‘จีน’สกัดเงินสกุลดิจิทัลอื่นโต ปลุกเชื่อมั่น‘เงินหยวนดิจิทัล’
สัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลจีนได้ออกประกาศให้การทำธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เงินสกุลดิจิทัล (Cryptocurrency) เป็นเรื่องผิดกฎหมาย การประกาศครั้งนี้ เป็นมาตรการที่ค่อนข้างจะรุนแรงมากกว่าทุกครั้ง เสมือนห้ามทำธุรกรรม ที่เกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัลทั้งหมดอย่างถาวร
สัปดาห์ที่แล้วรัฐบาล จีน ได้ออกประกาศให้การทำธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เงินสกุลดิจิทัล (Cryptocurrency) เป็นเรื่องผิดกฎหมาย แม้จะไม่ได้สร้างความแปลกใจกับคนที่อยู่ในวงการนี้มากนักเพราะรัฐบาลจีนได้ออกมาตรการต่างๆ ตั้งแต่ ปี 2013 ที่ห้ามสถาบันการเงินทำธุรกรรม เงินสกุลดิจิทัล และยังห้ามมีศูนย์แลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัลปี 2017 ด้วย ล่าสุดสั่งให้หยุดทำเหมืองขุดเงินดิจิทัลโดยเฉพาะเหรียญบิตคอยน์ ทั้งที่แหล่งใหญ่ในการขุดกว่า 70% อยู่ที่ประเทศจีน
แต่การประกาศครั้งนี้ เป็นมาตรการที่ค่อนข้างจะรุนแรงมากกว่าทุกครั้ง เสมือนห้ามทำธุรกรรม ที่เกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัลทั้งหมดอย่างถาวร รวมไปถึงห้ามศูนย์แลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัลต่างๆ ทำธุรกรรมกับพลเมืองจีนด้วย และอาจรวมไปถึงหากพลเมืองจีนถือเงินสกุลดิจิทัลใดๆ ก็ถือว่าผิดกฎหมาย
อดคิดไม่ได้ว่า ต่อไปคนต่างชาติเข้าประเทศจีนแล้วถือเงินสกุลดิจิทัลไว้ และไปทำธุรกรรมการเงินดิจิทัลจะโดนจับเพราะผิดกฎหมายหรือไม่ อาจมีผลให้ศูนย์แลกเปลี่ยนเงินดิจิทัล ต้องหยุดรับลูกค้าที่เป็นพลเมืองจีนแม้อยู่นอกประเทศจีนหรือไม่
การประกาศของจีน ทำให้มูลค่าเงินสกุลดิจิทัลต่างๆ ตกลงมา 8% ในวันแรกที่ประกาศ แต่ดีดกลับขึ้นวันหลัง และไม่ได้สร้างความหวั่นไหวให้ตลาดแลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัลมากนัก เพราะหลายคนมองว่า ตลาดค้าขายเงินสกุลดิจิทัลเป็นตลาดใหญ่ที่เป็นสากล และไร้พรมแดน เป็นเรื่องค่อนข้างยากที่รัฐบาลจีนควบคุมเบ็ดเสร็จ
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Statista ในปี 2019 เคยสุ่มสำรวจผู้คนในหลายประเทศว่า เคยใช้หรือถือเงินสกุลดิจิทัลหรือไม่ พบว่า คนจีนถึง 11% ระบุว่าเคย หากดูจากจำนวนประชากรจีนถือว่าสูงมาก และเมื่อเทียบผู้ตอบแบบสำรวจจากสหรัฐ พบว่า มีตัวเลขเพียง 5% ส่วนประเทศที่มีเปอร์เซ็นต์สูงสุดคือ ตุรกี สูงถึง 20% ตามด้วยบราซิล โคลัมเบีย อาร์เจนติน่า และแอฟริกาใต้ ที่มากกว่า 16%
