนโนโลยีจึงไม่ใช้บริบทของเอเซียปะทะอเมริกาและยุโรปแต่กลับเป็นเรื่องราวของสหรัฐและพันธมิตรปะทะจีนและพันธมิตร
ซึ่งได้วิเคราะห์ว่าความสำเร็จของประเทศจีนในช่วงไม่กี่มีมานี้มีผลมาจากการที่รัฐบาลได้ให้เงินสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมภายในประเทศภายใต้โครงการ“ทำในประเทศจีน”ในขณะที่การพัฒนานวัตกรรมภายในสหรัฐส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของภาคเอกชนเอง
นี่เป็นอีกหนึ่งบริบทของการจัดอันดับใหม่ของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกที่เราคงจะได้เห็นต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้านี้ซึ่งย่อมเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับผู้คุ้นเคยกับการที่สหรัฐเป็นผู้นำของโลกในเกือบทุกด้านมาเกือบทั้งชีวิต