“กลุ่มทรู” ปรับองค์กรสู่ Tech Company “ยั่งยืน” บนความสมดุล

“กลุ่มทรู” ปรับองค์กรสู่ Tech Company “ยั่งยืน” บนความสมดุล

“กลุ่มทรู” เดินหน้าปรับองค์กรสู่ Tech Company ตอบโจทย์ความท้าทายโลก ดึงเทคโนโลยี นวัตกรรมสร้างความ "ยั่งยืน" บนความสมดุล ตั้งเป้า Carbon Neutral ในปี 2030 และ Net Zero ในปี 2050

วันนี้โลกมีความท้าทายสำคัญ 3 ด้านที่ต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลง คือ 1. Inclusive Capital ความเหลื่อมล้ำและโอกาสในการเข้าถึง 2. Digital Transformation การปรับตัวสู่ดิจิทัล 3. Sustainability/Climate Change ความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวข้องเป็นลูกโซ่ ดังนั้นทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมกันขับเคลื่อนความท้าทายเหล่านี้ร่วมกัน โดยเฉพาะความร่วมมือในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะมาช่วยขับเคลื่อนโลกที่ยั่งยืนขึ้น

 

“กลุ่มทรู” หนึ่งในสมาชิกของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย หรือ GCNT ภายใต้การนำของหัวเรือใหญ่อย่าง ดร. ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านนวัตกรรมและความยั่งยืนองค์กร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้เร่งเดินหน้าประเด็นดังกล่าวร่วมกันทั้งองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับความปลอดภัยข้อมูลของลูกค้า การนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ หรือ Digital Transformation รวมถึงการสร้างโอกาสและรายได้ให้กับชุมชน และสังคม ตั้งแต่การส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม Social Enterprise และการตรวจสอบย้อนกลับไปตาม Value Chain ผลิตภัณฑ์หรือบริการว่ามาจากแหล่งที่มาที่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ตลอดห่วงโซ่นั้น สร้าง หรือลด Carbon Footprint มากน้อยเพียงใด พร้อมประกาศ “ก้าวสู่การเป็นองค์กร Carbon Neutral ในปี 2030 และ Net Zero ภายใน ปี 2050”

 

“กลุ่มทรู” ปรับองค์กรสู่ Tech Company “ยั่งยืน” บนความสมดุล

 

Climate change ความท้าทายสำคัญ

 

ขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ก็นับเป็นความท้าทายของทั้งโลก รวมถึงของกลุ่มทรูด้วย “ดร. ธีระพล” เปิดเผยว่า ปัจจุบันโลกมีแนวโน้มการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลุ่มทรู ตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาและผลกระทบ โดยพัฒนาควบคู่กับการดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม

 

กลุ่มทรู มีการประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutral ในปี 2030 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ Net Zero ในปี 2050 ตามแนวทาง Science-Based Target ที่ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง

 

ทุกปี ขณะที่เทคโนโลยี 5G ใช้ไฟฟ้ามากกกว่า 4G ถึง 3 เท่า ดังนั้น ต้องอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ต้องปรับองค์กร Tech Company ผ่านนโยบายการพัฒนาด้านความยั่งยืน เพื่อ 3 ประโยชน์ ได้แก่ ต่อประเทศ ประชาชาชน และองค์กร ภายใต้ กรอบการพัฒนา 3H’s สู่เป้าหมายความยั่งยืน ปี 2030 คือ

 

1. HEART: LIVING RIGHT ทำธุรกิจที่โปร่งใส มีธรรมภิบาล เคารพสิทธิมนุษยชน

2. HEALTH: LIVING WELL เป็นองค์กร Tech Company ที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสร้างคุณค่าทางสังคม

3. HOME: LIVING TOGETHER ดูแลสิ่งแวดล้อม

 

 

ตั้งเป้า Net zero ในปี 2050

 

