'รพ.เมดพาร์ค' รักษ์โลก ตั้งเป้า Net Zero Carbon Healthcare

'รพ.เมดพาร์ค' รักษ์โลก ตั้งเป้า Net Zero  Carbon Healthcare

องค์กรการดูแลสุขภาพที่ปราศจากผลอันตราย (Health Care Without Harm) ระบุว่า หากนับระบบสาธารณสุขในประเทศต่างๆ เป็นประเทศหนึ่ง ประเทศดังกล่าวจะเป็นประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 5 ของโลก

Keypoint:

  • การดูแล รักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างๆ มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหลากหลายทั้งอาหาร ไฟฟ้า น้ำ และพลังงาน อีกทั้งมีปริมาณขยะจำนวนมาก จากอุปกรณ์ทางการแพทย์ ถุงมือ เข็มฉีดยาต้องใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
  • รพ.เมดพาร์ค  รักษ์โลก ให้ความสำคัญในการดูแลสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นเรื่องความยั่งยืน ลดโลกร้อน  โดยใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เครื่องมือแพทย์ที่ช่วยลดพลังงาน
  • เป้าหมายต่อไปของเมดพาร์ค เน้นเรื่องอาคารสีเขียว  ลดใช้กระดาษ ย้ำNet Zero  Carbon Healthcare น่าจะเกิดขึ้นได้หากทุกฝ่ายช่วยกัน

โดยระบบสาธารณสุขจะเทียบเท่ากับการปล่อยคาร์บอนของโรงงานผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน 514 แห่ง หรือ 4.4 % ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมดทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการใช้ไฟฟ้า ระบบก๊าซ ไอน้ำ ระบบปรับอากาศ และกระบวนการทำงานต่างๆ

นอกจากนั้น ขยะทางการแพทย์ 15% เป็นขยะอันตราย ที่อาจทำให้เชื้อแพร่ระบาด เป็นพิษ หรือปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ขยะทางการแพทย์อีก 85% ไม่ต่างจากขยะตามครัวเรือนทั่วไป การลดก๊าซเรือนกระจกจากโรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นจากขยะ การรักษา การผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ถือเป็นวิธีรักษามนุษย์เราอย่างยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

"รพ.เมดพาร์ค" เส้นทางสู่ "ความยั่งยืน" ด้วยนวัตกรรมทางความคิด

work life balance สไตล์ “นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช” กก.ผู้จัดการ รพ.เมดพาร์ค

 

ขยะในรพ.ปริมาณมาก เหตุใช้ครั้งเดียวทิ้งคำนึงถึงความปลอดภัย

พญ.จามรี เชื้อเพชระโสภณ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลเมดพาร์ค กล่าวในงานสัมมนา ‘Innovation Keeping the World นวัตกรรมรักษ์โลก ไทยอยู่จุดไหน?’ จัดโดย สปริงนิวส์ ร่วมกับฐานเศรษฐกิจ และเนชั่นทีวี 22 ว่า ธุรกิจโรงพยาบาลมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหลากหลาย ทั้ง อุตสาหกรรมทางด้านอาหาร ไฟฟ้า น้ำ พลังงาน และเป็นธุรกิจที่จะใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น ถุงมือ เข็มฉีดยา หรือชุดคนไข้ หรือชุด PPE ล้วนเป็นการใช้ครั้งเดียวและทิ้ง ซึ่งทำให้มีขยะของโรงพยาบาลจำนวนมาก เพราะต้องคำถึงเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัยปลอดโรคของผู้ป่วย

“โรงพยาบาล ถือเป็นธุรกิจที่มีขยะจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้มีนวัตกรรมที่นำมาใช้เพื่อลดขยะ ลดโลกร้อนนั้นมีจำนวนจำกัด เช่น ถุงมือไบโอ ถุงมือที่สามารถย่อยสลายได้ ซึ่งถุงมือในอดีตก็สามารถย่อยสลายได้ แต่ต้องใช้เวลา 500 กว่าปี แต่ถุงมือไบโอใช้เวลาย่อยสลายไม่นานแต่ราคาของถุงมือไบโอสูงมาก ขณะที่ เข็มฉีดยา ที่ต้องมีการใช้จำนวนมาก ขณะนี้ยังไม่มีนวัตกรรมใดที่มาใช้ได้ เพราะอาจจะทนกับยาบางชนิดไม่ได้ เป็นต้น”พญ.จามรี กล่าว

พญ.จามรี กล่าวต่อว่า ในอุตสาหกรรม Healthcare มีความสนใจเรื่องรักษ์โลกมากขึ้น โดยในประเทศไทยนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้มีการประชุมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการใช้พลังงานทดแทนในโรงพยาบาลทั่วประเทศ หรือการไฟฟ้า ที่ได้เข้ามาช่วยลดการใช้พลังงานต่างๆ

