“Green Job”เพิ่มจ้างงาน ล้านอัตราร่วมแก้ปัญหา “ไคลเมจเช้น”
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับทุกคน ทุกสิ่ง รวมถึง“การจ้างงาน”ด้วย รายงาน Future of Jobs Report 2023 จัดทำและเผยแพร่โดยสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum :WEF ได้พูดถึง The Green transition ไว้ว่าผลจากเป้าหมายตามข้อตกลงปารีส[Paris Agreenment]
ได้ประกาศเป้าหมายไม่ให้อุณหภูมิโลกปรับเพิ่มขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซียลเซียส และมีเป้าหมายที่จะจำกัดไว้ที่ 1.5 องศาเซียลเซียส นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านไปยัง“เศรษฐกิจสีเขียว” หรือ Green Economy คลื่นใหญ่ที่ผลักดันการเปลี่ยนผ่านนี้ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานที่จะสร้างโอกาสงานใหม่ๆอย่างมีนัยสำคัญในช่วงทศวรรษหน้า โดย"สิ่งแวดล้อม” หรือ Green ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนผ่านด้านการจ้างงานอย่างเป็นได้ชัด เกิดเป็น “Green Job”
“รายงานบอกว่าการลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวและการปรับองค์กรไปสู่มาตรฐาน ESG : Tol Governance รวมถึงการปรับองค์กรเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือClimate Change ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้สร้างการจ้างงานและโอกาสตำแหน่งงานใหม่ๆจำนวนมากและพบว่าส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางบวก”
นอกจากนี้ WEF ได้จัดเวทีเสวนา “Squaring the Circle: Delivering on Growth, Jobs and Climate” ซึ่งมีผู้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากภาครัฐและเอกชน
ราวี กุรุเมอร์ธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารNesta กล่าวว่า เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าทุกหนทางมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายคาร์บอนศูนย์ ดูได้จากการลงทุนด้านพลังงานสะอาดต่างๆที่ต้องเป็นแบบคาร์บอนต่ำและการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม พลังงานไฮโดรเจน
“ตอนนี้อาจเป็นการลงทุนต่ำเพื่อผลระยะสั้นแต่ขณะเดียวกันก็มีการลงทุนเพื่อปูพื้นฐานในระยะยาว จากทิศทางดังกล่าวนี้ ชี้ว่าการลงทุนและการพัฒนาบุคลากรเป็นไปในทิศทางเดียวกันนั่นคือสิ่งแวดล้อมยกตัวอย่างในอังกฤษ ที่กำหนดงบประมาณให้สอดคล้องกับเป้าหมายคาร์บอนต่ำเพื่อผลสำเร็จในระยะยาวที่ว่าด้วยการพัฒนาพลังงานทดแทนได้จริง”
เมื่อทิศทางของภาคธุรกิจมุ่งไปสู่การดูแลสิ่งแวดล้อมทำให้การเกิดขึ้นของ Green Job จะต้องมีการจัดการที่เหมาะสมเพื่อให้ตอบสนองความต้องการได้ทั้งปริมาณและประสิทธิภาพของแรงงานแห่งอนาคต
แพททริก ไซมอน หุ้นส่วนอาวุโสMcKinsey & Company กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านกำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงไม่เพียงด้านการลงทุน แต่ได้สร้างงานจำนวนมากถึง 3.5พันล้านอัตราเพื่อป้อนความต้องการด้านต่างๆสู่เป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์
เมื่อถามถึงการบริหารจัดการคน ก็ต้องยอมรับว่าโจทย์ที่กำลังพูดถึงคือ สิ่งที่ยังมาไม่ถึง นั่นคือ เป้าหมายปี 2050 แต่ในความเป็นจริงมี 2 ปัจจัยหลักที่พลักดันให้ความเร็วของดีมานด์บุคลากรแห่งอนาคตเพิ่มสูงขึ้น ส่วนอีกปัจจัยคือ เงื่อนไขด้านกฎระเบียบต่างๆและกลไกขับเคลื่อนทั้งการลงทุน ทิศทางธุรกิจ กำลังเร่งเครื่องให้บุคลากรต้องมีความเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อม
“ทักษะด้านสิ่งแวดล้อมเป็นที่ต้องการเพื่อตอบสนองเป้าหมายการคาร์บอนศูนย์ โดยผู้ผลิตและซัพพลายเชนทั้งหลายต้องเข้าใจเรื่องเหล่านี้ด้วย ซึ่งรวมถึงตัวแรงงานที่ทำงานในส่วนต่างๆด้วย”
อิบราฮิม อัล ซูบี รองประธานอาวุโสด้านความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริษัท อาบูดาบี เนชั่นแนล ออลล์ (ADNOC) กล่าวว่า จากนี้ไปจะเข้าสู่ยุคสมัยแห่งพลังงานคาร์บอนต่ำและพลังงานสะอาด ซึ่งจะเกิดการจ้างงานจำนวนมากเพราะอุตสาหกรรมพลังงานจะเผชิญทางเลือก 2 ทางคือ จะผลิตแบบยึดหลักต้นทุนต่ำเพื่อสร้างผลกำไร หรือ ทางที่สอง คือ จะปรับตัวเพื่อซัพพลายพลังงานสะอาดให้ลูกค้าแทน
โดยขณะนี้มีลูกค้าจำนวนมากเช่น เยอรมนี เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ทีี่มองหาพลังงานสะอาด ทำให้การพัฒนาเพื่อสู่เป้าหมายเป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อเป้าหมายปี 2060 จะบรรลุการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานได้สมบูรณ์แบบ"
การจ้างงาน คือการเชื่อมโยงจุดต่างๆให้ประสานกันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายดังนั้นเมื่อเป้าหมายเป็นการดูแลสิ่งแวดล้อม การจ้างงานก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งแนวโน้มตอนนี้ชัดเจนแล้วว่าดีมานด์จากกลุ่มลูกค้าคือ พลังงานคาร์บอนต่ำและมีประสิทธิภาพตอนนี้ดีมานด์คือ “พลังงานคาร์บอนต่ำ และยานยนต์ไฟฟ้า หรือ อีวี จะเป็นความท้าทายที่ลูกค้าหลักของเรากำลังจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานอย่างอื่น หรือต้องการประสิทธิภาพที่มากขึ้น เมื่อเราต้องเปลี่ยนเพื่อรับมือกับดีมานด์ที่เปลี่ยนไป เราก็ต้องการแรงงานที่จะเปลี่ยนไปกับเราได้ด้วยเช่นกัน”
เมื่อความเปลี่ยนแปลงยังไม่มาถึงก็เท่ากับว่ามีเวลา เตรียมตัวเพื่อปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสู่การเปลี่ยนผ่านด้านแรงงานที่ว่าด้วยการเข้าใจและรู้จักจัดการกับสถานการณ์ได้สิ่งแวดล้อมให้ได้ จึงจะเป็นกลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากGreen Job อย่างแท้จริง