จากข้อมูลที่สำรวจเห็นได้ว่าประเทศที่ “เคยใช้” เงินสกุลดิจิทัลอยู่อันดับต้นๆ เป็นกลุ่มประเทศที่มีค่าของสกุลเงินในประเทศค่อนข้างอ่อนไหวและมีความเสี่ยงต่อการเกิดเงินเฟ้อ ตรงข้ามกับจีนและสหรัฐอเมริกาที่มีสกุลเงินค่อนข้างมั่นคง
การออกมาแบนเงินสกุลดิจิทัลรัฐบาลจีน อาจสวนทางกับรัฐบาลเวเนซูเวล่า ที่กลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ยอมให้บิตคอยน์ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ท่ามกลางความเห็นที่แตกแยกประชาชน เพราะบางส่วนกังวลว่า หากประชาชนรับการใช้บิตคอยน์อาจทำให้สกุลเงินหลักประเทศตัวเองขาดเสถียรภาพ เกิดปัญหาเงินเฟ้อมากขึ้น ปรากฎการณ์นี้เคยเกิดขึ้นในตุรกีจนทำให่้รัฐบาลต้องออกมาแบนเงินสกุลดิจิทัล
กรณีของจีนและตุรกี อาจทำให้รัฐบาลประเทศอื่นหลายประเทศต้องหามาตรการทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในการใช้สกุลเงินของประเทศตัวเอง
จุดประสงค์เงินสกุลดิจิทัลคาดหวังว่าจะนำมาใช้ในการแลกเปลี่ยนทดแทนเงินสกุลทั่วไป (Fiat currency) ที่ใช้ธนบัตร เพราะเงินสกุลดิจิทัลใช้บล็อกเชนไม่ต้องผ่านหน่วยงานกลางและโอนเงินได้รวดเร็วขึ้น แต่ด้วยความอ่อนไหวสกุลเงินเหล่านี้ ทำให้ค่าเงินสกุลดิจิทัล ขึ้นลงเร็วมาก จนไม่สามารถใช้งานตามวัตถุประสงค์เดิม เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่อ่อนไหวสูง การแลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัลจึงเป็นการลงทุนสินทัพย์ดิจิทัลที่เสี่ยง บางคนบอกว่าศูนย์แลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัลเปรียบเสมือนคาสิโนดิจิทัลสำหรับนักลงทุนที่ชอบความเสี่ยงสูงมาก
แม้ช่วงหลังมีหลายองค์กรพยายามออกเงินสกุลดิจิทัลที่มีเสถียรภาพ (Stable coin) ทโดยมีสินทรัพย์จริงอย่างเงินดอลล่าร์ในการค้ำประกัน เช่นกันกับ Facebook ได้มีแนวคิดร่วมกับหลายบริษัทที่จะออกเงินสุกล Libra แต่ก็ถูกต่อต้านจากธนาคารกลางในหลายประเทศจนทำให้โครงการไม่ได้รับความยอมรับ และในระยะหลังธนาคารกลางในหลายประเทศ
รวมทั้งประเทศจีนมีแนวคิดในการออกสกุลดิจิทัลที่มีเสถียรภาพซึ่งผูกกับสกุลเงินธนบัตรของตัวเองหรือที่เรียกว่า CDBC (Central Bank Digital Currency) ก็ยิ่งทำให้แนวคิดที่หน่วยงานอื่นๆที่จะออกเงินสกุลดิจิทัลที่มีเสถียรภาพของตัวเอง หรือการนำเงินสกุลดิจิทัลอื่นๆ มาใช้ทำธุรกรรมในการชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ก็อาจเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น
