'ดุสิตโมเดล' (TB V Find) โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชน กทม.

'ดุสิตโมเดล' (TB V Find) โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชน กทม.

"ดุสิตโมเดล" (TB V Find) โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชน กทม. ด้วยนวัตกรรมเอกซเรย์แบบพกพา พร้อม AI จากฟูจิฟิล์ม

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค เร่งขับเคลื่อนแผนยุติวัณโรค "YES! We Can End TB ยุติวัณโรค เราทำได้" ผนึกกำลังกับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลและกรุงเทพมหานคร โดยนำเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลแบบพกพา FDR Xair ที่มาพร้อมเทคโนโลยี AI ของ ฟูจิฟิล์ม ซึ่งจัดซื้อผ่านกองทุนโลกไปใช้ในภารกิจคัดกรองวัณโรคเชิงรุกในชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการ ยุติวัณโรค ของประเทศ

วัณโรค ปัญหาสาธารณสุขที่รุนแรงของไทย

พญ. ผลิน กมลวัทน์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรคและที่ปรึกษากองวัณโรค เผยว่า ไทยเป็น 1 ใน 30 ประเทศ ที่มีภาระวัณโรคสูง โดยมีผู้ป่วยวัณโรค 155 คนต่อประชากรแสนคน และคาดว่าไทยมีผู้ป่วยรายใหม่กว่าแสนคนต่อปี และมีอัตราการเสียชีวิตกว่า 40 คนต่อวัน จึงตั้งเป้าควบคุมจำนวนผู้ป่วยให้เหลือต่ำกว่า 10 คนต่อประชากรแสนคน ภายในปี 2578 และการตรวจคัดกรองผู้ป่วยให้เจอโดยเร็วและรักษาให้หายถือเป็นหัวใจของการต่อสู้กับโรคนี้ ดังนั้น เครื่องเอกซเรย์แบบพกพาที่มีระบบประมวลผล AI สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองได้เป็นอย่างดี หากพบเจอความผิดปกติของปอด ก็จะส่งไปตรวจเสมหะเพื่อยืนยันผลการติดเชื้อ และส่งตัวเข้าสู่กระบวนการรักษา 

"ถ้าทำให้การออกตรวจคัดกรองเชิงรุกแบบดุสิตโมเดลเป็นวาระแห่งชาติได้ เราจะตรวจเจอผู้ป่วยได้อีกมากและควบคุมวัณโรคในเขตเมืองได้อย่างแท้จริง นำไปสู่การยุติวัณโรคได้อย่างน้อยใน 5 ปี" พญ. ผลิน กล่าว

\'ดุสิตโมเดล\' (TB V Find) โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชน กทม.

พญ. ณัฐินี อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานโรคติดต่อทางสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพฯ กล่าวว่า พื้นที่กรุงเทพฯ มีผู้ป่วย วัณโรค รายใหม่ปีละ 8,500-10,000 คน ซึ่งกรุงเทพฯ มีแผนการคัดกรองผู้ติดเชื้อในชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยทั้งไทยและแรงงานข้ามชาติสามารถรับบริการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่คัดกรองและรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่ง แต่รถโมบายเอกซเรย์เคลื่อนที่มีขนาดใหญ่ไม่มีความคล่องตัวในการตรวจคัดกรองในแหล่งชุมชนที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย นวัตกรรมใหม่อย่างเครื่องเอกซเรย์แบบพกพาจะช่วยอย่างมากในการเข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนแออัดที่ไม่สามารถมารับบริการที่รถโมบาย เช่น ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น

\'ดุสิตโมเดล\' (TB V Find) โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชน กทม.

กทม. มุ่งมั่นที่ในการตรวจคัดกรองวัณโรคเชิงรุกให้ได้ถึง 1 ล้านคน โดยจะดำเนินการอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน 2567 ด้วยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กองวัณโรค กรมควบคุมโรค, สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร, คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และบริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการต้นแบบโครงการตรวจคัดกรองวัณโรคเชิงรุกในชุมชน "ดุสิตโมเดล" (TB V Find) ซึ่งดำเนินการมากว่า 5 ปี โดยดูแลสุขภาพของประชาชนราว 1.8 แสนคน ครอบคลุมพื้นที่ 4 เขต ในกทม. ได้แก่ ดุสิต, พระนคร, บางซื่อ และบางพลัด โดยคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลทำงานร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง และคลินิกชุมชนอบอุ่น 4 แห่ง

คัดกรองเชิงรุก - ส่งรักษาต่อแบบไร้รอยต่อ

นพ. พิภู ถาวรชีวิน อาจารย์สาขาโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติระบบการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ให้ข้อมูล วัณโรค เป็นภัยเงียบที่อยู่กับสังคมไทยมายาวนาน พบว่า 50% ของคนไข้วัณโรคที่ตรวจพบไม่แสดงอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ เพราะฉะนั้นเราจะตั้งรับรอผู้ป่วยอย่างเดียวไม่ได้ จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องดำเนินงานเชิงรุกในการตรวจหาผู้ป่วย และใช้การเอกซเรย์เพื่อดูความผิดปกติของปอดเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการ ยุติวัณโรค โดยจะต้องดำเนินการอย่างยั่งยืน

\'ดุสิตโมเดล\' (TB V Find) โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชน กทม.

การคัดกรองด้วยรถโมบายเอกซเรย์เคลื่อนที่ที่เป็นรถบัสขนาดใหญ่ จะเข้าพื้นที่ชุมชนแออัดในได้ยาก ต้องมีปลั๊กไฟที่มีกำลังโวลต์มาก แต่เครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลแบบพกพา FDR Xair ทำให้ทีมแพทย์เข้าถึงพื้นที่ชุมชนได้สะดวก เพราะมีแบตเตอรี่ในตัว ทั้งยังมีระบบประมวลผล AI ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิจิฉัยโรคได้ 

"เมื่อการเอกซเรย์แล้วไม่พบความผิดปกติของปอด เราจะมีใบยืนยันรับรองการผ่านการคัดกรองวัณโรคพร้อมระบุวันที่ตรวจให้ประชาชน แต่หากพบความผิดปกติ เราก็มีระบบส่งต่อเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็ว เพื่อแนวทางการยุติวัณโรคในชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน เราจะเร่งเดินหน้าโครงการตรวจคัดกรองวัณโรคเชิงรุกต่อไปให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในดุสิตโมเดล ด้วยเป้าหมายในการยุติการระบาดของวัณโรคในประเทศไทยให้ได้เร็วที่สุด" นพ. พิภู กล่าว

นพ. พิภู กล่าวเพิ่มเติมว่า หากผู้ป่วยวัณโรคกินยาครบ 2 สัปดาห์ก็ไม่แพร่เชื้อแล้ว สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ และกินยาให้ครบ 6 เดือน ก็หายได้ สำหรับคนที่มีใกล้ชิดหรือสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคในช่วง 3 เดือน ควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์ทุก 6 เดือน จนครบ 2 ปี แม้ว่าเราจะไม่สามารถยุติวัณโรคได้ภายใน 2 - 3 ปี แต่การเริ่มสร้างความเข้าใจและรู้เท่าทันวัณโรคในวันนี้ก็จะทำให้ยุติวัณโรคได้เร็วขึ้น

ติดข้อจำกัดเวลา - ค่าเดินทาง

นพ. ธีรฉัฐ ไชยธวัชพงษ์ นายแพทย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ กล่าวว่า พื้นที่เขตบางซื่อมีผู้ป่วยวัณโรคราว 50 ราย ต่อปี และผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ผู้สัมผัสใกล้ชิดและวัณโรคแฝง อีกราว 150 ราย ซึ่งตัวเลขมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกๆ ปี เพราะหลายพื้นที่ของเขตเป็นชุมชนแออัด การลงพื้นที่คัดกรองในชุมชนดีกว่าการตั้งรับตรวจคัดกรองอยู่ที่ศูนย์บริการฯ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ติดขัดเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปที่ศูนย์ฯ หรือโรงพยาบาล บวกกับไม่มีเวลาเพราะต้องทำงาน จึงไม่ได้ไปรับบริการตรวจคัดกรองที่ต้องเสียเวลาทั้งวัน การออกตรวจเชิงรุกจึงเป็นวิธียุติวัณโรคที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 

\'ดุสิตโมเดล\' (TB V Find) โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชน กทม.

มุ่งมั่นสร้างสุขภาวะที่ดีให้สังคมไทย

โซ มารูโอะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ยุติวัณโรค" ว่า "ฟูจิฟิล์ม" ตระหนักถึงความเร่งด่วนในการยุติการแพร่ระบาดของวัณโรค และได้ร่วมทำงานใกล้ชิดกับหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ ในประเทศไทยและในอีกหลายประเทศทั่วโลก พร้อมนำเครื่องเอกซเรย์ FDR Xair พร้อมระบบประมวลผล AI เพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองวัณโรคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยทีมแพทย์สามารถพกไปออกตรวจในชุมชนได้ ใช้เวลาตรวจรวดเร็วเพียง 1 นาที ภายใต้จุดมุ่งหมายของฟูจิฟิล์มในการ "แต่งแต้มรอยยิ้มให้โลกของเรา" ฟูจิฟิล์ม จะยังคงเดินหน้าสร้างสุขภาวะที่ดีขึ้นให้แก่ผู้คนทั่วโลก พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างรอยยิ้มให้แก่คนอีกมากมายผ่านนวัตกรรมอันล้ำสมัยของเรา

\'ดุสิตโมเดล\' (TB V Find) โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชน กทม. \'ดุสิตโมเดล\' (TB V Find) โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชน กทม. \'ดุสิตโมเดล\' (TB V Find) โครงการยุติวัณโรคเชิงรุกในชุมชน กทม.