“ดร. ธีระพล” กล่าวต่อไปว่า ตั้งแต่ก่อนปี 2015 กลุ่มทรู มีการดำเนินการโครงการภายใต้กลยุทธ์ปลูกความรู้ ปลูกความดี ปลูกใจรักสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกจิตสำนึกให้พนักงานในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รณรงค์ให้มีการปลูกต้นไม้ จากนั้น มีการพัฒนา We Grow Application บันทึกการปลูกต้นไม้และช่วยคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่กักเก็บได้

 

ต่อมามีกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อรายได้ (GHG Intensity) ร้อยละ 10 ภายในปี 2020 เทียบปีฐานปี 2016 ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนวัตกรรมและความยั่งยืน และคณะทำงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด

 

ในปี 2020 มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อรายได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้น จึงกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายขึ้น โดยมุ่งสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทางตรงและทางอ้อม (Scope 1&2) สุทธิเป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutral ภายในปี 2030 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ตามแนวทาง Science-Based Target Initiative (SBTi) ภายในปี 2050

 

“กลุ่มทรู” ปรับองค์กรสู่ Tech Company “ยั่งยืน” บนความสมดุล

 

กาง Roadmap ลดก๊าซเรือนกระจก

 

สำหรับการกำหนดกลยุทธ์ Roadmap และ นำนวัตกรรมมาช่วยขับเคลื่อนกระบวนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาประยุกต์ใช้ ก็เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและบรรลุเป้าหมายที่กำหนด โดยมีการดำเนินการผ่านโครงการต่างๆ อาทิ

  • เดินหน้าขยายการติดตั้ง Solar Cell ที่สถานีฐานและชุมสายอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ปีที่ผ่านมาได้มีการติดตั้งแล้ว 3,481 แห่ง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 12,570 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และร่วมกับพันธมิตรในการจัดหาพลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้น
  • ติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เช่น การปรับปรุงอุปกรณ์ระบบปรับอากาศ และ การเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน เป็นต้น
  • นำกลไกราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Pricing) มาใช้ เป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจเลือกโครงการที่จะการลงทุน โดยสนับสนุนการลงทุนคาร์บอนต่ำ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutral และ Net Zero ต่อไป
  • พัฒนา Platform นวัตกรรมต่างๆ เช่น True Virtual World เป็นการจัดประชุมออนไลน์ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้น้ำมันในการเดินทาง และ True E-bill & E-Tax ระบบแจ้งค่าบริการและใบเสร็จออนไลน์แทนการใช้กระดาษ สามารถหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

 

“กลุ่มทรู” ปรับองค์กรสู่ Tech Company “ยั่งยืน” บนความสมดุล

 

สังคมยั่งยืน สิ่งแวดล้อมยั่งยืน

 

นอกจากนี้ ได้มีการนำนวัตกรรมเทคโนโลยี และศักยภาพองค์กร บุคคลากร มาสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งศึกษาวิเคราะห์ความท้าทายโลก แนวคิด มาตรฐาน เกณฑ์ด้านความยั่งยืน และความกดดันรอบตัว รวมถึงฟังเสียงรอบด้านจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อช่วยแก้ Pain point ทั้งในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่

 

ด้านสังคม

1. แอปพลิเคชัน MorDee โดย True HEALTH การพบแพทย์ในรูปแบบออนไลน์

2. แพลตฟอร์ม True Virtual World สนับสนุนการทำงานและการเรียนการสอนออนไลน์

3. Autistic Application แอปพลิเคชันการศึกษาที่ติดอันดับหนึ่งในประเทศแถบตะวันออกกลาง อาทิ ซาอุดิอาระเบีย, กาตาร์, คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อีกทั้ง ยังติดหนึ่งใน 10 แอปพลิเคชันการศึกษาที่ได้รับความนิยมสูงสุดใน 25 ประเทศทั่วโลก

4. หุ่นยนต์อัจฉริยะ “ทรู 5G เทมิ” ช่วยดูแลผู้ป่วยได้จากระยะไกล ทั้งติดตามอาการและให้คำแนะนำในการรักษา ลดการสัมผัสและความเสี่ยงติดเชื้อ

