เปิดมุมมองประธานสภาหอการค้าไทย : APEC กับอนาคตการเดินทางเพื่อธุรกิจ
เปิดมุมมอง "สนั่น อังอุบลกุล" ประธานสภาหอการค้าไทย และเจ้าภาพของการประชุม APEC CEO Summit ในทัศนะประเด็น APEC กับอนาคตการเดินทางเพื่อธุรกิจ
เมื่อพูดถึงการเดินทางเพื่อธุรกิจ "สนั่น อังอุบลกุล" คือผู้เชี่ยวชาญที่มีมากกว่าความเชี่ยวชาญการถ่ายทอดความรู้ ในบทบาทของประธานหอการค้าไทย (TCC) และเจ้าภาพของการประชุม APEC CEO Summit ซึ่งเป็นการประชุมของนักธุรกิจระดับสูง จัดขึ้นควบคู่ไปกับการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก หรือ APEC
สนั่น กล่าวว่า นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ที่ได้จัดงานในรูปแบบของการประชุมแบบเห็นหน้ากัน โดย APEC 2022 นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับภาคธุรกิจและคนไทย ซึ่งกว่าจะเวียนกลับมายังประเทศไทย ต้องรออีก 20 ปี
APEC เป็นเวทีเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่มีสมาชิก 21 ประเทศ ทั่วเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งเมื่อปี 2532 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ในลักษณะที่ไม่ผูกพันทางกฎหมายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สมาชิกกลุ่ม APEC มีประชากรรวมกันกว่า 2,900 ล้านคน ครองสัดส่วน 60% ของ GDP โลก ซึ่งนอกจาก 21 ประเทศสมาชิกในเขตเศรษฐกิจแล้ว ประเทศไทยยังได้ต้อนรับผู้นำของซาอุดิอาระเบีย ฝรั่งเศส และจีนที่มาร่วมงานด้วย ลำพังซาอุดิอาระเบียเพียงประเทศเดียวก็ขนคณะนักเดินทางเพื่อธุรกิจมาประเทศไทยมากกว่า 800 คน
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคว้าโอกาสที่บุคคลสำคัญจากภาครัฐและเอกชนของประเทศสมาชิกเขตเศรษฐกิจ และประเทศที่ได้รับเชิญจะมาพบกันที่กรุงเทพฯ ภาคธุรกิจของไทยจึงได้จับมือกันจัดตั้ง "สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค" (APEC Business Advisory Council) หรือ ABAC ขึ้นเพื่องานนี้ ประกอบด้วย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ทั้ง 3 องค์กรยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร.
สนั่น ให้ความเห็นว่า ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนรัฐบาลที่มุ่งเน้นไปที่แนวคิด "เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล" (Open Connect Balance) ประเด็นด้านการค้า การลงทุน และการทำธุรกิจข้ามชาติจะถูกหยิบยกขึ้นมาหารืออย่างใกล้ชิด เมื่อพวกเขามาพบปะกัน และทุกคนหวังว่าจะสามารถปลดล็อกอุปสรรคได้ ซึ่งนอกเหนือจากการเจรจาระดับนานาชาติแล้ว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย (SMEs) ยังสามารถเรียนรู้จากอีก 21 ประเทศสมาชิก APEC ได้อีกด้วย ซึ่งจะได้รับทั้งความมั่นใจและศักยภาพในระดับต่อไป
"ABAC ทำงานอย่างหนัก เพื่อคว้าโอกาสในการประชุมครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยได้นำเสนอประเด็นสำคัญ 5 ประการ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้นำโลก ได้แก่ การบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และความยั่งยืนของภาคการเงินและเศรษฐกิจ"
สนั่น กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยแข็งแกร่งในภาคการเกษตร เมื่อเน้นประเด็นนี้ ประเทศตะวันตกอาจจะไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ต้องทำให้พวกเขาเข้าใจ และแสดงให้เห็นว่า ประไทยมีความพร้อม อีกทั้งโอกาสสำหรับประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ APEC 2022 นั้น ไม่อาจประเมินค่าได้ และจะส่งผลอย่างหลวงในระยะยาว โดยจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ผู้นำแต่ละประเทศได้พาตัวแทนทั้งสื่อและนักธุรกิจมาด้วย กลุ่มนักธุรกิจจะกลับมาอีก และพาครอบครัว เพื่อนฝูงมาเที่ยวประเทศไทย การประชุม APEC จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน แต่พวกเขามาถึงก่อนที่การประชุมจะก่อนหน้าแล้วหลายสัปดาห์
