'มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม' ทศวรรษแห่งการพลิกเกษตรดั้งเดิมสู่เกษตรยั่งยืน

'มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม' ทศวรรษแห่งการพลิกเกษตรดั้งเดิมสู่เกษตรยั่งยืน

"มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม" ทศวรรษแห่งการปรับเปลี่ยนสู่การทำเกษตรสมัยใหม่อย่างยั่งยืน เน้นเทคโนโลยีและแนวคิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างรายได้ที่มั่นคงขึ้น ดันอ้อยสด ลดฝุ่น เพื่อโลก

เกษตรกรไทย กำลังเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน ทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น และผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิต หลายคนยังคงใช้วิถีการทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่สืบทอดกันมายาวนาน อย่างการเก็บเกี่ยวอ้อยที่ใช้การเผาเพื่อให้ง่ายต่อการตัดและทำให้หาแรงงานได้ง่ายกว่า แม้จะช่วยลดภาระในการตัดอ้อย แต่กลับสร้างผลกระทบทั้งมลพิษทางอากาศและปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรเปิดรับแนวทางใหม่ๆ และปรับเปลี่ยนไปสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งเน้นเทคโนโลยีและแนวคิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืน ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างรายได้ที่มั่นคงขึ้น

ไพฑูรย์ ประภาถะโร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานอ้อย กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า กลุ่มมิตรผล มุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำเกษตรดั้งเดิมสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ผ่านการถ่ายทอดแนวคิด มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม มาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี โดยเริ่มต้นที่การปรับตัวภายในองค์กรก่อน เพื่อแสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนผ่านแปลงสาธิตและเดินหน้าถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับ ชาวไร่ อย่างต่อเนื่อง พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิตอ้อยต่างๆ เช่น เงินทุน ปุ๋ย ระบบชลประทาน/น้ำหยด ระบบ Solar Farm และเครื่องจักรกลการเกษตรในทุกขั้นตอน พร้อมโครงการรับซื้อใบอ้อยที่มีมาเป็นเวลากว่า 7 ปี โดยในปีนี้กลุ่มมิตรผลรับซื้อใบอ้อยในราคาตันละ 900 บาท ตั้งเป้ารับซื้อกว่า 700,000 ตัน เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนที่สร้างได้จากภาคเกษตร

\'มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม\' ทศวรรษแห่งการพลิกเกษตรดั้งเดิมสู่เกษตรยั่งยืน

ด้านความยั่งยืน โดยเฉพาะการรักษาสิ่งแวดล้อมและอากาศสะอาดจากการงดเผาในที่โล่งของภาคเกษตรกรรม จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งการทำเกษตรสมัยใหม่ที่มาพร้อมกับแนวคิด "มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม" ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม โดย กลุ่มมิตรผล เชื่อว่าหากทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง ปริมาณ อ้อยสด จะเพิ่มขึ้นได้อย่างแน่นอน

พิมล สุภาพเพชร ประธานกลุ่มหนองแซงโมเดล อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ กล่าวถึง จุดเปลี่ยนของการ ทำไร่อ้อย ในชุมชนว่า ย้อนกลับไปช่วงปี 2553-2554 เกษตรกรในชุมชนหนองแซงประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก การทำไร่อ้อยยังคงเป็นไปอย่างกระจัดกระจาย ต่างคนต่างทำ ไม่มีระบบที่ชัดเจน ต่อมาทางกลุ่มมิตรผลได้เข้ามาแนะนำแนวทางการทำเกษตรสมัยใหม่แบบมิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม ซึ่งช่วยให้การทำไร่อ้อยมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวทางดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่การจัดระยะร่องแนวปลูกเพื่อรองรับการใช้เครื่องจักรเข้ามาทดแทนแรงงานที่ขาดแคลน รวมถึงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน สิ่งนี้ทำให้เกษตรกรในชุมชนหนองแซงสามารถใช้เครื่องจักรร่วมกัน ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มความรวดเร็วในการเก็บเกี่ยว ทำให้มีเวลาในการดูแลไร่อ้อยมากขึ้น นอกจากนี้ ทางกลุ่มมิตรผลยังเข้ามาช่วยเรื่องระบบน้ำและนำพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน

\'มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม\' ทศวรรษแห่งการพลิกเกษตรดั้งเดิมสู่เกษตรยั่งยืน

ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพรบ. บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด กล่าวว่า การแก้ไขปัญหามลพิษจากการเผาในที่โล่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เนื่องจากภาครัฐอาจมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคลากร และเครื่องมือ การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ชุมชน องค์กรภาคประชาสังคม รวมถึงสถาบันการศึกษาและนักวิชาการจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในแง่ของกฎหมายสามารถกำหนดมาตรการจูงใจเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

\'มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม\' ทศวรรษแห่งการพลิกเกษตรดั้งเดิมสู่เกษตรยั่งยืน

ขณะเดียวกัน วิถีการทำเกษตรอย่างยั่งยืนไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรม ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ถูกจำกัดทางการค้า โดยเฉพาะในตลาดยุโรปที่ให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โดยผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดคือ การตัดอ้อยสด งดเผา ส่งผลดีต่อคุณภาพดิน ลดปัญหาฝุ่นควัน และช่วยให้ เกษตรกร มีรายได้เสริมจากการขายใบอ้อยเพื่อนำไปผลิตไฟฟ้าชีวมวล สร้างพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของการเปลี่ยนผ่านจากเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมไปสู่การทำเกษตรอย่างยั่งยืน

\'มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม\' ทศวรรษแห่งการพลิกเกษตรดั้งเดิมสู่เกษตรยั่งยืน