กยท.จับมือ บ.อกรีแอค -นิคมป่ายุบใน พัฒนามาตรฐานสวนยางตะวันออก

กยท.จับมือ บ.อกรีแอค -นิคมป่ายุบใน พัฒนามาตรฐานสวนยางตะวันออก

กยท. เขตภาคกลางและภาคตะวันออก MOU บริษัท อกรีแอค โกลบอล สหกรณ์นิคมป่ายุบใน ร่วมจัดการสวนยาง ยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากล” FSC™หรือPEFC™หวังเพิ่มรายได้เกษตรกร ยกระดับผลผลิตยางพาราในภูมิภาคสู่สากล โดยยึดหลักเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นายจิรวิทย์ มีชูภัณฑ์ ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคกลางและภาคตะวันออก เปิดเผยว่า การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคกลางและภาคตะวันออก ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท อกรีแอค โกลบอล จำกัด และสหกรณ์นิคมป่ายุบใน จำกัด ในสังกัด กยท. จ.ระยอง ซึ่งทั้ง 3 ฝ่ายจะร่วมกันประสานความร่วมมือให้โครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์

กยท.จับมือ บ.อกรีแอค -นิคมป่ายุบใน พัฒนามาตรฐานสวนยางตะวันออก

โดยในส่วนของ กยท. จะมีหน้าที่ให้การสนับสนุน ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับเกษตรกรชาวสวนยาง และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง พร้อมทั้ง ร่วมกันพัฒนาสวนยางของเกษตรกรให้ได้ตามมาตรฐานระดับสากล เช่นมาตรฐานFSC™ (Forest Stewardship Council)หรือมาตรฐานPEFC™ (Programe for theEndorecement Forest Certification)

กยท.จับมือ บ.อกรีแอค -นิคมป่ายุบใน พัฒนามาตรฐานสวนยางตะวันออก

 

ด้าน บริษัท อกรีแอค โกลบอล จำกัด มีความพร้อมในเรื่องของตลาดที่จะรับซื้อผลผลิต โดยจะเป็นตัวกลางที่จะเชื่อมโยงไปถึงผู้ใช้ยางได้ และในส่วนของสหกรณ์นิคมป่ายุบใน จำกัด ซึ่งเป็นสถาบันที่มีความสนใจและมีความพร้อมในการจะพัฒนาและผลักดันสวนยางพาราของกลุ่มสมาชิกของสหกรณ์ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานเช่นกัน

 “การมีส่วนร่วมของภาครัฐโดย กยท. ภาคเอกชนโดย บริษัท อกรีแอค โกลบอล จำกัด และภาคการเกษตรโดย สหกรณ์นิคมป่ายุบใน จำกัด ในการพัฒนาสวนยางให้ได้มาตรฐาน สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตยางพาราให้กับเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่จังหวัดระยองและใกล้เคียง เพื่อพัฒนาธุรกิจยางพารา อุตสาหกรรมไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราอย่างครบวงจร โดยยังคงคำนึงถึงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่ง ประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า ปัจจุบันภาคธุรกิจต่างๆ ให้ความสำคัญในเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาเลือกใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมที่มีความเหมาะสม ซึ่งรวมถึงสินค้าและผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยางพารา อย่างเช่นกลุ่มบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ของโลก และกลุ่มผู้ซื้อในหลายประเทศที่มีนโยบายการรับซื้อน้ำยาง ผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางที่ได้จากสวนยางพาราที่ผ่านการรับรองการจัดการภายใต้มาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน (Forest Stewardship Council : FSC™)

