กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก รับมือเทรนด์โลกร้อน ขนเทคโนโลยีสู้ตลาดต่างประเทศ
"พาณิชย์" รับเทรนด์รักโลกถือเป็นต้นทุน "สถาบันพลาสติก" แนะ รัฐ อย่าหวังแต่จะดึงเม็ดเงินต่างประเทศ แล้วลืมดีมานด์ในไทย "GC" พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมาย Net Zero "บิ๊กสตาร์" เร่งเครื่องหาตลาดใหม่ หวังยอดส่งออกตลาดต่างประเทศเพิ่ม
กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย ร่วมกันจัดงานสัมมนา “A-PLAS 2024: Integrating Plastic Value Chain for Eco-Future” พร้อมเชิญชวนร่วมงานวันที่ 19-21 กันยายน 2567 เพื่อเป็นเวทีแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงของอุตสาหกรรมพลาสติก รวมทั้งเป็นนำเสนออุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง อาทิ วัสดุ สารเติมแต่ง เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือช่วยการผลิต ตลอดจนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
นายรัชวิชญ์ ปิยะปราโมทย์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่าง ประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวในหัวข้อ Plastics Innovation for Advance Industry & Sustainable Future ว่า ต้องยอมรับว่าการส่งออกของไทยถือเป็นเครื่องจักรสำคัญ โดยการส่งออกพลาสติกถือเป็นสินค้าส่งออกอันดัน5 มีมูลค่าราว 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยตลาดใหญ่สุดคือจีน สัดส่วน 20% รองลงมาคือ ญี่ปุ่น 12% อินเดีย 9% สหรัฐ 8% และ อินโดนีเซีย 7%
สำหรับแนวโน้มคาดการณ์ส่งออกอุตสาหกรรมพลาสติกปี 2567-2569 จะมีการเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยมาจากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่จะค่อย ๆ ฟื้นตัว รวมถึงการลงทุนภาครัฐในอุตสาหกรรมเอส เคิร์ฟ (S-Curve) ซึ่งไทยจะได้รับแรงบวกจากตรงนี้ด้วย จึงอาจมองตรงนี้เป็นโอกาส
สำหรับความท้าทายสำคัญ คือ การแข่งขันอย่างรุนแรงเพราะการที่ประเทศต่าง ๆ และทั่วโลกมีนโยบายลดการใช้พลาสติกครั้งเดียว และส่งเสริมการใช้พาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และกระบวนการผลิตลดคาร์บอน ที่จะเป็นต้นทุนให้ผู้ประกอบการ รวมถึงปัจจัยความผันผวนของราคาน้ำมันดิบตลาดโลก
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้ช่วยเหลือ สนับสนุนและส่งเสริมภาคธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ถือเป็นนโยบายของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ให้ความสำคัญช่วยเหลือคนตัวเล็ก อาทิ จัดกิจกรรมจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจทั้งพาไปตลาดใหม่ และตลาดที่มีศักยภาพต่างประเทศ เป็นต้น
นอกจากนี้ จากมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) รวมถึงมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เกือบทั่วโลกต่างกำหนดกฏกติกาต่าง ๆ มากมาย หากดูที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลาสติก ประเทศที่พัฒนาแล้วจะใช้เยอะ ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาจะเริ่มใช้ในเรื่องของการห้ามใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว, สนับสนุนเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงกำหนดบรรจุภัณฑ์อาหารที่ต้องได้รับมาจรฐาน เป็นต้น
"เทรนด์รักโลกถือเป็นต้นทุนที่ท้าทาย ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจ และต้องหาทั้งตลาด หาสินค้าทดแทน เลี่ยงผลิตพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว เพราะมาตรการ CBAM แม้ว่าตอนนี้จะอยู่ในขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูลการปล่อยคาร์บอน ใน 6 ประเภทสินค้า ที่ยังไม่รวมพลาสติก แต่ปี 2569 จะเริ่มบังคับซื้อใบอนุญาตและเก็บภาษีจริงจัง การค้าขายกับประเทศพัฒนาแล้วจะเหนื่อย ต้องถูกใจคนซื้อ เเพราะจะดูทั้งกระบวนการผลิต การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น"