5. True Incube หน่วยงานส่งเสริม Start Up ไทยและอาเซียน, True Labs โครงการความร่วมมือระหว่างกลุ่มทรูกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในการวิจัยพัฒนานวัตกรรม

 

“กลุ่มทรู” ปรับองค์กรสู่ Tech Company “ยั่งยืน” บนความสมดุล

“กลุ่มทรู” ปรับองค์กรสู่ Tech Company “ยั่งยืน” บนความสมดุล

 

ด้านสิ่งแวดล้อม

1. โครงการ Smart Early Warning ลดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง

2. We Grow Application บันทึกการปลูกต้นไม้ รวมทั้งคำนวณการลดคาร์บอนไดออกไซด์

3. DooNok Application คลังรวบรวมข้อมูลพันธุ์นกในประเทศไทย

 

“กลุ่มทรู” ปรับองค์กรสู่ Tech Company “ยั่งยืน” บนความสมดุล   “กลุ่มทรู” ปรับองค์กรสู่ Tech Company “ยั่งยืน” บนความสมดุล

 

พัฒนา “หุ่นยนต์” สร้างความยั่งยืนให้ประเทศ

 

ขณะเดียวกัน “หุ่นยนต์” นับเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่มาแรงในยุคนี้ โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งกลุ่มทรูได้มีการจัดตั้ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ ภายใต้ชื่อ “True Robotics” ด้วยเป้าหมายที่อยากจะพัฒนาหุ่นยนต์ที่เกิดจากฝีมือคนไทย โดยเฉพาะประเภทหุ่นยนต์บริการ (Service Robot) ที่จะมีประโยชน์ใช้สอยหลากหลาย ออกแบบให้ทำงานสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยมากที่สุด ตามเป้าหมายการสร้างความยั่งยืนตามหลัก SDG ข้อ 3 (Good Health & Well Being) สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี สำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย และ SDG ข้อ 4 (Quality Education) สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ใช้หุ่นยนต์ช่วยยกระดับงานด้านการแพทย์และการศึกษาไทย

 

“กลุ่มทรู” ปรับองค์กรสู่ Tech Company “ยั่งยืน” บนความสมดุล

 

ทั้งนี้ การพัฒนาหุ่นยนต์ไม่ใช่แค่การพัฒนาบริการเท่านั้น แต่ยังเข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาผ่านโครงการ CONNEXT ED โดยนำคอร์สเกี่ยวกับการสร้างหุ่นยนต์ไปบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในโรงเรียน และทำหุ่นยนต์ต้นแบบ เพื่อใช้ใน Smart Classroom ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างครูชาวต่างชาติกับน้องๆ ในชนบทห่างไกล จนสามารถสื่อสารกันได้ ทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน กล้ามีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรมโรดโชว์ที่พาหุ่นยนต์ไปแนะนำตัวอย่างต่อเนื่อง กว่า 1,000 โรงเรียน เพื่อเปิดมุมมองและสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ

 

ส่งเสริมระดับมหาวิทยาลัย ผ่านกิจกรรม True5G Temi Robot Bootcamp ที่เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาใช้หุ่นยนต์อัจฉริยะ True5G Temi Connect& Carebot ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะทรู 5G เพื่อเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรม ผลงานแอปพลิเคชันหุ่นยนต์ และพัฒนานวัตกรรมที่ใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรมค้าปลีก พร้อมกับพัฒนาหุ่นยนต์ดาวเด่น ‘Temi’ (เทมิ) ตัวช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยช่วงโควิด-19

 

“กลุ่มทรู” ปรับองค์กรสู่ Tech Company “ยั่งยืน” บนความสมดุล

 

เทคโนโลยี ความท้าทายแห่งอนาคต

 

สำหรับ แผนในอนาคตของ กลุ่มทรู มองว่า เมกาเทรนด์ ที่จะเข้ามาใน 10 ปีข้างหน้า จะส่งผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิต การเรียนรู้ อาชีพ การทำงาน ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้คน ผ่านอุปกรณ์การเชื่อมต่อเทคโนโลยีอัจฉริยะ ในการทำกิจกรรมต่าง ทั้งธุรกรรมทางการเงิน ความบันเทิง การเดินทางท่องเที่ยว และ การดูแลสุขภาพ ในรูปแบบส่วนตัว โดยมีเอไอ มาวิเคราะห์พฤติกรรมเพื่อรองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย (Smart Living)

 

รวมไปถึงภาคค้าปลีก ที่นำเอไอ เข้ามาใช้ร่วมวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เชื่อมโยงผ่านเทคโนโลยี 5G และ สมาร์ทดีไวซ์ เพื่อนำเสนอบริการแบบส่วนตัวโดยตรงกับลูกค้าเฉพาะราย และภาคการเกษตร จากการนำเทคโนโลยี เข้ามาช่วยในการทำนายผลผลิตทางการเกษตรและลดต้นทุนแรงงาน ในขั้นตอนการผลิต

 

“สิ่งเหล่านี้กำลังจะเกิด ขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมต่อทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดระบบนิเวศการทำงานร่วมกันและจะได้เห็นสตาร์ทอัพใหม่เกิดขึ้น เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องนี้”

 

ขณะเดียวกัน เทคโนโลยี AR, VR, บล็อคเชน และ โซเชียล ถือเป็น 4 ส่วนผสมหลักของ โลกเสมือน หรือ เมตาเวิร์ส ในภาคแรกเท่านั้น ภาคธุรกิจไทยต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกเสมือนดังกล่าว ที่จะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ อีกทั้ง เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต เช่น สมาร์ทโฮม อย่าง True Smart Living โซลูชันเพื่อโครงการที่อยู่อาศัยอัจฉริยะแบบครบวงจร ครอบคลุม 3 มิติ ประกอบด้วย

  • ระบบบ้านอัจฉริยะ Smart Home การควบคุมการทำงานอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านผ่านเสียงหรือแอปพลิเคชัน
  • ระบบความปลอดภัย Smart Security ครอบคลุมทั้งการเข้าออกโครงการและพื้นที่ส่วนตัว ตั้งแต่ไม้กั้นเข้าโครงการ ประตูอัตโนมัติ ลิฟต์อัจฉริยะ หรือการแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินแบบเรียลไทม์
  • ระบบดูแลอัจฉริยะ Smart Care ระบบการจัดการภายในโครงการ อาคาร พื้นที่ส่วนกลางดูแลปรับสภาพแวดล้อมอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์อัจฉริยะ

 

“กลุ่มทรู” ปรับองค์กรสู่ Tech Company “ยั่งยืน” บนความสมดุล

 

เติบโต บนพื้นฐานบรรษัทภิบาล

 

จากการผลักดันองค์กรสู่ Tech Company และนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งผลให้ กลุ่มทรู ได้รับคัดเลือกเป็นอันดับ 1 ในการจัดอันดับองค์กรด้านความยั่งยืน จาก DJSI หรือ สมุดพกความดีขององค์กร ที่ทำเพื่อเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม จาก 10,900 บริษัททั่วโลก โดยปีล่าสุดบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้อันดับ 1 รวมทุกอุตสาหกรรม

 

นอกจากนี้ ยังติดอันดับสมาชิกดัชนีความยั่งยืนชั้นนำ FTSE4Good ประจำปี 2565 จาก FTSE Russell สถาบันจัดทำดัชนีหลักทรัพย์จากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นองค์กรจากประเทศไทยที่ได้คะแนนสูงสุดอันดับ 1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโลก

 

“ทุกรางวัล คือการย้ำความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ในการนำศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มาพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค สร้างคุณค่าระยะยาว ตลอดจนรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมบนพื้นฐานของบรรษัทภิบาลที่แข็งแกร่ง โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม” ดร.ธีระพล กล่าวทิ้งท้าย