‘การศึกษา’ สิ่งที่คนไทยอยากนำภาษีไปพัฒนามากที่สุด

‘การศึกษา’ สิ่งที่คนไทยอยากนำภาษีไปพัฒนามากที่สุด

งาน iTAX 2020 เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ผู้ที่ลงทะเบียนในงานจะได้รับลูกบอล 1 ลูก เพื่อเลือกใส่กล่องที่คุณคิดว่า “อยากให้ภาษีไปไหน?”

เมื่อวันที่ 23 ถึง 25 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมาได้มีงานเทศกาลลดหย่อนภาษีประจำปี หรืองาน iTAX 2020 จัดขึ้นที่ศูนย์การค้าเมกา บางนา ในงานในวันนั้นผู้เข้าชมงานสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาภาษี วิธีการขอลดหย่อนภาษี รวมถึงเข้าไปฟังวิทยากรมากประสบการณ์ในงานทั้ง ดร. อาร์ม ตั้งนิรันดร คุณรวิศ หาญอุตสาหะ คุณณัฐพล ม่วงทำ และวิทยากรมากประสบการณ์อีกมากมาย แต่ในงานวันนั้นก็มีลูกเล่นอีกอย่างที่น่าสนใจมากๆ คือถ้าคุณเข้าไปลงทะเบียนในงานทางทีมงานจะให้ลูกบอลมาหนึ่งลูกเพื่อเอาไปเอาไปใส่กล่องว่าคุณ อยากให้ภาษีไปไหน?”

 

ในเกมนั้นเองมีตัวเลือกให้เลือกอยู่มากมายตั้งแต่ การศึกษา เศรษฐกิจ การเกษตร สาธารณสุข คมนาคม เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง และ ยุติธรรม ซึ่งในงานทั้งสองวันก็มีผู้เข้าชมงานจำนวนไม่น้อย ทำให้ผลออกมาก็ค่อนข้างเด่นชัด 3 กล่องที่มีคนใส่น้อยที่สุดได้แก่ ความมั่นคง ยุติธรรม และ การเกษตร และ 3 กล่องที่มีคนใส่มากที่สุดคือ สาธารณสุข คมนาคม และกล่องที่คนใส่เยอะที่สุดจนล้นออกมาเลยคือ การศึกษา มันมีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจมาก คืองานนี้จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร เมืองที่มีการศึกษาที่ดีที่สุดในประเทศไทย แต่ก็กลับกลายเป็นว่าเป็นสิ่งที่คนก็ยังอยากให้ปรับปรุงมากที่สุดเช่นเดียวกัน

 

เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1 เพื่อพิจารณา “ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณร่ายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565จำนวน 3.1 ล้านล้านบาท ซึ่งในที่นี้ทั้งในส่วนของกรมสาธารณสุข ที่จำเป็นอย่างยิ่งในช่วงที่โลกโควิด-19 ระบาดอยู่นี้ถูกปรับลดลงไปถึง 10.8 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่งบของการศึกษาที่เป็นอนาคตของชาติกลับถูกปรับลดลงถึง 5.5 เปอร์เซ็นต์ด้วยกัน ซึ่งได้ผ่านวาระแรกเรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้นเองพึ่งมีรายงานข่าวออกมาด้วยซ้ำว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมติการปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียนเป็น 21 บาท จากเดิม 20 บาท ซึ่งส่งผลให้เห็นถึงความยากไร้และขาดแคลนของทรัพยากรในการช่วยเหลือเด็กไทย และ อนาคตการศึกษาของบ้านเรา

 

ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาได้มีการทำวิจัยด้านการศึกษาขององค์กร PISA หรือ Program for International Students Assessment ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้กลุ่ม OECD หรือกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหมด 39 ประเทศทั่วโลก ซึ่งในแต่ละปีเขาจะวัดมาตรฐานของเด็กอายุ 15 ในแต่ละประเทศในเรื่องของ การอ่าน ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ จนไปถึง คณิตศาสตร์ ซึ่งทาง PISA เองจะทำรายงานออกมาทุกปีเปรียบเทียบเด็กในแต่ละภูมิภาคของโลก ในปีนี้เอง PISA ก็พึ่งออกรายงานที่มีชื่อว่า 21st Century Leaders : Developing Literacy Skills in A Digital World เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา

 

