“CBAM”กลไกจี้ธุรกิจปรับตัว รับโมเดลใหม่ทำได้เลยไม่ต้องรอ
คณะกรรมาธิการยุโรป รัฐสภายุโรป และคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปหรือ อียูมีกำหนดการใช้ ระเบียบการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ซึ่งล่าสุดได้ขยายขอบเขตการบังคับใช้ CBAM จากเดิม 5 กลุ่มสินค้า
ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย และไฟฟ้า ให้เพิ่มเป็น 7 กลุ่มสินค้า โดยรวมไฮโดรเจนและสินค้าปลายน้ำบางรายการ อาทิ น็อตและสกรูที่ทำจากเหล็กและเหล็กกล้า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (indirect emissions) อาทิ ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตสินค้า ซึ่งได้ข้อสรุปในรายละเอียดสำคัญของมาตรการดังกล่าวแล้ว และจะเริ่มบังคับใช้มาตรการ CBAM ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566
เทโป สักเขียน ที่ปรึกษาด้านสภาพภูมิอากาศ พลังงาน และนโยบายอุตสาหกรรม หอการค้าฟินแลนด์ กล่าวในงาน SET Sustainability Forum 2/2023: From Sustainability Ambitions… to Actions จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า CBAM เป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดราคาที่อียูจะใช้เพื่อลดการปล่อยมลพิษลง55% ภายในปี 2573 และเป้าหมายเป็นกลางทางสภาพอากาศในปี 2593 ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของอียูต่อสนธิสัญญาปารีส โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันการรั่วไหลของคาร์บอนและส่งเสริมการดําเนินการด้านสภาพอากาศและการกําหนดราคาคาร์บอนทั่วโลกในลักษณะที่สอดคล้องกับองค์การการค้าโลก(WTO)
“แนวคิดหลักคือราคาเดียวกันสําหรับการปล่อยคาร์บอนที่สินค้าที่ผลิตในอียูต้องจ่ายที่ต้องเหมือนกับที่สินค้าที่มีการนำเข้าต้องจ่ายด้วย”
หากจะถามถึงการทำงานของ CBAM จะเป็นไปตามกฎหมายของสหภาพยุโรป มีผลบังคับใช้กับคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป หน่วยงานระดับชาติในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และผู้นําเข้าสหภาพยุโรป จะต้องประกาศการปล่อยมลพิษที่เกิดจากสินค้า รวมถึงการซื้อและมอบใบรับรอง CBAM จํานวนที่สอดคล้องกันทุกปี (1 ต่อ CO2-ton ค่าใช้จ่ายสะท้อนถึง EU ETS) หากประเทศต้นทางมีการกําหนดราคาคาร์บอน (การซื้อขายภาษี/การปล่อยมลพิษ) สามารถอนุมานได้ การรายงานเริ่มในเดือนต.ค. 2566 ค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ทันกับกฎของWTO
รายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับการดําเนินการในระหว่างขั้นตอนการรายงาน ในระหว่างขั้นตอนการรายงาน (2023-2025) ผู้นําเข้ารายงานต่อรีจิสทรี BAM ที่เก็บไว้โดย EU Commission ทุกไตรมาส รายงานครั้งแรกในเดือน ม.ค. 2024 ผู้นําเข้าจะต้องประกาศการปล่อยมลพิษทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงราคาคาร์บอนที่จ่าย และผู้นําเข้าจะต้องรักษาความปลอดภัยข้อมูลนี้จากผู้ผลิตในประเทศต้นทางเพื่อใช้ในช่วงปีต่อเนื่องไป
“CBAM สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการซื้อ คาร์บอนเครดิตที่มีราคาคาร์บอนตามที่กำหนด ซึ่งจะทำให้การลดปล่อยคาร์บอนเป็นไปทั้งในแบบทางตรงคือตัวอุตสาหกรรมที่ผลิตนั้นๆจะค่อยลดลง และอุตสาหกรรมอื่นจะเพิ่มการสร้างคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะส่งผลให้สิ่งแวดล้อมโดยรวมดีขึ้น ”
กฎระเบียบทางการค้าใหม่ที่กำลังจะถูกนำมาใช้ จะสร้างแรงสั่นสะเทือนต่อการค้าและอุตสหกรรมโดยรวม ด้วยเงื่อนไขการค้าที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ผ่านมาตรการลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งผู้ประกอบการไทยในฐานะที่ทำการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญต้องปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงใหม่นี้
สมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า สถาณการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยที่ถูกพูดถึงเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา แม้จะถูกมองว่าเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจอย่างหนึ่งแต่อีกด้านของความเปลี่ยนแปลที่เกิดขึ้นนี้ ก็ได้สร้างโอกาสด้วยการส่งต่อการปฎิบัติการเงื่อนไขต่างๆไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ
“ การค้นหา Business Model ด้วยตัวเอง เป็นเรื่องใหม่ต้องคิดให้รอบด้าน ในฐานะผู้ประกอบการต้องหาโอกาสใหม่ๆรวมถึงการหาบุคลากรที่จะรองรับธุรกิจใหม่ให้เป้าหมายประสบความสำเร็จในระยะยาว ซึ่ง Business Model ไม่ได้หมายถึงการเกิดธุรกิจใหม่เสมอไปแต่หมายถึงการทำให้ได้ตามเงื่ีอนไขใหม่ๆที่มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม”
ทั้งนี้การทำงานของภาครัฐก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้การรับมือกับมาตราการทางสิ่งแวดดล้อมต่างๆ ถ้าทำสำเสร็จจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนต่อไป
ในวันที่ 1 ต.ค.2566 ถึง 31 ธ.ค. 2568 (3 ปีแรก) เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งผู้นำเข้าสินค้า 7 กลุ่ม มีหน้าที่รายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่ผลิต และเริ่มบังคับใช้มาตรการอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2569 ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องซื้อใบรับรอง CBAM ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้านั้น