ปี 65 "ภัยพิบัติ" กว่า 140 ครั้ง เขย่าเศรษฐกิจพัง 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปี 65 "ภัยพิบัติ" กว่า 140 ครั้ง เขย่าเศรษฐกิจพัง 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเผชิญความสามารถที่น้อยในการปกป้องและฟื้นฟูผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Climate Change) ขณะที่ความรุนแรงของปัญหาเพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจที่ชัดเจน

รายงานล่าสุดโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)  ระบุว่ า ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันที หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 องศา และ 2 องศา  คือความเสี่ยงจากภัยพิบัติซึ่งแซงหน้าความสามารถการฟื้นตัวที่มีข้อจำกัดจากการปรับตัวและอุปสรรคต่างๆต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change  ได้นำมาซึ่งความรุนแรงที่มากขึ้นและคุกคามภูมิภาค ซึ่งสร้างความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล  ซึ่งพบว่า  ปี 2565 เพียงปีเดียว ภัยพิบัติกว่า 140 ครั้งเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 7,500 ราย ส่งผลกระทบต่อผู้คนกว่า 64 ล้านคน และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ตาม พบว่ายังไม่มีปฎิกริยาใดๆต่อปัญหานี้ ซึ่ง"รายงานภัยพิบัติเอเชียแฟซิฟิก 2566" หรือAsia-Pacific Disaster Report 2023   ซึ่งรายงานนี้ได้คาดการณ์ไว้ว่า ภัยพิบัติต่างๆ จะส่งผลกระทบต่อชีวิตและเศรษฐกิจ ถึงปีละ กว่า 1 พันล้านดอลลาร์ หรือ 3% ของจีดีพีภูมิภาค ในกรณีที่ภูมิภาคสูงถึง 2 องศาเซลเซียส 

 

รายงานยังย้ำอีกว่า ความเสียหายที่ว่านี้จะส่งผลที่มากกว่าในพื้นที่แถบอนุภูมิภาค  หรือหมูเกาะเล็กซึ่งจะเผชิญความไม่เท่าเทียมและการทำลายล้างที่สูงในภาคเกษตรและพลังงาน ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องไปถึงเรื่องความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานอีกด้วย

อาร์มิดา ซัลเซียห์ อลิสจาห์บานา เลขาธิการสหประชาชาติและเลขาธิการอาวุโสของ ESCAP กล่าวว่า "ในขณะที่อุณหภูมิยังคงเพิ่มสูงขึ้น จุดที่เกิดภัยพิบัติใหม่ก็เกิดขึ้น และจุดที่มีอยู่ก็ทวีความรุนแรงมากขึ้น ภัยพิบัติฉุกเฉินกำลังดำเนินอยู่ และเราต้องเปลี่ยนแนวทางของเราในการสร้างความยืดหยุ่นในระดับพื้นฐาน"

การลงทุนที่เพิ่มขึ้นในระบบเตือนภัยล่วงหน้าแบบหลายจุดอันตราย ตลอดจนการขยายความครอบคลุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดการเสียชีวิต และการสูญเสียจากภัยพิบัติได้ถึง 60 % หากคำนวนเป็นผลตอบแทนก็จะพบว่ามีอัตราที่สูงมากถึง  10 เท่า

สำหรับรายงานฉบับนี้ เปิดตัวในการประชุมครั้งที่ 8 ของคณะกรรมการ ESCAP ว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ(Committee on Disaster Risk Reduction) ซึ่งจะเรียกประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญในช่วง 3 วันข้างหน้าเพื่อสำรวจความพยายามเชิงปฏิบัติในการแก้ปัญหาเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทั่วทั้งภูมิภาค

"เราอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในความพยายามของเราที่จะบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน ภัยพิบัติที่เกิดจากสภาพอากาศและภัยพิบัติอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อประเทศและชุมชน การจัดการกับภัยคุกคามระดับโลกนี้ต้องใช้ความพยายามร่วมกันเพื่อเร่งการดำเนินการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วน" พลตำรวจโท ณัฐพิชญ์ สนิทวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยกล่าว

ในปีนี้ Committee on Disaster Risk Reduction จะมุ่งเน้นไปที่การดำเนินการที่สำคัญ เช่น การปรับเป้าหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งช่วยให้ครัวเรือนที่เปราะบางสามารถปกป้องทรัพย์สินและการดำรงชีวิตของพวกเขาในจุดเสี่ยงอันตราย คณะกรรมการยังคาดว่าจะรับรองยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคเพื่อให้บรรลุถึงการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับทุกคนภายในปี 2570

ยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคนี้ สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการระดับโลกว่าด้วยการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับทุกคน พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งเปิดตัวโดยเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อปีที่แล้ว และมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือข้ามพรมแดนระหว่างประเทศต่างๆ ในเอเชียและแปซิฟิกซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีแนวโน้มเกิดภัยพิบัติมากที่สุดในโลก