'Zero Hunger' สะดุด WTO ชี้ปมกีดกันการค้าก่อปัญหาอาหารไม่มั่นคง

'Zero Hunger' สะดุด WTO ชี้ปมกีดกันการค้าก่อปัญหาอาหารไม่มั่นคง

“อาหาร” หนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต แต่โจทย์ของประชาคมโลก ขณะนี้กำลังเผชิญความท้าทายที่ว่าด้วย “ความไม่มั่นคงด้านอาหาร” จากปัจจัยต่างๆ

รายงาน Rising Global Food Insecurity: Assessing Policy Responses A report prepared at the request of the Group of 20 (G20) เผยแพร่โดย องค์การการค้าโลก (WTO) ระบุว่า ความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการในปี 2023 นี้ก็คือ การทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ความไม่มั่นคงด้านอาหารของโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาในหลายๆ รูปแบบ ซึ่งทำให้การบรรลุเป้าหมายขจัดความยากจนของโลก หรือ Zero Hunger มีความยากมากขึ้น

\'Zero Hunger\' สะดุด WTO ชี้ปมกีดกันการค้าก่อปัญหาอาหารไม่มั่นคง \'Zero Hunger\' สะดุด WTO ชี้ปมกีดกันการค้าก่อปัญหาอาหารไม่มั่นคง \'Zero Hunger\' สะดุด WTO ชี้ปมกีดกันการค้าก่อปัญหาอาหารไม่มั่นคง

ในการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 13 ก.พ.2524 ที่อาบูดาบี  จึงได้ยกประเด็นความไม่มั่นคงด้านอาหารขึ้นเป็นวาระหารือ เบื้องต้นสมาชิกได้แสดงถึงแนวทางสร้างความมั่นคงด้านอาหารโดยนำประเด็นการเจรจาภาคเกษตร การสนับสนุนภายในประเทศต่างๆ การสร้างระบบสต็อกอาหารรวม ทั้งหมดนี้ได้กำหนดความสำเร็จความพยายามดังกล่าวไว้ 4 มิติได้แก่ ความมั่นคงด้านอาหาร, ความสามารถกรณีฉุกเฉิน, การเข้าถึงได้ ,คุณประโยชน์และความมั่นคง

“ผลศึกษาหลายฉบับได้กำหนดกติกา การลดการอุดหนุนภายในซึ่งเป็นการทำลายระบบการค้าขณะที่นโยบายการช่วยเหลือเกษตรที่ยั่งยืนคือ การส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม สนับสนุนการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน และระบบอาหารที่มั่นคง ขณะเดียวกัน ก็ต้องให้โอกาสแก่เกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิต ขยายเพดานรายได้ รวมถึงการกำหนดเกณฑ์ด้านการส่งออกซึ่งได้เคยใช้มาแล้วกับสินค้าฝ้าย มากกว่านั้นจะเป็นการพัฒนาความเป็นอยู่ในชนบท และให้ความมั่นคงด้านอาหารทั้งภายใน และระหว่างประเทศด้วย” 

 อย่างไรก็ตาม ตามข้อมูลของสำนักงานเลขาธิการ WTO ได้ระบุว่า ระเบียบด้านการส่งออกถึง 100 มาตรการมีการนำมาใช้เพื่อจำกัดสินค้าเกษตรที่จำเป็น จากสมาชิกWTO 29 ประเทศและ อีก 6 ประเทศผู้สังเกตการณ์ โดยมีถึง 92 กติกาที่กำหนดใช้กับสินค้าอาหาร และอาหารสัตว์ และอีก 8 กติกาที่กำหนดขึ้นไว้ให้เพื่อการส่งออกปุ๋ยเคมี 

ฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า แม้ไทยจะเป็นผู้ผลิตอาหารสำคัญในฐานะ ‘ครัวโลก’ ซึ่งมีความพอเพียงของอาหารในการบริโภคภายในประเทศ แต่ไม่ได้นิ่งนอนใจในวิกฤตการณ์ความมั่นคงด้านอาหาร

\'Zero Hunger\' สะดุด WTO ชี้ปมกีดกันการค้าก่อปัญหาอาหารไม่มั่นคง

 จึงได้ตั้งคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับด้านนโยบายอาหารของประเทศ โดยดำเนินงานผ่านคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านต่างๆ ทุกมิติ และใช้วิกฤตการณ์กลายเป็นโอกาสสำคัญของไทยในการขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเกษตร และอาหารไปยังประเทศต่างๆ ได้มากขึ้น และผลักดันให้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาสแรกของปี 2566 ขยายตัว 5.5% 

 “ไทยยังคงรักษาการขยายการส่งออกสินค้าเกษตรได้เป็นอย่างดี และได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์เกษตรอาหาร และอาหารแปรรูปสูงขึ้น เพราะสามารถผลิตเพื่อบริโภคและส่งออกได้ดี เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเอื้อต่อการทำเกษตรกรรม จึงมีความมั่นคงในด้านอาหารระดับหนึ่ง”

หากพิจารณาภาพรวมการผลิตสินค้าเกษตร รวมทั้งความต้องการใช้ในประเทศ และการส่งออกสินค้าเกษตรหลักที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ จะเห็นได้จากกลุ่มสินค้าสำคัญๆ อาทิ แหล่งคาร์โบไฮเดรตสินค้าข้าวโดยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ไทยมีปริมาณผลผลิตข้าวสาร เฉลี่ยปีละ 20.67 ล้านตัน มีความต้องการใช้เฉลี่ย 12.27 ล้านตัน และปริมาณการส่งออกเฉลี่ย 6.48 ล้านตัน 

มันสำปะหลังโรงงานมีปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังโรงงาน เฉลี่ย 31.72 ล้านตัน โดยมีความต้องการใช้หัวมันสดเฉลี่ย 11.83 ล้านตัน และปริมาณการส่งออกมันเส้น มันสำปะหลังอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลังเฉลี่ย 6.67 ล้านตันแหล่งไขมัน อาทิ ปาล์มน้ำมันไทยมีปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 16.52 ล้านตัน โดยมีความต้องการใช้น้ำมันปาล์มเฉลี่ย 1.25 ล้านตัน และปริมาณการส่งออกน้ำมันปาล์มเฉลี่ย 489,427 ตัน 

แหล่งโปรตีน อาทิ ไข่ไก่ไทยมีปริมาณผลผลิตไข่ไก่เฉลี่ย 14,970 ล้านฟอง โดยมีความต้องการใช้เฉลี่ย 14,720 ล้านฟอง และปริมาณการส่งออกเฉลี่ย 250 ล้านฟอง 

 อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มสินค้าในส่วนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเหลืองที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรมหลายประเภททั้งอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร อุตสาหกรรมสกัดน้ำมัน และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ที่ไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าโดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ลาว กัมพูชา เมียนมา ส่วน ถั่วเหลือง นำเข้าจากบราซิล และสหรัฐ

สำหรับสถานการณ์ความไม่มั่นคงด้านอาหารเป็นปัญหาที่ทั่วโลกตระหนักร่วมกันแล้วว่าจะต้องเร่งแก้ไข แต่ในทางปฏิบัติจริงหลายประเทศจำกัดมุมมองต่อการแก้ปัญหานี้ไว้เพียงการดูแลความมั่นคงด้านอาหารเฉพาะในประเทศเท่านั้น ด้วยการออกมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ ซึ่งรูปแบบนี้อาจทำให้ปัญหาในระดับโลกไม่ได้รับการแก้ไขและเป้าหมาย “Zero Hunger” ก็จะบรรลุผลสำเร็จได้ยากขึ้น

 

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์