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือร่วมมือนำเสนอภาครัฐโดยใช้ข้อมูลที่มีประโยชน์ในสิ่งที่ไปได้ และไม่ได้ให้ผู้ประกอบการได้อย่างเดียว ภาครัฐก็เก็บภาษีผู้ประกอบการได้ การจะดำเนินด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ จะใช้มาตรการด้านภาษี ใช้พลังงานสะอาดขานรับตัวเลข จะได้รับสิทธิยกเว้นด้านภาษีอย่างไร รวมถึงการลงทุนด้านเทคโนโลยีเข้าช่วย เพราะต้นทางอุตสาหกรรมพลาสติกไปยังปลายทางมีค่าพรีเมียม
นายจุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก กล่าวว่า อุตสาหกรรมพลาสติกเป็นภาพของต้นน้ำที่เชื่องโยงในมิติต่าง ๆ โดยมีปริมาณมูลค่าทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 8% ของผลิตภัณฑ์รวมภายในประเทศ (GDP) ในประเทศไทย ดังนั้น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี แหล่งวัตถุดิบ หลุมก๊าซธรรชาติ ในไทยจะเป็นอย่างไรอยู่ที่การนำจะเสนอ
ทั้งนี้ ในเชิงเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพลาสติกหากต้องการเพิ่มมูลค่า จะเชื่อมโยงอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้อีกมาก ซึ่งข้อกังวลจากข้อกำหนด มุมการค้า แง่การดูแลรักษาโลก จะเป็นต้นทุนผู้ประกอบการ หากจะให้ไปถึงการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น หากจะเดินไปลำพังจะไม่สามารถโตได้ จะต้องร่วมมือ ซึ่งปลายทางของอุตสาหกรรมพลาสติกมีมากมาย ทั้งภาคการขนส่ง ภาคบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งภาคยานยนต์ไทยต้องการดึงเงินลงทุนจากต่างชาติสูงจริง แต่จะเกิดภาวะอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญหรือไม่
"เราอยากชวนนักลงทุนต่างชาติเข้ามา แต่จะปล่อยให้เอาซัพพลายเออร์เข้ามาทั้งระบบ หรือเราจะสร้างข้อตกลงบางอย่างเพราะไทยมีความเก่งด้านเทคโนโลยีอยู่แล้ว สิ่งสำคัญคือนโยบายว่าจะกำหนดเทรนด์หรือจะทำอะไรต่อ ไทยมีดีมานด์ แต่ก็ปล่อยให้ต่างชาตินำเข้ามา"
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคในการยกระดับอุตสาหกรรมพลาสติกไทย ผู้ประกอบการถือเป็นหัวใจสำคัญ หากอยู่ไม่ได้ จะไม่เกิดการจ้างงาน ไม่เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไทยเจอการคุกคามและฐานการผลิตที่เวียดนามทั้งแรงงาน และราคาพลังงานที่ถูกกว่า ดังนั้น ภาครัฐต้องมีส่วนขับเคลื่อนร่วมกับผู้ประกอบการให้มีความท้าทายทันสมัย เช่น ซัพพลายเชนยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ไทยยังเข้าไปไม่ได้ เพราะต้นทุนเบื้องต้นยังสู้จีนไม่ได้
นอกจากนี้ ในการปลดปล่อยคาร์บอนที่ระบุว่าให้เป็นพลังงานสะอาดนั้น ยอมรับว่าทุกอย่างมีต้นทุน ต้องสร้างความรู้ความสามารถให้เท่าทัน เพราะการจะพัฒนาจะเกิดความยั่งยืนจะต้องปรับตัว โดยเฉพาะนวัตกรรมที่มีต้นทุนถือว่ามีความท้าทาย ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ หน่วยงานภาครัฐ และภาคการศึกษาจะต้องเข้ามาช่วย เพื่อให้โลกยั่งยืน องค์กรก็จะต้องยั่งยืนด้วย
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือร่วมมือนำเสนอภาครัฐโดยใช้ข้อมูลที่มีประโยชน์ในสิ่งที่ไปได้ และไม่ได้ให้ผู้ประกอบการได้อย่างเดียว ภาครัฐก็เก็บภาษีผู้ประกอบการได้ การจะดำเนินด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ จะใช้มาตรการด้านภาษี ใช้พลังงานสะอาดขานรับตัวเลข จะได้รับสิทธิยกเว้นด้านภาษีอย่างไร รวมถึงการลงทุนด้านเทคโนโลยีเข้าช่วย เพราะต้นทางอุตสาหกรรมพลาสติกไปยังปลายทางมีค่าพรีเมียม
นายชัชชาลี รักษ์ตานนท์ชัย Vice President สายงานกลยุทธ์ และพาณิชยกิจ กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีมูลค่าเพิ่ม บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า GC ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์รายหนึ่งของประเทศไทย ถือเป็นผู้ผลิตต้นน้ำมีบทบาทสำคัญที่ต้องสร้างความน่าเชื่อถือ ดังนั้น เมื่อสภาพแวดล้อม และกติกาสากลที่ต้องแข่งขัน GC จะต้องปรับตัว
