เปิด แผน ปฏิบัติการฝนหลวง 2566 รับมือภัยแล้ง หมอกควัน

เปิด แผน ปฏิบัติการฝนหลวง 2566 รับมือภัยแล้ง หมอกควัน

ฝนหลวงฯ เปิดปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2566 รับมือภัยแล้ง หมอกควัน และพายุลูกเห็บทั่วประเทศ เริ่ม 1 มีนาคม - 30 กันยายน ประจำ 7 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำ 5 ภูมิภาค

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน ในพิธีเปิดปฏิบัติการ ฝนหลวงประจำปี 2566 ว่า จากที่สถานการณ์       สภาพอากาศในปี 2566 ได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์ลานีญาทำให้มีฝนตกมากกว่าค่าปกติโดยทั่วไป
แต่คาดการณ์ว่าปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” จะกลับมามีอิทธิพลต่อสภาพอากาศในประเทศไทยอีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงกลางปีนี้เป็นต้นไป ส่งผลให้สภาพอากาศแห้งแล้งมากขึ้นและฝนตกน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบเรื่องการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคน้ำเพื่อทำการเกษตร รวมถึงเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่อาจมีปริมาณน้ำเก็บกักได้น้อยกว่าในปีที่ผ่านมา เปิด แผน ปฏิบัติการฝนหลวง 2566 รับมือภัยแล้ง หมอกควัน เปิด แผน ปฏิบัติการฝนหลวง 2566 รับมือภัยแล้ง หมอกควัน เปิด แผน ปฏิบัติการฝนหลวง 2566 รับมือภัยแล้ง หมอกควัน เปิด แผน ปฏิบัติการฝนหลวง 2566 รับมือภัยแล้ง หมอกควัน

กระทรวงเกษตรฯ จึงได้มอบหมายให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในฐานะหน่วยงานดูแลบริหารจัดการน้ำในชั้นบรรยากาศ เร่งปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้รวดเร็วทันต่อสถานการณ์มากขึ้น โดยได้น้อมนำศาสตร์ตำราฝนหลวงพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้แก่เกษตรกรและผู้ใช้น้ำทั่วทั้งประเทศ รวมถึงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศด้วย

ด้าน นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับในปี 2566 มีแผนปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้ง และสร้างความชุ่มชื้นให้กับป่าไม้ การป้องกันการเกิดไฟป่าและบรรเทาปัญหาหมอกควัน ป้องกันการเกิดพายุลูกเห็บ สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เกินเกณฑ์มาตรฐาน
ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป รวมถึงการเติมน้ำต้นทุนให้กับอ่างเก็บน้ำและเขื่อนต่างๆ
ของประเทศ ประจำปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 ของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำ 5 ภูมิภาค จำนวน 7 ศูนย์ โดยมีอากาศยานรวมทั้งหมด 30 ลำ ได้แก่ อากาศยานของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จำนวน 24 ลำ อากาศยานของกองทัพอากาศ จำนวน 6 ลำ ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ดังนี้

 

 

 

1. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนบน

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป
-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดตาก ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป

2. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดแพร่ ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 มีนาคม 2566 และ วันที่ 1 – 30 มิถุนายน 2566

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2566 และ

วันที่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2566
              3. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่วันที่ 1-31 มีนาคม 2566

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 กันยายน 2566

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดลพบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 31 สิงหาคม 2566

4. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2566

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2566

                   5. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 กันยายน 2566

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2566

                   6. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2566

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสระแก้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2566

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดระยอง ตั้งแต่วันที่ 1 - 30 กันยายน 2566

                   7. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 กันยายน 2566

-หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2566

 

สำหรับแผนการตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง อาจมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ของสภาพอากาศและความต้องการน้ำในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อให้เหมาะสมในการปฏิบัติการช่วยเหลือให้ตรงตามเป้าหมาย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชนต่อไป