“MSMEs สู่การเติบโตทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก”
ไทยพร้อมผลักดัน MSMEs ธุรกิจคลื่นลูกใหม่ให้เติบโตสู่เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างยั่งยืน ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)การคาดการณ์ MSME ในรอบ ปี 2564 เติบโตขึ้น 2.4% คิดเป็นมูลค่ารวม 5.49 ล้านล้านบาท
สัญญาณฟื้นตัวเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 2 สะท้อนจากการส่งออก MSME ขยายตัว 18.0-19.0% เหตุเพราะตลาดส่งออกหลักทุกตลาดขยายตัวเพิ่มสูง โดยเฉพาะจีน สหรัฐอเมริกา ขยายตัวกว่า 50% ขณะที่ปี 2565 มาตรการของขวัญปีใหม่ 2565 ของรัฐบาล จะช่วยฟื้นฟูและกระตุ้นระบบเศรษฐกิจช่วยให้ MSME เติบโตไม่น้อยกว่า 3.2 – 5.4% หรือมีมูลค่าประมาณ 5.669-5.789 ล้านล้านบาท
เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “นั่นเพราะกลุ่มที่เสี่ยงที่สุดที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19, ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น คือกลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อย ขนาดย่อม และขนาดกลาง (MSMEs)”
แม้ MSMEs จะเป็นกลุ่มวิสาหกิจขนาดเล็กที่กระจายอยู่ในระบบนิเวศเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การสร้างรายได้จากกลุ่มนี้คิดเป็น 99.5% ของกลุ่มวิสาหกิจทั้งหมดในประเทศและทำให้เกิดการจ้างงานมากกว่าสามในสี่ของกำลังแรงงาน ส่วนในระดับโลก MSMEs ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยในตลาดเกิดใหม่ งานที่เป็นทางการส่วนใหญ่เกิดจากภาค SMEs โดยคิดเป็น 7 ใน 10 งาน ตามข้อมูลของธนาคารโลก
โดยผู้ประกอบการบางราย สามารถปรับตัวเองไปกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้ โดยประสบความสำเร็จในกระบวนการปรับโมเดลเป็นธุรกิจออนไลน์ ลดต้นทุน และสามารถทำกำไรได้ อย่างไรก็ดี ยังนับเป็นกรณีที่มีไม่มากนักในประเทศไทย “ความท้าทายไม่ใช่แค่การให้ความรู้กลุ่ม MSMEs ในการทำให้เป็นดิจิทัล แต่จะทำอย่างไรให้พวกเขาได้รับประโยชน์สูงสุดจากธุรกิจรูปแบบใหม่ เคล็ดลับของการค้าดิจิทัลคืออะไร? กฎและกฎหมายมีอะไรบ้าง หรือสิ่งใดที่ควรหลีกเลี่ยง ในกรณีที่จำเป็นต้องประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ”
ผ่านเช่นนี้ โอกาสจะเป็นของคนที่พร้อมที่จะปรับตัว”
ดาโต๊ะ โรฮาน่า ตัน ศรี มาห์มูด ประธานคณะทำงานด้าน ‘MSME & Inclusiveness’ ของสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค 2022 กล่าวว่า ความสำคัญของการสนับสนุน MSME นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวด “ธุรกิจ 97 % ของ 21 เขตเศรษฐกิจเอเปคนั้น คือ MSMEs อย่างในมาเลเซีย MSMEs คิดเป็น 97.4% ของการประกอบธุรกิจทั้งหมดในปี 2564” “และสำหรับเศรษฐกิจของเอเปคนั้น MSMEs จำนวนมากประกอบด้วยวิสาหกิจขยายย่อย (Micro) เช่น วิสาหกิจที่นำโดยผู้หญิง เยาวชน และชนพื้นเมือง”
แม้ว่าความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนา MSMEs ในระยะยาว แต่การอยู่รอดของธุรกิจควรเป็นปัญหาเร่งด่วนหลังภาวะโรคระบาดสิ้นสุดลง “ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า MSMEs มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจ ยังเห็นด้วยว่าในขณะที่ความยั่งยืนเป็นสิ่งที่สำคัญ และเราต้องการที่จะมั่นใจว่าบริษัทต่างๆ มีความยั่งยืนในแง่ของมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล
เป้าหมายของสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council - ABAC) คือการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจที่เท่าเทียมกันมากขึ้น นั่นคือการทำให้วิสาหกิจขนาดย่อย (Micro) ขนาดย่อม (Small) และขนาดกลาง (Medium) ต่างเจริญเติบโต คล้ายกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีชีวิตชีวาได้นั้น ย่อมมาจากต้นไม้ทุกประเภทอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกัน
การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดย่อย ขนาดย่อม และขนาดกลาง (MSMEs) นับเป็นหนึ่งในห้ากลยุทธ์ของการประชุมสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค 2022 ประจำปีนี้ โดยนอกจากนี้กลยุทธ์อีก 4 ประการ ได้แก่ การบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค, ดิจิทัล, ความยั่งยืน ตลอดจนการเงินและเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