ทั้งนี้ GC ได้ทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อเตรียมพร้อมร่วมกันว่าจะทำอะไรบ้าง เพราะมีกติกาอื่น ๆ ผูกพันไปถึงพลังงานของประเทศ และนโยบายแหล่งที่มาของพลังงานของประเทศ สิ่งเหล่านี้จะขับเคลื่อนเป้าหมาย Net Zero ประเทศได้อย่างไร รวมถึงการเตรียมความพร้อมช่วยเหลืออุตสาหกรรมพลาสติกให้ยั่งยืนได้อย่างไร
อย่างไรก็ตาม GC ได้ตั้งเป้าและทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าผู้ประกอบการใน Value Chain ที่รับวัตถุดิบจาก GC ไปแล้วจะเป็นวัตถุดิบที่รักโลกและจะรักมากขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการใช้พลังงาน้อยลง มีการปลดปล่อยคาร์บอนน้อยลง รวมถึงใช้นวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาอยู่ในกระบวนการผลิต สามารถยืนยันกับผู้บริโภคได้ว่า สิ่งที่ซื้อไปบริโภคมีการดูและตั้งแต่ต้นน้ำ โดยห่วงใยผู้ประกอบการ
นอกจากนี้ GC ได้ลงทุนไปในหลายเรื่องเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีอาทิ การดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน (CCS) ส่วนกระบวนการผลิตที่โรงงานจะมีการนำเทคโนโลยีที่ได้มีการจัดเก็บมาพัฒนา แล้วหาทางเอาไปทำเคมิคัลตัวอื่น ถือเป็นเรื่องยากและท้าทายสำหรับอุตสหกรรมต้นน้ำ ดังนั้น การจะแข่งขันระดับโลกต้องดูทั้ง Value Chain เมื่อสร้า Value Chain ที่รักโลกได้ก็สามารถส่งผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดโลกได้ แข่งขันในนานาชาติได้ระยะยาว
"ยอมรับว่าผลิตภัณฑ์รักโลกจะมีต้นทุนที่สูงกว่าปกติ 2-3 เท่า ดังนั้น จะต้องมีสิ่งที่จูงใจที่ผู้บริโภคอยากจ่าย ความต้องการลูกค้ายุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป GC อยากสนุนผู้ประกอบการในไทย ถือเป็นเป้าหมายหลักและตลาดสำคัญของเรา กลุ่มอุตสาหกรรมพยายามปรับตัว แสดงให้เห็นว่าต้องเดินหน้าร่วมกัน สุดท้ายคนที่ได้คือประเทศไทย"
นายปภัส กิจกำจาย รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ผลิตสินค้าแบรนด์ชั้นนำออกสู่ตลาดโลก จึงต้องพัฒนาองค์กรให้มีมาตรฐานในการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ อาทิ มาตรฐานแรงงาน ปริมาณการปล่อยคาร์บอนออกสู่สิ่งแวดล้อมขนาดไหน เป็นต้น เพราะหากไม่พัฒนาปรับปรุงก็จะไม่ได้รับการยอมรับ
ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าทิศทางการส่งออกปีที่ผ่านมาที่ 20% ของยอดขายทั้งหมด โดยปีหน้าจะเพิ่มเป็น 30% กลยุทธ์จะพยายามรักษาฐานลูกค้าเก่า และหาลูกค้าใหม่ที่มากขึ้นในประเทศต่าง ๆ ต้องยอมรับว่าช่วงปี-2 ปีนี้ ตลาดหายไปเยอะ การจะกลับมาต้องหาตลาดใหม่ ซึ่งอุปสรรคคือคู่แข่งเวียดนาม จีน ที่ต้นทุนแรงงานถูกกว่า และจีนมีเทคโนโลยีที่ดีกว่า จึงเป็นการท้าทายที่จะพัฒนาตัวเอง
สำหรับปัจจัยและอุปสรรคส่วนใหญ่ คือการหาดิลเลอร์ที่มีศักยภาพในการกระจายสินค้า แจึงต้องมีพาสเนอร์ที่มีทั้งเงินและความสามารถ ส่วนแผนความยั่งยืนนั้น ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปขนาด 1.3 เมกกะวัตต์ ซึ่งต้องยอมรับว่ายังไม่ครอบคลุมค่าไฟฟ้าทั้งหมด เพราะค่าใช้จ่ายในเรื่องของแบตเตอรี่ในการกักเก็บพลังงานยังสูง หากมีราคาถูกลง ค่าใช้จ่ายก็จะถูกลงด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการการใช้พลังงานสะอาด 100% จะสามารถเกิดได้ในอนาคต ปีจจุบันบริษัทฯ ใช้น้ำมันเตาเดือนละ 3 หมื่นลิตร เมื่อค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ขึ้นก็เปลี่ยนมาใช้ LPG ส่วนวัตถุดิบที่มาทำทำรองเท้าโดยเฉลี่ยเดือนละกว่า 650 ตัน จึงมีการนำวิธีการรีไซเคิลมาร่วม 30% โดยเลือกในส่วนที่ไม่กระทบคุณภภาพ มากสุด ส่วนที่เหลือจากการผลิตนอกเหนือจากนำไปขายแล้วก็สามารถนำมาแปรรูปเป็นพื้นรองรถยนต์ และในอุตสาหกรรมประมง คิดเป้น 20-30% ถือเป็นการนำของเสียออกจากระบบ