สถาบันวิจัยฯนอร์เวย์คาดการณ์ขยะพลาสติก 12 พันล้านตันล้นโลกในปี 2050
การประชุมระดับภูมิภาค OPTOCE ครั้งแรกในไทยดึงพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในไทย จีน อินเดีย เมียนมาร์ และเวียดนาม ระดมแนวคิดการบริหารขยะพลาสติก
ดร.คอเร เฮลเก คาร์สเตนเซน (Dr Kare Helge Karstensen) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์และผู้จัดการโครงการOPTOCE SINTEF Community Norway สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งนอร์เวย์กล่าวว่าแต่ละปีมีขยะพลาสติกราว 13 ล้านตันเล็ดลอดลงสู่มหาสมุทร ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลทั้งด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เศรษฐกิจ และสุขภาพของผู้คน และยังคาดการณ์ว่าตัวเลขนี้จะทวีคูณเพิ่มเป็น 3 เท่าภายในปี ค.ศ. 2040 และหาก ไม่มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ขยะพลาสติกราว 12 พันล้านตันจะทับถมหรือเล็ดลอดสู่ระบบนิเวศทาง ธรรมชาติในปี 2050 เผยความร่วมมือในระดับนานาชาติ คือ กุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการแหล่งสร้างขยะพลาสติกสู่ท้องทะเล
การประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยขยะพลาสติกในท้องทะเลสร้างโอกาสในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ The Ocean Plastic Turned into an Opportunity in Circular Economy (OPTOCE) Regional Forum” ซึ่งจัดขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อหาโซลูชันการรับมือกับปัญหา ดังกล่าวของ 5 ชาติพันธมิตรในเอเชียทั้งไทย จีน อินเดีย เมียนมาร์ และเวียดนามรวมถึงค้นหาโอกาสและ อุปสรรคในการมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมซีเมนต์ในการบริหารจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทยและทั่วภูมิภาค ทั้งนี้การประชุม OPTOCE Forum จัดโดยสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งนอร์เวย์ (Norwegian Foundation for Scientific and Industrial Research: SINTEF) โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกระทรวงการ ต่างประเทศนอร์เวย์ผ่านทางสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งนอร์เวย์ (The Norwegian Agency for Development Cooperation: NORAD)
ในการบริหารจัดการขยะร่วมกันหรือบูรณาการ ซึ่งการนำขยะ พลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้มาใช้ทดแทนถ่านหินก็อาจเป็นหนึ่งแนวทางที่ช่วยป้องกันไม่ให้พลาสติกกลายเป็น ขยะเหลือทิ้งในทะเล ทั้งยังลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ทางอ้อม โดยไม่ต้องสร้างเตาเผาขยะหรือแหล่งฝังกลบขยะแห่งใหม่ เป็นการจัดการขยะได้อย่างยั่งยืน