'ปตท.' ชี้ 'เทคโนโลยี-ความคิด-เทรนด์โลก' เคลื่อนธุรกิจโตยั่งยืน
"กลุ่ม ปตท." ชู 3 ปัจจัยหลัก "เทคโนโลยี-ความคิดสร้างสรรค์-เทรนด์โลก" เคลื่อนธุรกิจรูปแบบใหม่เติบโตยั่งยืน
นายชาญ กุลภัทรนิรันดร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แผนและพัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมนา Post Today Thailand Economic Drive 2024 ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจ 2567 ในหัวข้อ New Business กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จัดโดย Post Today และ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ว่า กลุ่มปตท. มองเรื่องของการดำเนิดธุรกิจในรูปแบบใหม่ให้ประสบความสำเร็จใน 3 ปัจจัยสำคัญ คือ
1. การขับเคลื่อนธุรกิจโดยให้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยผลิตภัณฑ์ และบริการ เพื่อสามารถส่งมอบสินค้ามีคุณภาพให้กับลูกค้า
2. ความคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะ Business Model เพื่อทำให้องค์ประกอบโมเดลธุรกิจมีความสมบูรณ์ และ
3. ตอบโจทย์เทรนด์โลก ปัจจุบันทั่วโลกต่างให้ความสำคัญด้านความยั่งยืน ดังนั้น ปตท. จะใช้เทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและทำให้โลกใบนี้อยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในเรื่องของสังคมและชุมชน
"การปรับตัวโลกใบใหม่ ช่องทางค่อนข้างเยอะ อุตสาหกรรมถูกดิสรัปชันโดยเฉพาะพลังงาน เราจึงต้องใช้เทคโนโลยีช่วยบริหารจัดการเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอน"
อย่างไรก็ตาม ปตท. มองแผนธุรกิจใน 3 กลุ่มคือ
1. การเติบโตของธุรกิจ โดยใช้เทคโนโลยี AI โรโบติกส์ และดิจิทัล เข้ามาสนับสนุนให้มีประสิทธิภาพ
2. จากธุรกิจเดิมที่เป็นน้ำมันและก๊าซธรราติ จะต้องมีการผสมผสานและก่อให้เกิดธุรกิจในรูปแบบใหม่ และ
3. แรงกระตุ้นใหม่ที่จะต้องสร้างการเติบโตและกลับมาเป็นเป้าหมาย พร้อมกับดูแลโลก
"ธุรกิจพลังงานทั้งหมดจะต้องเปลี่ยนผ่านของเก่าไปสู่ของใหม่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องระยะสั้น เราต้องมองไปที่รุ่นหลานอีก 20-30 ปี ซึ่งจะเห็นการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือไปหลังมือ ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ ศึกษาและติดตามเทรนด์ทั้งโลกและสถานการณ์ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง"
ทั้งนี้ เมกะเทรนด์ที่เกิดขึ้นถือว่ามีความเร็วและแรง สิ่งที่เห็นชัด คือ
1. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะแหล่งพลังงานใหม่ ๆ
2. พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ในหลายอุตสาหกรรม เริ่มมีดิจทัลมาสร้างความสะดวกสบาย รวมถึงการซื้อสินค้า เป็นต้น
3. สภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งเทคโนโลยีที่เข้ามาเสริมประสิทธิภาพ การมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามา รวมถึงนโยบายภาครัฐ เช่น การออกกฎหมายใหม่
อย่างไรก็ตาม กลุ่มปตท.ได้เตรียมตัวกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจมาโดยตลอด พร้อมเปลี่ยนวิสัยทัศน์เมื่อ 4 ปีก่อน คือ Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังแห่งอนาคต เพราะซีอีโอมองเห็นชัดเจนว่า การดำเนินอุตสหากรรมพลังงานแบบเดิมก็ทำไป แต่ต้องส่งเสริมคุณภาพชีวิตกับอุตสาหกรรมในรูปแบบใหม่ที่จะมาในอนาคต
"ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เราพยายามทำหลายอย่างที่เข้ารูปเข้าร่าง บางอย่างสำเร็จบ้าง บางอย่างยังไม่สำเร็จ จึงต้องค่อย ๆ ปรับ"
ทั้งนี้ กลุ่มปทต. ได้ลงทุนในพลังงานแห่งอนาคต ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน และพลังงานทดแทน โดยมีเป้าหมาย เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ได้ 1.2 หมื่นเมกะวัตต์ภายในปี 2030 ธุรกิจรถไฟฟ้า (EV) และซัพพายเชนของรถ EV ที่ดำเนินการผ่านบริษัท อรุณ พลัส จำกัด รวมทั้งธุรกิจการกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) รวมทั้งธุรกิจผลิตไฟฟ้า และพลังงานจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่อยู่ระหว่างการศึกษาธุรกิจร่วมกับพันธมิตรในต่างประเทศ
นอกจากนี้ การจะไปถึงเป้าหมาย Net Zero นั้น จะต้องมีเทคโนโลยีอื่น ๆ อาทิ การทดลองโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Capture and Storage (CCS), และโครงการปลูกป่าเพื่อชดเชยคาร์บอน เป็นต้น อีกทั้ง ยังมีธุรกิจวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Life Science) ผ่านบริษัทลูก บริษัท อินโนบิก (เอเชีย) จำกัด โดยลงทุนในธุรกิจยา ธุรกิจอาหารและโภชนการ (Nutrition) และธุรกิจเครื่องมือการแพทย์ โดยในธุรกิจยามีการลงทุนในบริษัทโลตัส ผู้ผลิตยาชั้นนำจากไต้หวัน เป็นต้น
"กลุ่มปตท. ได้เปิดตัว บริษัท เมฆา วี จำกัด เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจ AI และ Robotic ในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มปตท. และอุตสาหกรรมของประเทศ รวมถึงลงทุนด้านอินฟราสตัคเจอร์ให้กับประเทศในเรื่องของท่าเรือ ระบบราง ซึ่ง กลุ่มปตท.ให้ความสำคัญใน 3 ท. คือ เทคโนโลยี ทุน และการ talen บุคลากร เพื่อทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้