ความหวัง! เปิดประเทศ และต่อลมหายใจ SME งบแสนล้าน
ความหวังประชาชน! เปิดประเทศ และต่อลมหายใจผู้ประกอบ SME หรือธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ด้วยงบแสนล้านบาทจากรัฐบาล
ดูเหมือนสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ของไทย จะดีขึ้นเพราะผู้ติดเชื้อลดลงบ้างแล้ว ความหวังที่จะผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์คือความหมายจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจจากวิกฤติไวรัสระบาด
ตลอดช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ชาวบ้านชาวเมือง พ่อค้าแม่ขาย นักธุรกิจรายเล็กรายใหญ่ ต้องแบกรับรายจ่ายมากกว่ารายรับ จนอาจสิ้นเนื้อประดับตัว หรือแม้แต่ลมหายใจก็ตามที
ไม่แปลก! เมื่อซูเปอร์โพล (SUPER POLL) สำรวจภาคสนาม เรื่อง ความหวังและการบั่นทอนใจในสถานการณ์โควิด-19 กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21 – 24 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.3 เริ่มมีความหวังต่อการเปิดประเทศและฟื้นตัวเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย ในขณะที่ร้อยละ 30.7 ไม่มีความหวัง (อ้างอิง - "ซูเปอร์โพล" ชี้ประชาชนหวังเปิดประเทศฟื้นเศรษฐกิจ)
กล่าวคือ จะพูดง่ายๆ คือคนส่วนใหญ่หวังถึงการเปิดประเทศจะช่วยฟื้นตัวเศรษฐกิจ แม้ว่าโควิดจะยังระบาดอยู่ เหมือนยอมรับความจริงว่า ต้องเสี่ยงกับการเปิดประตูออกจากบ้านเพื่อทำกิจกรรมกิจการเพื่อความอยู่รอด
แน่นอนว่า การจะออกนอกบ้านไปทำกิจธุระและธุรกิจแบบมือเปล่า ในกระเป๋าไม่มีเงินเลยคงไม่ใช่ ดังนั้นการค้าขายการเจรจาต่างๆ ยอมต้องหาทุนรอนมาดำเนินการ
ดังนั้น ความหวัง! จากรัฐบาลคือเงินทุน จะเป็นอย่างไรนั้น เงื่อนไขและความรวดเร็วในการการดำเนินการคือเรื่องสำคัญต้องติดตามด่วน
การที่ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 ก.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ได้เสนอกรอบดูแลผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี SME ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการ โดยกรอบที่เสนอในระยะแรกมีวงเงินประมาณ 100,000 ล้านบาท (แสนล้าน) อ้างอิง- รัฐเตรียมออกมาตรการช่วยเอสเอ็มอีวงเงินกว่าแสนล้าน
แต่ยังต้องรอ "รายละเอียด" และมาตรการ ซึ่งขอให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว อย่าชักช้าเพราะลมหายใจของผู้ประกอบการขนาดและขนาดกลาง จะไม่ไหวแล้ว
คงทราบกันดีว่า การที่โควิดระบาดหนักในกรุงเทพฯและปริมณฑล ทำงานแรงานทั้งในระบบและนอกระบบ หันหลังให้เมืองหลวงกลับไปพักรักษาตัวที่บ้านเกิดภูมิลำเนาต่างจังหวัด
แม้ว่า แรงงานจะได้รับ "เงินเยียวยา" ตามที่ รมว.คลัง ระบุว่า 2 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือแรงงานผ่านระบบประกันสังคม มาตรา 33, มาตรา 39, และ มาตรา 40
มาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ซึ่งรัฐบาลให้เงินโดยใช้หลักเกณฑ์ตามจำนวนของลูกจ้าง รายละ 3,000 บาท แต่ไม่เกิน 200 คน ดังนั้น เอสเอ็มอี 1 ราย หากมีลูกจ้างจำนวน 200 คน จะได้รับเงินช่วยเหลือกว่า 600,000 บาท ซึ่งเป็นการเติมสภาพคล่องในช่วงที่ปิดกิจการ
มาตรการทางด้านการเงิน ทั้งด้านสินเชื่อ และการพักชำระหนี้ โดยสถาบันการเงินทุกแห่งพร้อมให้การช่วยเหลือ โดยเฉพาะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐ ทั้งการพักชำระหนี้ และการยืดเวลาการชำระหนี้ รวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ด้วย
การเติมสภาพคล่อง เช่น ธนาคารออมสิน ที่ขาดสภาพคล่องก็สามารถนำที่ดินมาใช้กู้เงินได้ เอสเอ็มอีแบงก์ ที่รับเงินจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มาปล่อยสินเชื่อ
ทั้งนี้ เอสเอ็มอีของไทยมีกว่า 3 ล้านราย แต่ที่เข้ามาอยู่ในระบบไม่มาก ปัญหาส่วนหนึ่งคือมีหนี้สินหลายแบงก์ และธุรกิจไม่ได้ประสบความสำเร็จมาก่อน อาจจะไม่ได้เข้าเงื่อนไขของแบงก์
ส่วนโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่ผู้จบการศึกษาใหม่ หรือ โค-เพย์เมนต์ ช่วยเหลือการจ้างงานคนละครึ่ง คณะกรรมการใช้จ่ายเงินกู้ได้เสนอกรอบเรื่องการจ้างงานให้ ครม. พิจารณาแล้ว ส่วนรูปแบบจะเป็นอย่างไรต้องรอติดตาม ซึ่งมาตรการนี้นับเป็นมาตรการที่สำคัญในการช่วยรักษาการจ้างงาน
มาตรการเหล่านี้ คือ "ความหวัง" ของแรงงาน และผู้ประกอบการ ที่ต้องรอ..ว่าจะช่วยให้ชีวิตมีทางเดินต่อ มีลมหายใจทางธุรกิจ ในการต่อสู้วิกฤติเศรษฐกิจจากอุบัติการณ์โรคระบาดราวสงครามโลก