จุดประสงค์เงินสกุลดิจิทัลคาดหวังว่าจะนำมาใช้ในการแลกเปลี่ยนทดแทนเงินสกุลทั่วไป (Fiat currency) ที่ใช้ธนบัตร เพราะเงินสกุลดิจิทัลใช้บล็อกเชนไม่ต้องผ่านหน่วยงานกลางและโอนเงินได้รวดเร็วขึ้น แต่ด้วยความอ่อนไหวสกุลเงินเหล่านี้ ทำให้ค่าเงินสกุลดิจิทัล ขึ้นลงเร็วมาก จนไม่สามารถใช้งานตามวัตถุประสงค์เดิม เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่อ่อนไหวสูง การแลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัลจึงเป็นการลงทุนสินทัพย์ดิจิทัลที่เสี่ยง บางคนบอกว่าศูนย์แลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัลเปรียบเสมือนคาสิโนดิจิทัลสำหรับนักลงทุนที่ชอบความเสี่ยงสูงมาก
แม้ช่วงหลังมีหลายองค์กรพยายามออกเงินสกุลดิจิทัลที่มีเสถียรภาพ (Stable coin) ทโดยมีสินทรัพย์จริงอย่างเงินดอลล่าร์ในการค้ำประกัน เช่นกันกับ Facebook ได้มีแนวคิดร่วมกับหลายบริษัทที่จะออกเงินสุกล Libra แต่ก็ถูกต่อต้านจากธนาคารกลางในหลายประเทศจนทำให้โครงการไม่ได้รับความยอมรับ และในระยะหลังธนาคารกลางในหลายประเทศ
รวมทั้งประเทศจีนมีแนวคิดในการออกสกุลดิจิทัลที่มีเสถียรภาพซึ่งผูกกับสกุลเงินธนบัตรของตัวเองหรือที่เรียกว่า CDBC (Central Bank Digital Currency) ก็ยิ่งทำให้แนวคิดที่หน่วยงานอื่นๆที่จะออกเงินสกุลดิจิทัลที่มีเสถียรภาพของตัวเอง หรือการนำเงินสกุลดิจิทัลอื่นๆ มาใช้ทำธุรกรรมในการชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ก็อาจเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น
การแบนเงินสกุลดิจิทัลของจีนก็อาจแฝงไปด้วยนัยยะที่รัฐบาลจีนได้เริ่มทดลองใช้เงินหยวนดิจิทัลซึ่งเป็น CBDC แล้ว เงินหยวนดิจิทัลก็ใช้หลักการของเทคโนโลยีดิจิทัลเช่นเดียวกับเงินสกุลดิจิทัลต่างๆ ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการทำธุรกรรม มีกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital wallet) ในการเก็บเงิน แต่ทั้งหมดควบคุมโดยรัฐบาลจีน ซึ่งจีนคาดหวังว่า ผู้คนทั่วโลกจะมาใช้เงินหยวนดิจิทัลในการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ มากขึ้น และในอนาคตก็อาจสามารถเข้ามาแข่งกับเงินสกุลหลักอย่างเงินดอลล่าร์ของสหรัฐอเมริกา
ดังนั้นจึงไม่เแปลกที่จีนจะต้องแบนเงินสกุลดิจิทัลอื่นๆ เพราะต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนหันมาใช้เงินหยวนดิจิทัลเป็นเงินสกุลดิจิทัลหลักที่รัฐบาลจีนสามารถควบคุมและตรวจสอบเส้นทางการเงินต่างๆ ได้ ขณะเดียวกันป้องกันไม่ให้ประชาชนไปใช้เงินสกุลดิจิทัลอื่นๆ ทำธุรกรรมที่รัฐบาลไม่สามารถตรวจสอบได้ และกลายเป็นช่องทางในการฟอกเงิน ตลอดจนการทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมายต่างๆ
การแบนเงินสกุลดิจิทัลต่างๆ และโอกาสของ CDBC ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกมาก ในตอนหน้าผมจะมาวิเคราะห์ถึงโอกาสของเงินหยวนดิจิทัลในตลาดโลก หากจีนสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการใช้เงินสกุลนี้ให้ประชากรจีนได้