“อาเซียน”เห็นชอบกรอบทำงาน การเงินและการคลังที่ยั่งยืน

“อาเซียน”เห็นชอบกรอบทำงาน  การเงินและการคลังที่ยั่งยืน

เมื่อเร็วๆนี้ คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM)

 ครั้งที่ 9 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีการรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 

1.การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน(ASEAN Finance Ministers’ Meeting: AFMM) ครั้งที่ 27 ที่ประชุมฯ ได้ติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือทางการเงินอาเซียนได้แก่ ด้านศุลกากร ภาษีอากร การประกันภัย การระดมทุน เพื่อโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาตลาดทุน และการบริหารความเสี่ยงและการประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ

 โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญ ได้แก่ (1) การปรับทิศทางการดำเนินงานไปสู่การลงทุนในโครงการสีเขียวเพิ่มขึ้นและการพิจารณาเพิ่มทุนมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ ของกองทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียน (2) การขยายขอบเขตของคณะกรรมการร่วมด้านการบริหารความเสี่ยงทางการเงินและการประกันภัยด้านภัยพิบัติของอาเซียนให้ครอบคลุมเรื่องโรคระบาด (3) การผลักดันการเลกเปลี่ยนหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ (4) ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการเงินการคลังและหน่วยงานสาธารณสุข ซึ่งอยู่ระหว่างประเมินความต้องการเงินทุนและกลไกระดมทุนระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศเพื่อการป้องกัน เตรียมความพร้อมและรับมือกับโรคระบาดรวมทั้งความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนระดับภูมิภาค และ (5) ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร

ะเทศเช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 คณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน และธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank ADB) โดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศระบุว่า ในปี 2566 เป็นปีที่ท้าทายเนื่องจากยังมีแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อและความเสี่ยงจากสถานการณ์สหพันธรัฐรัสเซีย-ยูเครน ส่วนอัตราเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วและจะเริ่มปรับตัวลดลงในปี 2567 ทั้งนี้ ได้เสนอแนะให้มีการรักษาสมดุลระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจกับการรักษาระดับเงินเฟ้อ

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ รับทราบประเด็นสำคัญที่อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนต้องการผลักดันให้สำเร็จภายในปี 2566 ใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการฟื้นฟูและการสร้างใหม่ (2) ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และ (3) ด้านความยั่งยืน

“ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าประเทศไทยเห็นด้วยกับร่างแถลงการณ์ร่วมฯที่มีการปรับเปลี่ยนจากร่างแถลงการณ์ร่วมฯที่ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการของร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เดิมโดยสมาชิกอาเซียนทุกประเทศรวมถึงไทยจะได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงให้สาระสำคัญมีความชัดเจน กระชับ ครอบคลุมประเด็นที่ได้หารือ และสะท้อนถึงความต้องการของสมาชิกมากขึ้น”

ระบบการเงินและการคลังจะเป็นเครื่องสำคัญที่จะนำไทยและภูมิภาคก้าวผ่านความท้าทายสู่เป้าหมายความยั่งยืนอย่างแท้จริง