สนั่น เสริมด้วยว่า ประเทศไทยเป็นที่รู้จักมากในเรื่องการต้อนรับอย่างอบอุ่นแก่ผู้มาเยือน โดยเชื่อว่าทุกคนที่มาประเทศไทยจะตกหลุมรักประเทศไทย และเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจที่เข้าร่วมการประชุม APEC 2022 หอการค้าไทยและพันธมิตรทางธุรกิจ ได้คัดเลือกนักธุรกิจและผู้ประกอบการวัยหนุ่มสาว มาฝึกอบรมด้านการบริการอำนวยความสะดวก ซึ่งกิจกรรมนี้ จะทำให้พวกเขาสามารถพัฒนาทัศนะเกี่ยวกับโลก และได้รับประสบการณ์จากการทำงานร่วมกับผู้บริหารธุรกิจจากประเทศอื่นๆ
นอกจากนั้น ยังได้เล่าถึงประสบการณ์จากการดำรงตำแหน่งประธานองค์การนักบริหารระดับสูงโลกแห่งประเทศไทย (World President Organization) หรือ WPO เมื่อหลายปีก่อน
"นักเดินทางเพื่อธุรกิจต้องการการอำนวยความสะดวกที่มีความยืดหยุ่น การบริการสุดพิเศษที่เกินความคาดหมาย ผมเดินทางมามาก ถ้าต้องลงจากเครื่องบินตอนตี 1 ผมไม่จำเป็นต้องรบกวนคนขับรถของผม ผมสามารถใช้บริการพิเศษ และก็ต้องรู้ว่า บริการนั้นพร้อมใช้งานได้"
ดังนั้น นักเดินทางเพื่อธุรกิจ ให้ความสำคัญกับการได้รับยกเว้นการต่อแถวยาวที่จุดตรวจคนเข้าเมือง ด้วยการผ่านช่องทาง "quick lane" เมื่อเดินทางถึงประเทศใดประเทศหนึ่ง นี่คือความสะดวกสบายที่นักเดินทางมองหา
สำหรับ APEC 2022 สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้เปิด "fast lane" สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมอย่างเป็นทางการ ถ้ามีบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค "APEC Business Travel Card" ก็สามารถใช้ช่องทางนี้ได้ และการมีบัตรสิทธิพิเศษจะทำให้พวกเขาได้บริการที่ดี เช่น ผู้ช่วยส่วนตัว บริการห้องรับรองที่สนามบินกว่า 600 สนามบินทั่วโลก หรือรถลีมูซีนทั้งในและต่างประเทศ ที่เข้าใจความต้องการของนักเดินทางเพื่อธุรกิจ
สำหรับบัตร พริวิเลจ เอบีทีซี (ABTC Privilege Card) เป็นบัตรพริวิเลจสำหรับนักธุรกิจเอเปคไทยที่ถือบัตรเอเปค APEC Business Travel Card (ABTC) เป็นบัตรสิทธิพิเศษที่จะทำให้ผู้ถือบัตรได้รับสิทธิพิเศษที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์การเดินทางเพื่อธุรกิจ ดำเนินการโดยบริษัท World Reward Solutions หนึ่งในธุรกิจภายใต้กลุ่มดับบลิวอาร์เอส (World Reward Solutions) ของไทย ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านลักชัวรีไลฟ์สไตล์ ให้แก่บุคคลที่มีความมั่งคั่งและลูกค้าระดับ VVIP สำหรับองค์กรและบุคคล
ส่วนนักธุรกิจไทย สามารถรับสิทธิประโยชน์จากบัตรพริวิเลจ เอบีทีซี ได้แล้วเช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
บัตร Privilege ABTC Card
ชื่อบัตรภาษาไทย : บัตรพริวิเลจ เอบีทีซี
ประเภทบัตร : บัตรสิทธิพิเศษ
บัตรนี้ใช้รับสิทธิพิเศษตามสถานที่และร้านค้าที่ร่วมรายการ ไม่สามารถใช้แทนเงินสดเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการ และไม่สามารถใช้แทนบัตรเอเปค APEC Business Travel Card (ABTC) ได้ บัตรมีอายุ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ชำระเงินค่าสมัครครบถ้วน
สำหรับบัตร Privilege ABTC Card มี 3 ระดับ คือ
- APEC Prestige Ultimate - บัตรสีดำ บัตรระดับบนสุด มีค่าสมาชิก 60,000 บาท/ปี
- APEC Prestige Premier - บัตรสีแดง บัตรระดับกลาง มีค่าสมาชิก 20,000 บาท/ปี
- APEC Prestige Explorer - บัตรสีน้ำเงิน บัตรระดับแรก ไม่เสียค่าสมาชิกรายปี
สามารถสมัครเพื่อรับสิทธิประโยชน์ สำหรับผู้ถือบัตร APEC Business Travel Card (ABTC) ไทย ที่ยังไม่หมดอายุ อ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Privilege ABTC Card หรือโทร. 02-113-4838