กติกาการเกษตรแก้โจทย์ฝุ่นPM 2.5 จัดการพื้นที่-วัสดุเหลือใช้อย่างยั่งยืน

กติกาการเกษตรแก้โจทย์ฝุ่นPM 2.5   จัดการพื้นที่-วัสดุเหลือใช้อย่างยั่งยืน

เกษตร สั่งทุกหน่วยงาน ร่วมขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ แก้ปัญหามลพิษฝุ่นละออง รณรงค์และควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตร ปฏิบัติการฝนหลวงสร้างความชุมชื่น พร้อมหนุนเกษตรกรสร้างมูลค่าเพิ่มทดแทนการเผาทิ้ง เพื่อสนับสนุนการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรในระยะต่อไป

รัฐบาลกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในระะยะยาวอย่างยั่งยืน ด้วยการเตรียมออกประกาศ ยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศให้เข้มงวดขึ้น โดยกำหนดมาตรฐานฝุ่น PM 2.5 ใหม่ จากเดิมใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ต้องไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม. ตามคำแนะนำของ องค์การอนามัยโลก (WHO) เป็น ให้ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม. และค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ปี จะต้องไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม. เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มิ.ย. 2566 เป็นต้นไป

 

กติกาการเกษตรแก้โจทย์ฝุ่นPM 2.5   จัดการพื้นที่-วัสดุเหลือใช้อย่างยั่งยืน

กติกาการเกษตรแก้โจทย์ฝุ่นPM 2.5   จัดการพื้นที่-วัสดุเหลือใช้อย่างยั่งยืน

กติกาการเกษตรแก้โจทย์ฝุ่นPM 2.5   จัดการพื้นที่-วัสดุเหลือใช้อย่างยั่งยืน

ฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โฆษกกระทวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกินมาตรฐานในช่วงเดือนม.ค. - ก.พ. 2566 สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน คาดว่าจะรุนแรงกว่า ปี 2565 เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่งและปิด ประกอบกับมีมวลอากาศเย็นระลอกใหม่จากประเทศจีนแผ่เข้ามา อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรง ทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น รวมทั้งยังสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศอีกด้วย

สำหรับการดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ปี 2566 ซึ่งมีเป้าหมายอบรมเกษตรกร จำนวน 17,640 ราย สร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาเพื่อสร้างกลไกในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร รวม 337 เครือข่าย ในพื้นที่ 62 จังหวัด

กรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินการส่งเสริมโครงการส่งเสริมการไถกลบและผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 มีเป้าหมายในพื้นที่ 26,842 ไร่ครอบคลุม 9 จังหวัดภาคเหนือ และโครงการไถกลบตอซังเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุและแร่ธาตุในดิน อีก 13,000 ไร่ทั่วประเทศ เป็นพื้นที่นำร่องและตำบลต้นแบบ

กรมการข้าว ลดการเผาตอซังข้าว เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และส่งเสริมการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง เพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนในดิน ส่งเสริมให้พี่น้องชาวนาหันมาช่วยกันลดการเผาตอซังข้าว และเปลี่ยนไปเป็นการไถกลบตอซังข้าวแทน ที่จะช่วยทำให้ดินมีคุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพดีขึ้น มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อดิน ทำให้ต้นข้าวเจริญงอกงามให้ผลผลิตดี นอกจากนั้นทางกรมการข้าวยังส่งเสริมการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ที่จะช่วยลดก๊าซมีเทนในดิน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ โดยเป็นการนำเอาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะเข้ามาใช้ในการปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์ (Laser Land Levelling) ที่จะช่วยให้การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดำเนินโครงการส่งเสริมระบบวนเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน ในปีงบประมาณ 2565 รวม 68 จังหวัด 45,000 ไร่ และในปีงบประมาณ 2566 ดำเนินโครงการเฝ้าระวังการเผาซากพืช วัชพืช และวัสดุทางการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน พื้นที่เป้าหมาย 44 จังหวัด จำนวน 10,000 ไร่ เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 1,000 ราย โดยสร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกันในการหวงแหนพื้นที่ ทั้งรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ รวมถึงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยในการกำจัดเศษวัสดุทางการเกษตรมาทดแทนการเผา อีกทั้งยังส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว จำนวน 2 หน่วยปฏิบัติการ ได้แก่ จ.เชียงใหม่ และ จ.ระยอง ปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้ในการป้องกันไฟป่าและบรรเทาปัญหาหมอกควัน สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และกรุงเทพฯ และปริมณฑล

กรมปศุสัตว์ ส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาสร้างมูลค่าเพิ่มทดแทนการเผาทิ้ง การพัฒนาอาหารหมักจากเปลือกและซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ดำเนินการ MOTOR POOL ศูนย์บริการยืมเครื่องจักรกลอาหารสัตว์ พัฒนาสูตรอาหารสัตว์ ลดการใช้ยาปฏิชีวนะให้กับสัตว์ ช่วยให้กระบวนการย่อยอาหารเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากกระบวนการหมักในกระเพาะอาหารของสัตว์ได้

กรมชลประทาน สนับสนุนน้ำในอ่างเก็บน้ำ โดยร่วมมือกับกรมกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานเกี่ยวข้อง เตรียมพร้อมรับมือ ป้องกัน และดับไฟป่า แก้ปัญหาหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่

“กระทรวงเกษตรฯ ยังได้ศึกษาวิจัยต่างๆ ในการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรชนิดอื่นๆ อีกเช่นกัน มีการส่งเสริมเกษตรกรให้มีการนำวัสดุเหลือใช้ มาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และยังเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร”