FTIXแพลตฟอร์มซื้อ-ขายคาร์บอน “New Economy”รู้ก่อน-เข้าใจก่อน-โตก่อน
ปัญหาภาวะโลกร้อน ที่กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการใน ประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคการส่งออก ทำให้ทุกภาคส่วนต้องลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจก
สมโภชน์ อาหุนัย รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.)และประธานสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาภูมิอากาศ สอท. กล่าว่า สอท.ได้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมา คือ สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งใน การช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ และช่วยขับเคลื่อนการนำนโยบายของภาครัฐไปสู่การปฏิบัติให้ บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. 2593 และเป้าหมายการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปี พ.ศ. 2608 ของประเทศ
ทั้งนี้ คาร์บอนเครดิตเป็นกลไกการตลาดที่สำคัญอย่างหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจและเป็นทางเลือกให้ ผู้ประกอบการในการลดก๊าซเรือนกระจก ส.อ.ท. มีการดำเนินงานร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือ อบก.ในการพัฒนาแพลตฟอร์มการซื้อขาย แลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการซื้อขาย คาร์บอนเครดิต เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดำเนินกิจกรรมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
"ศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิตของ ส.อ.ท. ได้พัฒนาและบริหารจัดการแพลตฟอร์ม การซื้อขายพลังงาน สะอาดและคาร์บอนเครดิตหรือ FTIX เพื่อประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยน คาร์บอนเครดิตให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบของ อบก. นอกจากนี้ ยังมีการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดด้วย"
สำหรับการหมุนเวียนเพื่อตอบสนองความต้องการการใช้พลังงานหมุนเวียน 100% (RE100) รวมถึงการซื้อขาย ใบรับรองการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ REC อีกด้วย โดย ส.อ.ท. ได้มีแพลตฟอร์ม FTI : CC/RE/REC X Platform FTIX เข้าร่วมในโครงการ ERC Sandbox 2 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) เพื่อทดสอบระบบ ของตลาดการซื้อขายแลกเปลี่ยนให้มีความโปร่งใสและเชื่อถือได้ โดยที่อุตสาหกรรมทุกขนาดทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่
ในส่วนภาพรวมการมุ่งสู่เป้าหมายลดคาร์บอน ประเทศไทยต้องปรับปรุง “ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของ ประเทศไทย” หรือ LT-LEDS
จากแผนดังกล่าว ขณะนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) อยู่ระหว่างการจัดทำเป้าหมายการมี ส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด) ที่ 40% ในปี พ.ศ. 2573 ประเทศสามารถดำเนินการได้เอง 30% และการดำเนินงานที่ต้องได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจาก ต่างประเทศอีก 10%
แนวทางและมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ อย่างการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน (RE) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) มาตรการทดแทนปูนเม็ด (ปูนไฮดรอลิก) และการปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น การปรับปรุงการทำนาข้าวเพื่อลดการปล่อยมีเทน การจัดการขยะและน้ำเสียชุมชน รวมถึงน้ำเสียอุตสาหกรรม การผลิตพลังงานจากขยะ (Waste to Energy-WTE) การป้องกันการบุกรุกและทำลายป่า
ผ่านการขับเคลื่อนการดำเนินงาน 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านนโยบาย 2. ด้านเทคโนโลยี 3. ด้านการเงินและการลงทุน 4.ด้านกลไกตลาดคาร์บอนเครดิต 5. ด้านการเพิ่มแหล่งกักเก็บ/ดูดกลับก๊าซเรือน กระจก และ 6.ด้านกฎหมาย
ความสนใจเพื่อลดคาร์บอนหรือก๊าซที่ก่อเรือนกระจกของภาคธุรกิจอาจยังอยู่ในระดับเริ่มต้นให้ความสำคัญ การมีพื้นที่ส่วนกลางที่จะเกิดการซื้อขายก๊าซเรือนกระจก พร้อมทำความเข้าใจกับเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ที่มีกติกาเหมือนกับเศรษฐกิจปัจจุบันที่ว่า “รู้ก่อนเข้าใจก่อน ก็เข้าถึงโอกาสก่อน”