ธุรกิจเปิดประสบการณ์รับมือเงื่อนไข การเปลี่ยนแปลงภาพภูมิอากาศ

ธุรกิจเปิดประสบการณ์รับมือเงื่อนไข  การเปลี่ยนแปลงภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเราทุกคน เมื่อถึงวันหนึ่งก็จะเป็นเรื่องที่กระทบตัวเราทุกคนเช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่ภาคธุรกิจที่มองเห็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้วและมีแผนรับมือที่น่าสนใจ

 สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวในงาน งาน SET Sustainability Forum 2/2023: From Sustainability Ambitions … to Actions จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ว่า ภาวะโลกร้อน นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเนื่องมาเป็นระยะ ๆ การใช้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals:SDGs) เพื่อรับมือสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นเป้าหมายที่ธุรกิจให้ความสำคัญมาก ทั้งในด้านพลังงานที่มีความทันสมัย กรีนคาร์บอน และพลังงานสะอาด พลังงานสีเขียวจะเข้ามามีบทบาททดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

จากพื้นฐานแนวคิด SDGs ได้ทำให้เห็นภาพของ BCG ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่ง BCG การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมและเศรษฐกิจนี้อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) นำไปสู่ BCG  หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่ส่งต่อให้การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด Environmental, Social, Governance : ESG 

“ในบริษัทจดทะเบียนและนักลงทุนทั่วโลก บริษัทจดทะเบียนชั้นนำหลายรายมีการนำ ข้อมูลทางด้าน ESG มาเปิดเผยต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และสาธารชนให้ทราบถึงการดำเนินงานของกิจการในรูปแบบของการจัดทำรายงานความยั่งยืน (Sustainability reporting)” 

ในส่วนการสนับสนุนเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน ได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิต ขึ้นในประเทศ (T-VER) ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจและทางเลือกในการลดก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบ ธุรกิจ มีกลไกราคาคาร์บอนที่ยุติธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้

นอกจากนี้ ได้จัดตั้ง สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (FTI-CCi) เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของอุปสงค์ อุปทาน ที่สามารถ แลกเปลี่ยน และซื้อ-ขาย ในตลาด อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ และพลังงาน สะอาดทุกประเภท สามารถให้การรับรอง ผู้ประกอบการโดยเป็นที่ยอมรับของทั้งในประเทศและต่างประเทศ ธุรกิจเปิดประสบการณ์รับมือเงื่อนไข  การเปลี่ยนแปลงภาพภูมิอากาศ

แพลตฟอร์มการซื้อขาย พลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิต ยังทำหน้าที่ซื้อ-ขาย REC, IREC, GS or VERRA ในอนาคตอันใกล้ที่นอกจากจะเป็นแพลตฟอร์มเพื่อช่วยให้การซื้อขาย คาร์บอนเครดิตในประเทศให้เป็นเรื่องง่าย สะดวกและมี ประสิทธิภาพมากขึ้นแล้วยังเพิ่มโอกาสการแข่งขันทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่มีสินค้า ส่งออกนอกประเทศเป็นที่ยอมรับว่า สินค้าที่ผลิตมีความ ปลอดภัยและเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมด้วย รวมถึงลดความ เสี่ยงจากผลกระทบของมาตรการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism:CBAM) ได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญกับการปรับตัวทางธุรกิจเพื่อรับมือกับความยั่งยืน ในส่วนภาครัฐก็ตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวด้วย  โดยเมื่อเร็วๆนี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.)รับทราบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอผลการประชุม The 1stAsia Zero Emission Community (AZEC) Ministerial Meeting ที่ประชุมเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุมฯ และร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนด้านเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage : CCUS) ระหว่าง พน. แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น

ในส่วนของภาคธุรกิจที่ปรับตัวรับการความเปลี่ยนแปลงทั้งเพื่อให้ธุรกิจยังดำเนินอยู่ได้ท่ามกลางความท้าทายที่อาจเป็นความเสี่ยงต่อธุรกิจในอนาคตหากไม่มีการปรับตัว 

สมพล ธนาดำรงศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ. ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้  (FPI) กล่าวว่า ฟอร์จูน พาร์ท เป็นอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ของประเทศไทย เป็นบริษัทที่มีมาตรฐานโรงงานระดับโลก ด้วยความท้าทายและความเสี่ยง 4 อันดับแรกในอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นไม่ว่าจะเป็น 1. ภาวะเศรษฐกิจถดถอย 2. โรคระบาด 3.สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป 4. ภาวะสงคราม ยูเครนรัสเซียทำให้เกิดผลกระทบทั้นสิ้น

 โดยเฉพาะการรับมือทางสภาพอากาศ บริษัท FPI นั้นได้จะเน้นการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ พัฒนาสู่ความเป็นเลิศเชิงนิเวศเศรษฐกิจด้วยการสร้างคุณค่าเพิ่มต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควบคู่ไปกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเข้าสู่การเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยการ การตรวจวัด (Compulsory) ทราบปริมาณการปล่อย Greenhouse gases (GHG) และทราบแหล่งปล่อย GHG ที่สำคัญ รวมถึงการประเมินศักยภาพและมาตราการลด GHG ตลอดจนถึง การชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้คงเหลือแต่คาร์บอนเครดิตและรายงานประเมินผลการดำเนินงานเพื่อสื่อสารต่อสาธารณะ