สิ่งแรกที่เขาเขียนมาในรายงานและเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากที่สุดคือ เขาเปรียบเทียบประเทศบนโลกว่าการศึกษาของประเทศนั้นๆเทียบเท่ากับประเทศไหน อย่างเช่น ประเทศที่การศึกษาดีที่สุดในโลกอย่างประเทศจีนในรายงานนี้ การศึกษาของประเทศจีนเทียบเท่ากับประเทศ สิงคโปร์ มาเก๊า ฮ่องกง ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ แคนาดา และ เอสโตเนีย ซึ่งการศึกษาของประเทศจีนได้คะแนนสูงถึง 555 คะแนน ส่วนคะแนนค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 484 ถึง 492 คะแนน แต่สำหรับบ้านเรา เราได้คะแนนอยู่ที่ 393 คะแนน ต่ำกว่าประเทศในแถบอาเซียนอย่าง สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน เวียดนาม แต่ก็ยังสูงกว่าประเทศอย่าง อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ ในรายงานนี้เขาบอกว่าการศึกษาของประเทศไทย พอๆกันกับประเทศอย่าง อัลบาเนีย บอสเนีย แอนด์ เฮอร์เซโกวีนา เปรู อาร์เจนติน่า ซาอุดิอาราเบีย อาร์เซไบจาน และ คาซัคสถาน ซึ่งในประเทศเหล่านี้ก็จะอยู่ในโซนอเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง และ ยุโรปตะวันออกเป็นหลัก

 

ในส่วนของการอ่านมีตัวเลขหนึ่งที่ผมตกใจเป็นอย่างมากครับ ในหัวข้อที่ว่า มุมมองของนักเรียนตอนทำข้อสอบนี้รู้สึกว่ายากเกินไปไหม ปรากฏว่าประเทศไทยมีค่าความห่างของคะแนนสูงที่สุดในบรรดา 42 ประเทศที่ทำข้อสอบนี้ ซึ่งนั้นหมายความความเลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กในกรุงเทพและเด็กในต่างจังหวัดห่างกันเป็นอย่างมาก มีรายงานของ PISA ประเทศไทยว่า ในเมืองกรุงการศึกษาของเด็กไม่ด้อยไปกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกามากนัก แต่เมื่อเอาเด็กในต่างจังหวัดมารวมกับเด็กในกรุงเทพมหานครจะกลายเป็นว่าการศึกษาของประเทศเราด้อยกว่าค่าเฉลี่ยของโลกค่อนข้างมาก

 

แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราทำได้ดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั่นคือเรื่องของอินเตอร์เน็ต ในช่วงระยะเวลา 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีเปอร์เซ็นต์ของนักเรียนที่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นถึง 40 % ทำให้ทุกวันนี้การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD แต่การจับใจความในการอ่าน การค้นหาข้อมูล หรือการตรวจสอบว่าเป็นข่าวจริงหรือข่าวเท็จก็ยังเป็นเรื่องที่เราต้องปรับปรุงและพัฒนาอีกมาก และยิ่งช่วงโควิดแบบนี้ ปริมาณการใช้สื่อออนไลน์ในการสอนเช่น Zoom ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆในช่วงที่ผ่านมา แต่การสอนแบบ Zoom ก็ยังใช้ได้เพียงแค่การบรรยายเท่านั้น กิจกรรมในห้องเรียนเช่น การพรีเซ้นต์ การตรวจการบ้าน การทำข้อสอบ ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ยากอยู่ แต่ทุกวันนี้ก็มีสิ่งที่เรียกว่า class for zoom ซึ่งจะช่วยทำให้การเรียนออนไลน์เป็นเรื่องที่สามารถทำให้ทั่วถึงทุกที่ได้ครับ

 

ปัญหาช่องว่างทางการศึกษาก็ยังคงเป็นเรื่องที่น่ากังวลอยู่ เพราะแค่การศึกษาในหัวเมืองหรือโรงเรียนประจำจังหวัดกับโรงเรียนในชนบทยังห่างไกลจึงถือว่าเป็นเรื่องยากที่ประเทศไทยจะก้าวหน้ากว่านี้ และจะยิ่งทำให้ความเลื่อมล้ำทางสังคมสูงมากขึ้นเรื่อยๆ มีข้อมูลอันหนึ่งที่ผมสงสัยเกี่ยวกับประเทศที่มีการศึกษาใกล้เคียงกับประเทศไทย อย่าง อัลบาเนีย เปรู และ บอสเนีย แอนด์ เฮอร์เซโกวีนา นั่นก็คือข้อมูลของประเทศที่มีอัตราการทำคอรัปชั่นสูงที่สุดในโลก ประเทศไทยเราได้อันดับที่ 104 เช่นเดียวกันกับประเทศอัลบาเนียที่อยู่อันดับเดียวกัน ประเทศเปรูได้อันดับที่ 94 ประเทศบอสเนีย แอนด์ เฮอร์เซโกวีนาได้อันดับที่ 111 ของโลก เรียกได้ว่าอันดับใกล้เคียงสูสีกันเลย คราวนี้เมื่อมาดูประเทศที่มีอัตราการคอรัปชั่นต่ำที่สุดในโลกจะมี เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ฟินแลนด์ และ สวีเดน ซึ่งก็เป็นประเทศที่มีการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกเช่นเดียวกัน ดังนั้น แล้วถ้าอยากให้ประเทศไทยมีการทำคอรัปชั่นที่น้อยลง ต้องทำให้การศึกษาของประเทศสูงขึ้นครับ.