กยท.จับมือ บ.อกรีแอค -นิคมป่ายุบใน พัฒนามาตรฐานสวนยางตะวันออก

กยท. จึงเดินหน้าส่งเสริมสวนยางพาราของไทยให้เข้าสู่ระบบการรับรองป่าไม้ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี ทั้งการรับรองป่าไม้ (Forest Certification) แบ่งเป็น การรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน (Forest Management Certification : FM) และการรับรองกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้และการค้า (Chain of Custody Certification : CoC) จึงครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการปลูกสร้างสวนยาง เก็บเกี่ยว แปรรูป จนถึงการซื้อ-ขายผลิตภัณฑ์จากยางพาราผ่านระบบตลาดยางพาราของ กยท. และหน่วยธุรกิจ ถือเป็นการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมยางพาราอย่างครบวงจร ที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย

 

“ตลาดกลางยางพาราของ กยท. และตลาดเครือข่ายตลาดกลางยางพาราทั่วประเทศ จะเป็นช่องทางซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่ผลิตยางตามมาตรฐาน FSC™ โดย กยท.จะเข้าไปมีส่วนช่วยหาตลาดรองรับผลผลิตยางของเกษตรกรด้วย เบื้องต้นมีหลายบริษัทให้ความสนใจและแจ้งยอดสั่งซื้อผ่าน กยท. มาแล้ว กว่า 10,000 ตัน”

นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กยท. มุ่งเน้นนโยบายและดำเนินงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจและระบบตลาดภายใต้แนวทางการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางพาราให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้ยางพาราของเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางของไทยต่อไป

 

ทั้งนี้การรับรองการจัดการสวนป่า คือ การขอรับการรับรองจากหน่วยงานมาตรฐานป่าไม้ เพื่อรับรองการดำเนินงานด้วยสวนป่า หรือการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน FSC (Forest Stewardship Council) ซึ่งเป็น องค์กรเอกชนที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มต่างๆทั่วโลก เช่น กลุ่มนักอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ผู้ค้าไม้ผู้ผลิตสินค้าจากไม้และกลุ่มชนพื้นเมือง โดยมีองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือเป็นผู้ให้การรับรอง

 

มาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการรับประกันว่าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ได้รับการ รับรองมาตรฐาน FSC เป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ไม่ได้มาจากป่าธรรมชาติ แต่เป็นผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากป่าปลูกที่มีการจัดการป่าไม้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและเป็นที่ยอมรับในระดับ นานาชาติ”

 

 

 

การรับรองมาตรฐาน FSC มีแนวทางหลักอยู่ 3 ประการ ประกอบด้วย 1.การจัดการป่าไม้ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ถึงแม้มีการใช้ทรัพยากรป่าไม้ที่มี ความหลากหลายทางชีวภาพ แต่จะมีระบบการจัดการดูแลความสมดุลทางชีวภาพ 2. การจัดการป่าไม้เพื่อสังคม เพื่อช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่นให้ได้รับผลประโยชน์จากการ จัดการป่าไม้ในระยะยาว 3. การจัดการป่าไม้ที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอย่างคุ้มค่า และยั่งยืน เน้นรายได้หลักจากนำน้ำยาง เศษยาง และเนื้อไม้เป็นรายได้รองลงไป

 

 ด้านคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกโครงการ ต้องเป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย มีเอกสารแสดงสิทธิ์ในการถือครองที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้สมัครได้รับพิจารณาอนุมัติให้เป็นสมาชิกกลุ่มแล้วจะไม่สามารถสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่ม อื่นได้ในการรับรองประเภทหรือลักษณะเดียวกันนี้

 

 ต้องให้ความร่วมมือกับกลุ่มจัดการป่าไม้ฯ ในการจัดการสวนยางพาราให้เป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐาน FSC ต้องให้ความร่วมมือกับกลุ่มจัดการป่าไม้ฯในการแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่อง ที่ตรวจประเมินพบโดยผู้ตรวจรับรองหรือผู้แทนการบริหารจัดการของกลุ่มจัดการป่าไม้ การยางแห่งประเทศไทย หลังการเก็บเกี่ยวเนื้อไม้ยางพาราแล้วต้องด้เนินการปลูกไม้ยางพาราหรือไม้เศรษฐกิจอื่นๆ ใหม่ทดแทนภายในเวลา 2 ปี