สำหรับรพ.เมดพาร์ค ถือเป็นโรงพยาบาลรักษาโรคยากและซับซ้อนที่ได้เปิดให้บริการปีนี้เป็นปีที่ 3 ประกอบไปด้วยอาคาร 25 ชั้น พื้นที่ประมาณ 90,000 ตารางเมตร มีแพทย์เฉพาะทางกว่า 30 สาขา สามารถให้บริการด้วยห้องตรวจผู้ป่วยนอกถึง 300 ห้อง สามารถรองรับผู้ป่วยค้างคืนได้ 500 เตียง โดยมีจำนวนเตียงผู้ป่วยวิกฤต 130 เตียง

 

 

เมดพาร์ค รักษ์โลก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ พันธกิจของรพ. มุ่งมั่นที่จะช่วยให้ผู้คนรักษาสุขภาพที่ดีไว้ได้นานที่สุด ด้วยการรักษาและดูแลผู้ป่วยอย่างดียิ่ง รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาของบุคลากรทางการแพทย์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ก้าวหน้าอยู่เสมอ  และเราจะมีค่านิยมเรื่องของการนำนวัตกรรมมาใช้ มุ่งเน้นเรื่องความยั่งยืน 

“MedPark รักษ์โลก โรงพยาบาลได้ดำเนินการมาตั้งแต่การจัดตั้งอาคาร ซึ่งอาคารของโรงพยาบาลจะเป็นอาคารประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น วัสดุในห้องคนไข้ เป็นคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งหมด ขณะที่อาคารด้านที่เผชิญแสงแดด จะใช้กระจกนิรภัย 4 ชั้น ลดแสง ลดความร้อนที่จะเข้ามาในอาหาร กระจกด้านนอกสะท้อนต่ำ ไม่ปล่อยความร้อน หรือแสงสะท้อนไปรบกวนผู้อยู่อาศัยโดยรอบ เพื่อความยั่งยืนในระดับโลก โดยการออกแบบ เรียบและสวยงาม ซึ่งปัจจุบันได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียว LEED Gold จากสภาอาคารเขียวแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Green Building Council : USGBC)   ปี 2020”  พญ.จามรี กล่าว

นอกจากนั้น สภาพภายในโรงพยาบาล เช่น ชั้น 10 จะมีสวยเพื่อให้ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยได้ใช้บริการ และใช้ระบบน้ำจากบ่อน้ำบำบัดมาใช้ในการลดน้ำต้นไม้ รวมถึงน้ำดูแลเรื่องอากาศภายในโรงพยาบาลที่ต้องดีกว่าผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย ผู้มาใช้บริการ

พญ.จามรี กล่าวต่อไปว่าในส่วนของการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ จะเน้นเลือกคู่ค้าที่มีอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยและคำนึงถึงการลดการใช้พลังงาน เช่น เครื่อง CT Scan ปัจจุบันโรงพยาบาลเมดพาร์ค ใช้เครื่องจากบริษัทที่มีเป้าหมายในการลดปริมาณรังสี และลดการใช้พลังงาน โดยรุ่นที่ใช้ลดการใช้ไฟฟ้าได้มากกว่ารุ่นเดิมถึง 40% ลดการเกิดของเสียจากการทำงานหลายขั้นตอน โดยใช้กระบวนการ Automation เช่น การตรวจเลือด ทำให้ใช้ปริมาณเลือดหรือสิ่งส่งตรวจน้อยลงอีกด้วย

รวมทั้งได้มีการใช้ไอที และมีแอปพลิเคชั่นต่างๆ เข้ามาในขั้นตอนการทำงาน เพื่อลดการใช้กระดาษ  เช่น การนัดหมาย และการสั่งยา เป็นต้น แล มีกระบวนการในการดูแลผู้มารับบริการ ปรับกระบวนการให้สั้นกระชับ รู้ผลเร็ว ดีขึ้นเร็ว กลับบ้านเร็ว ส่งผลให้วันนอนโรงพยาบาลสำหรับผู้มารับบริการแต่ละคนลดลง ลดการสูญเสียเวลา ค่าใช้จ่าเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการอุปโภค บริโภค เป็นการลดค่าใช่จ่ายทั้งทางตรงและทางออกทั้งของผู้มารับบริการและโรงพยาบาล

“เป้าหมายต่อไปของรพ.เมดพาร์ค นั้น จะเข้าร่วมโครงการ LEED Operation and maintenance  และ Paperless  และ Digital Transformation  อย่างไรก็ตาม Net Zero  Carbon Healthcare น่าจะเกิดขึ้นได้หากทุกฝ่ายช่วยกัน” พญ.จามรี กล่าว